Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71713
Title: ผลของการฝึกการออกกำลังกายในน้ำที่มีต่อความอดทน ของระบบไหลเวียนโลหิตความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และเปอร์เซ็นต์ไขมันของร่างกาย
Other Titles: Effects of aquatic exercises conditioning on cardiovascular endurance, muscle strength and percent of body fat
Authors: รุ่งทิพย์ สุยะเสียน
Advisors: เฉลิม ชัยวัชราภรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณทิตวิทยาลัย
Subjects: แอโรบิก (กายบริหาร)
การออกกำลังกาย
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกการออกกำลังกายในน้ำ ที่มีต่อความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิต ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และเปอร์เซ็นต์ไขมันของร่างกาย กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นหญิง อายุ 31-50 ปี ซึ่งมิได้ออกกำลังกายเป็นประจำ อาสาสมัครเข้าร่วมการทดลองครั้งนี้ จำนวน 50 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยใช้วิธีการจับคู่ (Matched Group) กลุ่มละ 15 คน กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มทดลอง กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มควบคุมใช้เวลาในการฝึก 10 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน ๆ ละ 50 นาที ทำการวัดสมรรทภาพทางกาย โดยการวัดความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก สมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ แขน ขาและหลัง และเปอร์เซ็นต์ไขมันของร่างกายก่อนการฝึก หลังการฝึก 5 สัปดาห์ และหลังการฝึก 10 สัปดาห์ แล้วนำผลที่ได้มา วิเคราะห์ตามวิธีทางสถิติ โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่าง ค่าเฉลี่ย ด้วยค่า "ที" วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวชนิดซ้ำและทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธี ตูกี (เอ) ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า การออกกาลังกายในน้ำ ทำให้ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวขณะพัก อัตราการเต้นของหัวใจ ขณะพัก สมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน ขา และหลัง และเปอร์เซ็นต์ไขมันของร่างกายของกลุ่มทดลองก่อนการฝึก หลังการฝึก 5 สัปดาห์ และหลังการฝึก 10 สัปดาห์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกัน
Other Abstract: The purpose of this research was to study and to compare the effects of aquatic exercise conditioning on cardiovascular endurance, muscle strength and percent of body fat. Subjects were 30 volunteered women aged between 31-50 years old. They were divided equally into two groups by matched group; the first group was experimental group and the second group was control group. The experimental group was trained for 10 weeks with 3 days a week and 50 minutes a day. Resting systolic blood pressure, resting heart rate, maximum oxygen uptake, muscle strength and percent of body fat were measured in both two groups pre-training, 5th week and 10th week after training. The results were then statistically analyzed -in terms of means and standard deviations. The t-test, One-way repeated measures of analysis of variance and TUKEY (a) method were also employed to determine the significant difference and. multiple comparisons at the .05 level respectively. It was found that: There were significantly different at the .05 level in the experimental group in the resting systolic blood pressure, the resting heart rate, the maximum oxygen uptake, arm, back and leg muscle strength and percent of body fat pre-training, 5th week and 10th week after training. There was no any sihnificantly difference in control groups.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71713
ISBN: 9746324039
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rungthip_su_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ999.32 kBAdobe PDFView/Open
Rungthip_su_ch1_p.pdfบทที่ 1929.35 kBAdobe PDFView/Open
Rungthip_su_ch2_p.pdfบทที่ 21.26 MBAdobe PDFView/Open
Rungthip_su_ch3_p.pdfบทที่ 3785.12 kBAdobe PDFView/Open
Rungthip_su_ch4_p.pdfบทที่ 41.54 MBAdobe PDFView/Open
Rungthip_su_ch5_p.pdfบทที่ 51.19 MBAdobe PDFView/Open
Rungthip_su_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก3.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.