Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72018
Title: รองเง็ง : ระบำพื้นเมืองในภาคใต้
Other Titles: Ronggeng : a native dance in Sountern of Thailand
Authors: สาวิตร พงศ์วัชร์
Advisors: สุรพล วิรุฬห์รักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Surapone.V@Chula.ac.th
Subjects: รองเง็ง
การละเล่น -- ไทย (ภาคใต้)
ไทย (ภาคใต้) -- ความเป็นอยู่และประเพณี
ชาวเล -- ความเป็นอยู่และประเพณี
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาและรูปแบบของการรำรองเง็ง ในพิธีลอยเรือของชุมชนชาวเล ที่แหลมตุ๊กแกบนเกาะสิเหร่, จังหวัดภูเก็ต ในปี พ.ศ. 2536 -2538 วิธีการวิจัย ใช้การสังเกตการณ์ในพิธีกรรมลอยเรือจริงจากการสัมภาษณ์แม่ครูรองเง็ง และจากการสังเกตการณ์สาธิตการแสดงของชาวเล การวิจัยพบว่า รองเง็งเน้นการฟ้อนรำพื้นบ้านของภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งพัฒนามาจากนาฏศิลป์ของชาวสเปนและโปรตุเกส ส่วนชาวเลที่ทำการวิจัยเน้นกลุ่มอูรักลาโว้ย ที่อพยพมาจากมาเลเซีย และ มีการรำรองเง็งในพิธีลอยเรือ เพื่อบูชาบรรพบุรุษและชุมนุมเครือญาติทุกวันขึ้น 13 คำ เดือน 6 และเดือน 11 ทุกปี พิธีดังกล่าวมีขั้นตอนตั้งแต่ การบูชาบรรพบุรุษ การเตรียมอุปกรณ์ลอยเรือ การต่อเรือ และการลอยเรือ ในแต่ละขั้นตอนจะมีการรำรองเง็งโดยชาวเลผู้หญิงเป็นส่วนประกอบสำคัญนอกจากนั้นยังมีการรำรองเง็งของชายหนุ่ม หญิงสาว เพื่อการสังสรรค์และเลือกคู่ ดำเนินขนานกันไปกับพิธีกรรมลอยเรือ สำหรับการรำรองเง็งพบลักษพะสำคัญคือ ท่ารำคงได้แรงบันดาลใจจากการเคลื่อนไหวของสัตว์ทะเลและได้รูปแบบจากการรำรองเง็งที่นิยมในภาคใต้ เมื่อวิเคราะห์การรำรองเง็งจากเพลงหลัก 5 เพลง คือ ลากูดูวอ สะปาอีตู้ เมาะอินัง เจ๊ะชูโล่ง อายัมดีเดะ พบว่าการรำรองเง็งชาวเล มีจุดเด่นคือ การก้าวหน้า, การก้าวข้าง, และก้าวไขว้, การตั้งวงสูงและต่ำ การตั้งมือ ม้วนมือ และ ซ้อนมือ, ขยับสะโพกและเอียงศีรษะตามมือที่กำลังวาดวง การรำรองเง็งแบบแผนดังกล่าว กาลังเปลี่ยนแปลงจากการรำเพื่อพิธีกรรม ไปสู่การรำเพื่อการท่องเที่ยว มีการเปลี่ยนท่ารำ การแต่งกาย และเพลงทำให้คาดคะเนได้ว่า การรำรองเง็งแบบของชาวเลกลุ่มนี้ อาจเสื่อมสูญในไม่ช้า
Other Abstract: This thesis aims at studying the history, the roles and the style of Ronggeng in the Boat Ceremony of the Chao Le (Sea people) at Tukkae peer, Sire Island, Puket Province, 1993-1995. Research Methodology was based upon observation of the actual Ronggeng dances in the Boat Ceremony, from interviewing the only Ronggeng female teacher , and from observation of various demonstrations of the sea people. The research found that Ronggeng is a folk dance in the southern part of Southern Thailand, which was developed from.; the Spanish and the Portugese dances. The Chao Le in this research is the Uraklavoi group migrated from Malaysia. They usually dance Ronggeng in their Boat Ceremony to pa^ homage to their ancestors and to call for their relatives meeting on the 13 day of the 6th and 11th months of the Luner calendar. The Boat Ceremony comprised several processions paying homage to ancestors, materials preparation, boat construction and boat floating, There is a Ronggeng dance by female in every procession as an integral part of the ceremony. Concurrently, Ronggeng was danced by young males and females for marry making and for choosing marriage partners. Pertaining to Ronggeng dance itself, important charactevistics were found, This Chao Le Ronggeng dance was probably inspired by the movements of various sea animals, Its dance style, gleaned from the five major dances-Lagu Dua, Spaitu, Moh Inans, Je Sulong and Ayam Dede. Showed that, the dance was predominanted with front, side and cross steps; high and low arm positions; open hand with its. fingers point upward, hand ratation and hand twisting; hip twisting; and learning the head towards the moving hand. This traditional Ronggeng dance is changing from the dance from ceremony to tourism. Its traditional dance gestures, costume and music are rapirdly disappearing. The traditional Ronggeng dance of this Chao Le may soon be lost.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นาฏยศิลป์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72018
ISBN: 9746318977
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sawit_po_front_p.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Sawit_po_ch1_p.pdf871.72 kBAdobe PDFView/Open
Sawit_po_ch2_p.pdf3.47 MBAdobe PDFView/Open
Sawit_po_ch3_p.pdf3.18 MBAdobe PDFView/Open
Sawit_po_ch4_p.pdf8.38 MBAdobe PDFView/Open
Sawit_po_ch5_p.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open
Sawit_po_ch6_p.pdf742.24 kBAdobe PDFView/Open
Sawit_po_back_p.pdf4.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.