Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71911
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจจากความคาดหวังในงาน กับความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Relationships between ezpectancy work motivation and job satisfaction of professional nurses, private hosppitals, Bangkok metropolis
Authors: หรรษา สุขกาล
Advisors: จินตนา ยูนิพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: พยาบาล -- ความพอใจในการทำงาน
การจูงใจ (จิตวิทยา)
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจจากความคาดหวังในงาน กับความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ และเปรียบเทียบความพึงพอใจในงาน ของพยาบาลวิชาชีพที่มี อายุ ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล ตำแหน่งการทำงาน และรายได้ต่างกัน ในโรงพยาบาล เอกชน 15 แห่ง ตัวอย่างประชากรคือพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 320 คน เลือกโดยได้ใช้วิธีตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบนสอบถามซึ่งประกอบด้วยแบบสอบถามแรงจงใจจากความ คาดหวังในงาน และแบบสอบถามความพึงพอใจในงาน ซึ่งผ่านการทดสอบความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยงภายใน ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนแรงจูงใจจากความคาดหวังในงานของพยาบาลวิชาชีพอยู่ในระดับสูง 2. ค่าเฉลี่ยของคะแนนความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพโดยรวมอยู่ในระดับสูง 3. ค่าเฉลี่ยของคะแนนความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพที่มีอายุ และระยะเวลาปฏิบัติงานในโรงพยาบาลต่างกัน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ที่ระดับ .05 4. ความพึงพอใจในงานของพยาบาลระดับบริหาร สูงกว่าพยาบาลประจำการ และความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพที่มีรายได้มากกว่า 20,000 บาทขึ้นไป สูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ ที่มีรายได้ต่ำกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. แรงจูงใจจากความคาดหวังในงานกับความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ มีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this research were to study the relationships between expectancy work motivation and job satisfaction of professional nurses and to compare job satisfaction of nurses having different background from 15 private hospitals, -Bangkok Metropolitan area. Three hundred and twenty subjects were selected by using the multistage sampling technique. Two instruments developed for this study were expectancy work motivation and job satisfaction questionnaires which had been tested for content validity and internal reliability. The followings were major findings of the study. 1. The mean score of expectancy work motivation of professional nurses was at the high level. 2. The mean score of job satisfaction of professional nurses in all aspects were at the high level. 3. There were no significant difference between the mean scores of job satisfaction of professional nurses who were in different age groups and different years of working experience. 4. The mean score of job satisfaction of nurse administrators was significantly higher than that of staff nurses, at the .05 level. Whereas the mean score of job satisfaction of professional nurses who earned more than 20,000 Bahts was significantly higher than that of other groups who has lower salary scale, at the .05 level. 5. The expectancy work motivation was significantly and positively related to job satisfaction, at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2538
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71911
ISBN: 9746322249
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Hansa_so_front_p.pdf916.3 kBAdobe PDFView/Open
Hansa_so_ch1_p.pdf978.11 kBAdobe PDFView/Open
Hansa_so_ch2_p.pdf1.97 MBAdobe PDFView/Open
Hansa_so_ch3_p.pdf926.2 kBAdobe PDFView/Open
Hansa_so_ch4_p.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Hansa_so_ch5_p.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Hansa_so_back_p.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.