Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71625
Title: ความเข้มข้นของปรอทในเนื้อปลาช่อนทะเล (Rachycentron canadus) บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
Other Titles: Mercury concentration in tissues of cobia (Rachycentron canadus) from the Gulf of Thailand and Andaman Sea
Authors: รุจิรา พงศ์พลูทอง
Advisors: เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: piamsak@sc.chula.ac.th
Subjects: ปลา -- ปริมาณปรอท
ปลาช่อนทะเล
อ่าวไทย
ทะเลอันดามัน
Fishes -- Mercury content
Cobia
Thailand, Gulf of
Andaman Sea
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความเข้มข้นปรอทในเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อบริเวณโคนครีบหลังปลาช่อนทะเล ที่พบในบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน โดยเก็บตัวอย่างปลาช่อนทะเลจากแท่นเจาะก๊าซธรรมชาติกลางอ่าวไทย (แท่นเอราวัณ แท่นฟูนาน แท่นปลาทอง และแท่นสตูล), ปลาช่อนทะเลที่มาขึ้น ณ ท่าเทียบเรือประมงในเขตสุขาภิบาลบางเสร่ จังหวัดชลบุรี, ปลาช่อนทะเลที่มาขึ้น ณ ท่าเทียบเรือประมงในเขตอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช, และปลาช่อนทะเลที่มาขึ้น ณ ท่าเทียบเรือประมงจังหวัดระนอง ในเดือนมกราคม ถึงเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 และทำการวิเคราะห์หาปริมาณปรอทด้วยวิธี Cold Vapor Atomic Absorption พบความเข้มข้นปรอทเฉลี่ย 0.393, 0.095, 0.080 และ 0.078 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (น้ำหนักเปียก) ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยของความเข้มข้นปรอทในเนื้อปลาช่อนทะเลที่เก็บตัวอย่างจากแท่นเจาะก๊าซธรรมชาติกลางอ่าวไทยมีค่าสูงสุด แตกต่างจากบริเวณอื่นอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเส้นระหว่างความเข้มข้นปรอทกับขนาดลำตัวปลาช่อนทะเล พบความสัมพันธ์ดังกล่าวในปลาที่เก็บตัวอย่างจากบริเวณชายฝั่งทะเลบางเสร่ ชายฝั่งทะเลอำเภอขนอม และชายฝั่งทะเลจังหวัดระนอง แต่ไม่พบในปลาช่อนทะเลที่เก็บตัวอย่างจากบริเวณแท่นเจาะก๊าซธรรมชาติกลางอ่าวไทย
Other Abstract: The mercury concentrations in dorsal muscle tissues samples of cobia (Rachycentron canadus) caught from the Gulf of Thailand and Andaman Sea were studied during January to November 1998. Samples were collected from four areas, i.e. UNOCAL nataural gas platforms in the middle of the gulf (Erawan .Platong, Satul and Funan) ; Bangsare coastal area (Chonburi), Kanom district of Nakornsritammarach and the coastal area of Ranong province. Mercury analysis was conducted using cold vapor atomic absorption technique. The mean total mercury of the mentioned areas ware 0.393, 0.080, 0.095 and 0.078 mg./kg. (wet weight) respectively. The samples from UNOCAL platforms had highest mercury concentrations and were significantly different (α = 0.05) from other areas. The positive linear regression between total mercury and the size of cobia were found in fish collected from Bangsare, Kanom, and Ranong but the samples of fish caught from UNOCAL platforms did not show such a regression.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71625
ISBN: 9743316752
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rujira_po_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ890.45 kBAdobe PDFView/Open
Rujira_po_ch1_p.pdfบทที่ 1748.39 kBAdobe PDFView/Open
Rujira_po_ch2_p.pdfบทที่ 21.7 MBAdobe PDFView/Open
Rujira_po_ch3_p.pdfบทที่ 3784.01 kBAdobe PDFView/Open
Rujira_po_ch4_p.pdfบทที่ 41.26 MBAdobe PDFView/Open
Rujira_po_ch5_p.pdfบทที่ 5790.63 kBAdobe PDFView/Open
Rujira_po_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก2.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.