Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71516
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ | - |
dc.contributor.author | วาทิต พุ่มอยู่ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-12-14T07:54:41Z | - |
dc.date.available | 2020-12-14T07:54:41Z | - |
dc.date.issued | 2548 | - |
dc.identifier.isbn | 9741743718 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71516 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความหมายของคำเรียกข้าวในภาษาเวียดนาม มาเลย์ พม่า ม้ง และไทย ซึ่งถือเป็นตัวแทนภาษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 5 ตระกูล รวมถึงเปรียบเทียบความหมายของคำเรียกข้าวและระบบมโนทัศน์เรื่องข้าวในภาษาเหล่านั้น ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากพจนานุกรมของแต่ละภาษา และจากผู้บอกภาษา ภาษาละ 3 คน รวมทั้งหมด 15 คน โดยเลือกผู้บอกภาษาที่พูดภาษานั้นเป็นภาษาแม่ อายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ประกอบอาชีพทำนาข้าว หรือเคยประกอบอาชีพนี้ ในการเก็บข้อมูล ผู้วิจัยให้ผู้บอกภาษาดูรูปถ่ายและข้าวของจริง แล้วให้ผู้บอกภาษาบอกคำศัพท์ที่ใช้เรียกข้าว พร้อมความหมายของคำเหล่านั้น การวิเคราะห์ข้อมูลกระทำโดยนำคำเรียกข้าวพร้อมความหมายที่ได้ มาเปรียบเทียบเพื่อหาลักษณะที่แยกความแตกต่างระหว่างคำเรียกข้าวเหล่านั้น โดยใช้วิธีวิเคราะห์องค์ประกอบทางความหมาย เพื่อระบุมิติแห่งความแตกต่างและกำหนดอรรถลักษณ์ที่ใช้แจกแจงความหมายของคำเรียกข้าว เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลแล้วพบว่า คำเรียกข้าวในภาษาทั้ง 5 สามารถแบ่งประเภทตามลำดับความสัมพันธ์ทางความหมายออกเป็น คำเรียกข้าวบอกหมวด และคำเรียกข้าวเฉพาะเจาะจง ซึ่งโดยรวมแล้วมีจำนวนไม่เท่ากัน ข้อสรุปนี้สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ อย่างไรก็ตาม เมื่อแยกประเภทคำเรียกข้าวพบว่า ภาษาส่วนใหญ่คือภาษามาเลย์ ภาษาพม่า และภาษาม้ง มีคำเรียกข้าวบอกหมวดจำนวน 3 คำเท่ากัน ได้แก่ คำเรียกข้าวที่หมายถึงพืช (/pa:di:/, /zəba:⇃/, /m͜bleY) คำเรียกข้าวที่หมายถึงอาหาร (/na:si:/ , /themi⇃/, /me↿/) และคำเรียกข้าวที่ไม่ใช่พืช ไม่ใช่อาหาร แต่หมายถึงผลผลิตของพืชหรือวัตถุดิบของอาหาร (/beras/, /sha˧/, /ntsa˥/) ส่วนภาษาเวียดนามมีคำเรียกข้าวบอกหมวด 5 คำ ได้แก่ คำเรียกข้าวที่หมายถึงพืช (/luə↿/) คำเรียกข้าวที่หมายถึงอาหาร (/kɤ:m˦/) คำเรียกข้าวที่ไม่ใช่พืชไม่ใช่อาหาร (/ɠau?˩/) คำเรียกข้าวที่หมายถึงข้าวต้มสุก (/ca:u↿/) และคำเรียกข้าวที่หมายถึงข้าวเหนียวนึ่งสุก (/so:i1/) ในขณะที่ภาษาไทยมีคำเรียกข้าวบอกหมวดเพียง 1 คำได้แก่ คำว่า “ข้าว” ซึ่งหมายถึง ข้าวในทุกลักษณะ เมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางความหมายของคำเรียกข้าวของทั้งห้าภาษาแล้ว พบว่าภาษาทั้งห้ามีการแยกความแตกต่างทางความหมายของคำเรียกข้าวโดยมิติแห่ง ความแตกต่างที่สำคัญซึ่งเป็นลักษณะร่วมของภาษาทั้ง 5 ภาษา คือมิติเรื่องความเป็นพืช และมิติเรื่องความเป็นอาหารอันสอดคล้องกับสมมติฐานที่กล่าวว่ามีมิติแห่ง ความแตกต่างในเรื่องการขยายพันธุ์ และในเรื่องการปรุงสุก ทางด้านระบบมโนทัศน์เรื่องข้าวในภาษาทั้งห้า พบว่ามีเพียงผู้พูดภาษาไทยเท่านั้นที่มองเห็นข้าวที่มีรูปร่างลักษณะแตกต่าง กันเป็นสิ่งเดียวกันโดยสะท้อนจากการที่มีคำเรียกข้าวบอกหมวดเพียงคำเดียว และคำเรียกข้าวบอกหมวดเพียงคำเดียวในภาษาไทยยังสามารถใช้เป็นคำในระดับรูป ชีวิตของคำเรียกข้าวทั้งหมดได้ด้วย ส่วนภาษาอื่นๆพบว่าผู้พูดภาษาเหล่านั้นมองข้าวที่มีรูปร่างลักษณะแตกต่างกัน เป็นสิ่งของคนละสิ่งกันโดยสะท้อนจากการที่มีคำเรียกข้าวบอกหมวดมากกว่าหนึ่ง คำ และเมื่อต้องการกล่าวถึงรูปชีวิตของคำเรียกข้าวทั้งหมดจะต้องนำคำอื่นที่ไม่ ใช่คำเรียกข้าวมาใช้ | en_US |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research are, firstly, to analyse semantic features of the terms denoting 'rice' found in Vietnamese, Malay, Burmese, Hmong and Thai, which represent five Southeast Asian language families; and secondly, to compare the meanings of the 'rice' terms and conceptual systems pertaining to 'rice' among the five languages. The researcher collected data from dictionaries of each language and from native speakers of the five languages. In each language, words were elicited from three informants. All informants aged 30 and over are or were rice farmers. To collect data, the researcher showed photos of rice and real rice, elicited words and the meanings from the informants with the help of interpreters. To analyse the data, the collected words' meanings were compared to find distinctive features by means of componential analysis in order to identify dimensions of contrast and to determine semantic features used to distinguish the meanings