Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7147
Title: รูปแบบของแหล่งที่อยู่อาศัยของผู้ใช้แรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดปทุมธานี
Other Titles: Settlement patterns of industrail labours in Pathum Thani Province
Authors: หทัยรัตน์ ไชยบูรณ์
Advisors: ดารณี ถวิลพิพัฒน์กุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Daranee.T@Chula.ac.th
Subjects: เมือง -- การเจริญเติบโต
การเคลื่อนย้ายแรงงาน
ที่อยู่อาศัย -- ไทย -- ปทุมธานี
แรงงาน -- ไทย -- ปทุมธานี
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษารูปแบบของแหล่งที่อยู่อาศัยของผู้ใช้แรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดปทุมธานี โดยพิจารณาการกระจายตัวของแหล่งที่อยู่อาศัย รูปแบบของที่อยู่อาศัย ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้ใช้แรงงาน และความสัมพันธ์ระหว่างแหล่งที่อยู่อาศัยกับแหล่งงาน โดยสำรวจพื้นที่อำเภอต่างๆ แล้วนำมาคัดเลือกพื้นที่ที่มีการกระจุกตัวของโรงงานอุตสาหกรรม และพื้นที่ที่ผู้ใช้แรงงานพักอาศัยอยู่รวมกัน เพื่อสุ่มตัวอย่างประชากร การเก็บรวบรวมข้อมูลจะใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้แรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นแรงงานอพยพมาจากชนบท ทำให้ต้องหาที่อยู่อาศัยเอง โดยปัจจัยที่สำคัญในการเลือกที่อยู่อาศัยคือ ที่อยู่อาศัยที่อยู่ใกล้กับที่ทำงาน ที่อยู่อาศัยที่มีคนรู้จักชักชวนหรือแนะนำให้ และการมีเส้นทางคมนาคมที่สะดวก เป็นผลให้ที่อยู่อาศัยของผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่กระจายตัวอยู่บริเวณใกล้ๆ กับแหล่งงาน หรือบริเวณที่มีการคมนาคมขนส่งสะดวก สามารถเดินทางไปทำงานได้ง่าย รูปแบบของที่อยู่อาศัยมีทั้งประเภทบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ หอพัก อพาร์เมนต์ และแฟลต โดยแรงงานนอกพื้นที่ส่วนใหญ่จะเช่าหอพัก อพาร์ทเมนต์ และแฟลต ราคาค่าเช่า 1,000-2,500 บาท และแรงงานในพื้นที่หรือแรงงานที่อยู่เป็นครอบครัวส่วนใหญ่อาศัยบ้านเดี่ยวและทาน์เฮ้าส์ ราคาค่าเช่า 1,300-4,000 บาท ความสัมพันธ์ระหว่างแหล่งที่อยู่อาศัยกับแหล่งงานจะสัมพันธ์กันทั้งลักษณะทางกายภาพ ได้แก่ ที่ตั้ง ประเภท และสภาพแวดล้อม ลักษณะทางเศรษฐกิจ ได้แก่ รายรับ รายจ่าย และลักษณะทางสังคม ได้แก่ ครอบครัว วิถีชีวิตประจำวัน ที่อยู่อาศัยของผู้ใช้แรงงานจะอยู่ห่างจากที่ทำงานในรัศมีไม่เกิน 4 กิโลเมตร หากโรงงานมีสวัสดิการรถรับ-ส่งคนงานจะทำให้รัศมีการอยู่อาศัยไกลออกไปถึง 10 กิโลเมตร การจับจ่ายใช้สอยจะซื้อจากร้านค้าบริเวณที่พักอาศัย หรือตลาดนักใกล้ๆ กับที่อยู่อาศัย วันหยุดจากการทำงานจะอยู่ภายในที่พักอาศัยเพื่อพักผ่อน ทำความสะอาดบ้าน และทำงานบ้าน ช่วงวันหยุดติดต่อกัน เช่น วันปีใหม่ วันสงกรานต์ จะกลับภูมิลำเนาของตนเองเพื่อไปเยี่ยมครอบครัว ปัญหาที่พบคือ ความแออัดของที่อยู่อาศัย มลภาวะทางเสียง และสภาพแวดล้อม ดังนั้น จึงเสนอแนวทางการจัดหาที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับแรงงานอพยพ โดยที่อยู่อาศัยแห่งใหม่ควรจะใกล้โรงงานอุตสาหกรรม พร้อมกับระบบโครงข่ายคมนาคมที่สามารถเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่ครบครัน ศูนย์บริการและศูนย์การค้าทันสมัย รวมทั้งสวนสาธารณะและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และเสนอแนะให้มีการจัดตั้งกองทุนสำรองหรือสหกรณ์แรงงานในการช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานที่เดือดร้อนทางการเงิน เพื่อให้เกิดการออมทรัพย์ รวมทั้งการให้กู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยต่ำ
Other Abstract: To study the settlement patterns of industrial labours in Pathum Thani Province by considering the distribution of residential areas, housing types, the relation between residential area and working place as well as the socio-economic characteristics of the industrial labours. Samples are drawn from districts in which factories and workers' housing are agglomerated. Data are collected through structured interview, using questionnaires on factory workers, and are analyzed through SPSS program. Research results show that most of the industrial labours are rural migrants, thus creating demand for housing in the area. The important factors mentioned by the workers in choosing the residential area are the proximity to the work place; acquaintance with people in the area; and convenience in making a trip. As a result, settlements of the industrial labours are located near work places. Housing in these areas is in the forms of single house, townhouse, dormitory, apartment, and flat. The migrated labours mostly rent a unit in dormitory, apartment, and flat paying 1,000 to 2,500 Baht rental, while the local workers choose single house and townhouse with the rental of 1,300 to 4,000 Baht. Residential areas and work place are related physically through location, housing type, and environment; economically through income and expense; and socially through way of life. Workers live within 4 kilometers from the work place, and within 10 kilometers if transportation is provided by the factory. Shopping is made from the groceries or the markets nearby their houses. On their days off, workers stay home to rest or do household chores. On long holidays, they return to their hometown to visit family. The cited problems concerning workers' housing are congestion, noise pollution, and degraded environment. It is recommended that in order to accommodate migrant workers in this area, housing should be supplied near the factories with efficient transportation network as well as public utilities and services. In addition, Workers' reserved fund should be set up to promote saving among workers and to give fiinancial aid to needy industrial labours.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7147
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.355
ISBN: 9745327271
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.355
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Hathairat_Ch.pdf3.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.