Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71065
Title: การพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพเพื่อป้องกันอาชญากรรมในเขตพื้นที่เมืองซึ่งมีความหนาแน่นสูง : กรณีศึกษาพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจนครบาลบางรัก
Other Titles: The development of physical environment for the crime preventions in high density area : a case study of Bangrak Police Station Area
Authors: อรรถวุฒิ อ่อนทรัพย์
Advisors: จารุวรรณ ลิมปเสนีย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Charuwan.L@Chula.ac.th
Subjects: สถานีตำรวจนครบาลบางรัก
สถานีตำรวจ
การป้องกันอาชญากรรม
สิ่งแวดล้อม
นิเวศวิทยา
บางรัก (กรุงเทพฯ)
Police stations
Crime prevention
Environment
Ecology
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพี่อ ศึกษาสภาพทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคมและรูปแบบและลักษณะการใช้ที่ดิน ตลอดจนอาคารที่เป็นสื่อของการเกิดอาชญากรรมในพื้นที่ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ศึกษาสาเหตุและปัจจัยที่จะก่อให้เกิดอาชญากรรมที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพของพื้นที่ และเพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพและมาตรการป้องกันการเกิดอาชญากรรม วิธีการศึกษาได้คัดเลือกพื้นที่ที่เป็นตัวแทนการศึกษา 5 บริเวณ เป็นพื้นที่พักอาศัย หนาแน่น 2 บริเวณ ได้แก่ ชุมชนหลังวัดหัวลำโพง และชุมชนตรอกเพชรพลอย บริเวณพื้นที่พาณิชยกรรมหนาแน่น 3 บริเวณ ได้แก่ ถนนพัฒน์พงษ์ ถนนสีลมและถนนสุรวงค์ สกิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉสี่ยและไคว์สแควร์. จากการศึกษาพบว่า ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจนครบาลบางรัก เป็นเขตเมืองชั้นในของกรุงเทพมหานคร เป็นย่านที่พักอาศัยและพาณชยกรรมหนาแน่นสูง และมีจำนวนประชากรกลางวันและกลางคืนสูง เนื่องจากเป็นที่ตั้งของธุรกิจการค้าบริการและสถานบันเทิง จึงทำให้มีการเข้ามาใช้บริการของประชากรตั้งกลางวันและกลางคืนมาก จากสถิติอาชญากรรม พบว่าระหว่างปีพ.ศ. 2536-2539 มีคดีประเภทรัฐเป็นผู้เสียหายเกิดขึ้นมากที่สุด โดยปี พ.ศ. 2539 มีจำนวน 722 คดี หรือร้อยละ 65.15 ของยอดรวมการเกิดคดี ผลการศึกษาด้านสาเหตุและปัจจัยพี่ก่อให้เกิดอาชญา กรรมที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพของพื้นที่ตัวแทนศึกษา พบวา กลุ่มบริเวณพื้นที่พักอาศัยหนาแน่น มีลักษณะถนนกับการจัดกลุ่มอาคารกระจัดกระจาย เนื่องจากเป็นแหล่งชุมชนแออัดดั้งเดิม ขนาดพื้นที่ทางเดินในชุมชนคับแคบ บางพื้นที่มีจำนวนอาคารในกลุ่มมากก่อใหเกิดความรู้สึกความเป็นเจ้าของพื้นที่ร่วมกันน้อย และเป็นพื้นที่ที่ง่ายต่อการเช้าถึง เนื่องจากมีทางเข้าและออกหลายทาง ทำให้เกิดโอกาสการเกิดอาชญากรรมสูง ส่วนกลุ่มบริเวณพาณิชยกรรมหนาแน่น พบว่า มีการจัดกลุ่มอาคารอย่างมีระเบียบ บางบริเวณมีมุมอับของอาคารทำให้เกิดอาชญากรรมตามซอกอาคาร จำนวนอาคารในกลุ่มมีจำนวน มาก มีการใช้ที่ดินในแนวดิ่งทำให้ไม่มีพื้นพี่ว่างและไม่มีความรู้สึกเป็นเจ้าของพื้นที่ และเป็นพื้นที่ง่ายต่อการเข้าถึง เนื่องจากมีทางเข้าและออกหลายทาง ทำให้เกิดโอกาสการเกิดอาชญากรรมสูง ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เพื่อป้องกันอาชญากรรม สำหรับยานที่พักอาศัยหนาแน่นควรใช้รั้วโปร่งแทนรั้วทึบและติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะตามมุมอับและซอกอาคาร เปิดพื้นที่โล่งว่างให้มีดวงตาเฝ้ามอง สำหรับพื้นที่พาณิชยกรรมหนาแน่นที่มีซอกอาคารมุมอับ ให้ปิดการใช้สอย ให้มีไฟส่องสว่าง ซึ่งจะท่าให้ลดโอกาสการก่ออาชญากรรม.
Other Abstract: It was the intention of this research to investigate the physical environment , economic , social , landuses and buildings that cause increase the crimes in Bangrak Police Station Area . To study the types of the crimes for the past 5 years. To examine the factors of the crimes which related the physical environment in the study area , Moreover to propose physical environment development'guildelines for the crimes preventions. This research is found that a case study of Bangrak Police Station Area is the inner urban area of Bangkok. Most landuses are high residential and commercial density because it is the centre business district. This area is crowded of people both day and night. According to the crimes data 1 between 1993 and 1996 is found that state crimes occured more than others. In the year 1996 1 there are 722 crimes or 65.15 percent of the total crimes. As on empirical study area for the cause and factors of the two types of physical found that : The high residental grouping of buildings , the narrow footpaths in the community , blind spaces are the cause of the occurrence of crimes. The high commercial area which had the high number and grouping of row buildings , blind spaces , lack of publice lights are the causes of the occurrence of the crimes. The propose for decreasing of the crimes of this study : In the high residental area must consider the through home fences , public lights on the blind spaces , open space exist on eye looking. In the high commercial area which were covered of blind spaces must be closed the usage with public light.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71065
ISBN: 9743322078
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Atthawoot_on_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ1.2 MBAdobe PDFView/Open
Atthawoot_on_ch1_p.pdfบทที่ 11.03 MBAdobe PDFView/Open
Atthawoot_on_ch2_p.pdfบทที่ 21.88 MBAdobe PDFView/Open
Atthawoot_on_ch3_p.pdfบทที่ 33.38 MBAdobe PDFView/Open
Atthawoot_on_ch4_p.pdfบทที่ 41.82 MBAdobe PDFView/Open
Atthawoot_on_ch5_p.pdfบทที่ 52.74 MBAdobe PDFView/Open
Atthawoot_on_ch6_p.pdfบทที่ 61.14 MBAdobe PDFView/Open
Atthawoot_on_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก2.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.