of the 'rice' terms. It is found that the 'rice' terms of the five languages can be divided, according to semantic relation, into two groups: generic and specific 'rice' terms. On the whole, they are not equal in number, which confirms the hypothesis. However, regarding the generic terms, most of the languages, namely Malay, Burmese and Hmong, have three generic 'rice' terms. One refers to the plant (/pa:di:/, /zəba:⇃/, /m͜bleY) Another denotes food (/na:si:/ , /themi⇃/, /me↿/). The other signifies neither plant nor food. It means the product of the plant or the raw material of food (/beras/, /sha˧/, /ntsa˥/). In Vietnamese, five generic 'rice' terms are found: (/luə↿/) denoting the plant, (/kɤ:m˦/) denoting food, (/ɠau?˩/) denoting neither the plant nor food, (/ca:u↿/) denoting boiled rice, and (/so:i1/) denoting steamed glutinous rice. In Thai, on the other hand, only one word is found, that is /khayaw/ signifying rice of every aspect. A componential analysis of the rice terms in the five languages shows that the terms are distinguished by two significant dimensions of contrast: being plant and being food, which are common among the five languages. This finding supports the hypothesis that the terms are distinguished by growing ability and cooking. Conceptual systems of the speaker of the five languages were inferred from the linguistic evidence shown in this study. It is found that only Thai native speakers consider rice of different features the same token, as represented by a single generic rice term. The generic rice term in Thai can be used as life form of itself. Whereas the native speakers of the other languages conceptualise rice of different forms as different entities, as represented by numerous terms. In the other languages, the other terms are used to specify the life form of 'rice'. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.712 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ภาษาพม่า -- อรรถศาสตร์ | en_US |
dc.subject | ภาษามลายู -- อรรถศาสตร์ | en_US |
dc.subject | ภาษาเวียดนาม -- อรรถศาสตร์ | en_US |
dc.subject | ภาษาไทย -- อรรถศาสตร์ | en_US |
dc.subject | ภาษาม้ง -- อรรถศาสตร์ | en_US |
dc.subject | อรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ | en_US |
dc.subject | ข้าว | en_US |
dc.subject | ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ | en_US |
dc.subject | Hmong language -- Semantics | en_US |
dc.subject | Vietnamese language -- Semantics | en_US |
dc.subject | Malay language -- Semantics | en_US |
dc.subject | Thai language -- Semantics | en_US |
dc.subject | Burmese language -- Semantics | en_US |
dc.subject | Ethnosemantics | en_US |
dc.subject | Comparative linguistics | en_US |
dc.subject | Rice | en_US |
dc.title | การศึกษาคำเรียกข้าวและระบบมโนทัศน์เรื่องข้าวในภาษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ | en_US |
dc.title.alternative | An ethnosemantic study of rice terms and the conceptual system of rice in Southeast Asian languages | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | ภาษาศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Amara.Pr@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2005.712 | - |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Watit_pu_front_p.pdf | 998.64 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Watit_pu_ch1_p.pdf | 880.95 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Watit_pu_ch2_p.pdf | 1.52 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Watit_pu_ch3_p.pdf | 921.6 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Watit_pu_ch4_p.pdf | 1.6 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Watit_pu_ch5_p.pdf | 1.85 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Watit_pu_ch6_p.pdf | 1.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Watit_pu_ch7_p.pdf | 1.44 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Watit_pu_ch8_p.pdf | 1.3 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Watit_pu_ch9_p.pdf | 1.67 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Watit_pu_ch10_p.pdf | 1.58 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Watit_pu_ch11_p.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Watit_pu_back_p.pdf | 710.1 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.