Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71622
Title: ปัญหาและอุปสรรคของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูต ระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีเหนือ (ค.ศ.1990-1994)
Other Titles: Problems of and obstacles to the establishment of diplomatic relations between Japan and North Korea (1990-1994)
Authors: สุรนุช บุญใบชัยพฤกษ์
Advisors: ชัยวัฒน์ ค้ำชู
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ญี่ปุ่น -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- เกาหลี (เหนือ), สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน
การทูต
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีเหนือ ในยุคหลังสงครามเย็น ช่วงปี ค.ศ. 1990-1994 โดยผู้เขียนอาศัย ทฤษฎีระบบเป็นกรอบในการศึกษาวิเคราะห์ครั้งนี้ จากการศึกษาพบว่า สหรัฐอเมริกา อาศัยความเป็นประเทศมหาอำนาจ ที่โดดเด่นแต่เพียงผู้เดียวในโลกยุคหลังสงครามเย็น และความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดอย่างมากกับญี่ปุ่น เข้าไปมีบทบาทและอิทธิพลต่อกระบวนการเจรจาสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีเหนือ ด้วยการกดดันให้ญี่ปุ่น นำเอาประเด็นปัญหานิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ขึ้นมาเป็นประเด็นสำคัญในการเจรจาดังกล่าว พร้อมกดดันให้ญี่ปุ่นวางเงื่อนไขให้เกาหลีเหนือลงนามกับองค์การพลังงานปรมาณูสากล หรือไอเออีเอ และยอมให้เจ้าหน้าที่ของไอเออีเอ เข้าตรวจสอบโรงงานนิวเคลียร์ที่ต้องสงสัย ก่อนที่ญี่ปุ่นจะยอมสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับเกาหลีเหนือ ด้วยแรงกดดันจากสหรัฐอเมริกา ทำให้ญี่ปุ่นจำต้องยอมกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวเข้าเป็นเงื่อนไขหลักในการเจรจา และทำให้ญี่ปุ่นต้องแสดงจุดยืนว่าจะไม่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับเกาหลีเหนือ หากเกาหลีเหนือไม่ยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว แต่เกาหลีเหนือปฏิเสธที่จะทำตามเงื่อนไขนั้น จึงทำให้การเจรจาสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีเหนือต้องหยุดชะงัก และชะลอออกไปจนกว่าปัญหาการพัฒนานิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือจะยุติลง
ในขณะเดียวกัน เกาหลีใต้ก็อาศัยความสัมพันธ์ใกล้ชิด และการเป็นประเทศที่มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และยุทธศาสตร์ความมั่นคงต่อญี่ปุ่น เข้าไปมีบทบาทและอิทธิพลต่อการเจรจาสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีเหนือเช่นกัน ทั้งนี้โดยร่วมมือกับสหรัฐอเมริกากดดันให้ญี่ปุ่นชักจูงและผลักดันให้เกาหลีเหนือยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว รวมทั้งยุติโครงการพัฒนานิวเคลียร์ ก่อนที่ญี่ปุ่นจะยอมสถาปนาความสัมพันธ์ด้วย นอกจากนี้เกาหลีใต้ยังแสดงจุดยืนอย่างแข็งกร้าว ไม่ต้องการให้ญี่ปุ่นปรับความสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือเกินหน้าไปกว่าการเจรจาปรับความสัมพันธ์ระหว่างสองเกาหลี ซึ่งท่าทีของเกาหลีใต้นี้ ทำให้ญี่ปุ่นต้องชะลอการสถาปนาความสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือออกไป เพื่อรอดูความก้าวหน้าของการเจรจาปรับความสัมพันธ์ระหว่างสองเกาหลี ที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะมีความคืบหน้า จนกว่าปัญหา นิวเคลียร์จะยุติลง อย่างไรก็ดีปัญหาการเมืองภายในญี่ปุ่น ที่มีการเปลี่ยนรัฐบาลหลายครั้ง และความไม่เห็นพ้องต้องกันในกระบวนการเจรจาสถาปนาความสัมพันธ์ ภายในแต่ละรัฐบาลญี่ปุ่น รวมทั้งความไม่ลงรอยกันระหว่างฝ่ายญี่ปุ่นกับเกาหลีเหนือ โดยเฉพาะในประเด็นค่าปฏิกรรมสงคราม นับเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศทั้งสองในยุคหลังสงครามเย็นเช่นกัน แต่เป็นปัจจัยที่มีบทบาทน้อยกว่าบทบาทและอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้
Other Abstract: This research is aimed at studying problems of and obstacles to the establishment of diplomatic relations between Japan and North Korea in the post-cold war era (1990-1994). In this study! the author employed the system theory as an analytical framework. The study found that the United States used its dominant role, as the only overwhelming leadership in the post-cold war world, and their close relationship with Japan to influence the negotiations process regarding the establishment of diplomatic relations between Japan and North Korea. The US pressured Japan to raise the North Korea’s nuclear development issue as the main topic of the negotiations. And, the US pushed Japan to make condition to North Korea to sign agreement with International Atomic Energy Agency or IAEA and to accept the IAEA’s officers to inspect the suspected nuclear plant. Under the strong pressure from the US, Japan insisted that it would not engage in normalization talks unless North Korea fulfilled the said conditions. North Korea, however, did not accept the condition^. Therefore, negotiations have been pending and postponed until the nuclear issue would be resolved. At the same time, South Korea also exploited its strategic and economic importance to Japan by influencing Japanese and North Korea negotiations over the establishment of these two countries’s diplomatic relations. In cooperation with the US, South Korea also pushed North Ko tea to accept the conditions raised by Japan. It also demanded that North Korea stop the nuclear development project. Besides, South Korea displayed its strong stance that it did not want Japan to improve relations with North Korea while its dialogue with North Korea did not make any headway due to the nuclear issue. With the South Korea’s stance, Japan had to postpone negotiations to wait and see the progress of dialogues between the two Koreas. In addition, Japan’s internal political problems which led to changes in the Japanese government many times affected its negotiations with North Korea. Moreover, disagreements between the Japanese and North Korean themselves especially over the war compensation issue were also standing in the way of establishing diplomatic relations between these two East Asian states in the post-cold war era. These factors, however, had less influence than the roles and influence of the United States and South Korea in constraining the normalization of relations between Japan and North Korea
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71622
ISBN: 9749359259
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suranuch_bo_front_p.pdf953.21 kBAdobe PDFView/Open
Suranuch_bo_ch1_p.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Suranuch_bo_ch2_p.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open
Suranuch_bo_ch3_p.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open
Suranuch_bo_ch4_p.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open
Suranuch_bo_ch5_p.pdf872.24 kBAdobe PDFView/Open
Suranuch_bo_back_p.pdf962.49 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.