Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72033
Title: ฤทธิ์ของแอนโดรกราโฟไลด์ต่อการทดแทนเซลล์เก่าของตับที่ถูกทำลาย ด้วยพิษต่อตับจากอะเซตามิโนเฟนในหนูขาว
Other Titles: Effects of andrographolide on liver cells regeneration from acetaminophen hepatotoxicity in rats
Authors: อุชุจิตรา เกียรติวีระสกุล
Advisors: พรเพ็ญ เปรมโยธิน
สมลักษณ์ พวงชมภู
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Pornpen.P@Chula.ac.th
Somlak.P@Chula.ac.th
Subjects: ฟ้าทะลายโจร
ตับ
Andrographolide
Acetaminophen
Liver -- Regeneration
Liver
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อะเซตามิโนเฟนถูกเลือกมาใช้เป็นสารพิษ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตายของเซลล์ในตับหนูขาว โดยเลือกทดสอบในขนาด 900, 1200 และ 1500 mg.kg-1 ให้ครั้งเดียวทางปาก ใช้ระดับของเอนไซม์ transaminases (SGOT และ SGPT) และความลดปกติที่เกิดกับเนื้อเยื่อเป็นตัววัด พิษต่อตับจากอะ เซตามิโนเฟนขึ้นกับขนาดและระยะเวลาที่ให้ขนาดเหมาะสมที่เลือกใช้ และทำให้เกิดการตายของเซลล์ตับเกินกว่า 50% ลือ 1200 mg.kg-1 ซึ่งทาให้ระดับของ SGOT และ SGPT เพิ่มขึ้นที่ เวลา 12 ชั่วโมง และลดลงสู่ระดับปกติที่48 และ 60 ชั่วโมง ตามลำดับ ที่เวลา 12 ชั่วโมงหลังให้อะเซตามิโนเฟน (1200 mg.kg-1 ทางปาก) พบว่า เซลล์ปกติลดลง เซลล์ตายเพิ่มขึ้น และมีระดับของการทำลายเซลล์ตับที่ +2 รอบๆ central vein แอนโดรกราโฟไลด์ในขนาด 100 mg.kg-1 เมื่อใช้ทางปาก 48 ชั่วโมงก่อน แล้วจึงให้อะเซตามิโนเฟน (1200 mg.kg-1 ทางปาก) ทุกเวลา 12 ชั่วโมงหลังใช้อะเซตามิโนเฟน ยังคงพบการเพิ่มขึ้นของ SGOT และ SGPT พร้อมกับการกลับสู่ระดับปกติของ SGOT และ SGPT เร็วขึ้น เป็นที่ 24 ชั่วโมง ระดับการทำลายของเซลล์ตับที่ 48 ชั่วโมงหลังให้อะเซตามิโนเฟนลดลง เหลือ +1 (พบเซลล์ที่เจริญขึ้นแทนที่เซลล์เก่าที่ตายไป เป็นจำนวนมาก) เมื่อเปรียบ เทียบกับ +2 จากการใช้อะเซตามิโนเฟนเพียงอย่างเดียว สิ่งที่น่าสังเกตคือ แอนโดรกราโฟไลด์เพียงอย่างเดียวในขนาดที่ใช้ลดระดับของ SGOT และ SGPT อย่างเห็นได้ชัดที่ 48 ชั่วโมงหลังให้อะเซตามิโนเฟน หรีอ 96 ชั่วโมงหลังใช้แอนโดรกราโฟไลด์ เมื่อลดขนาดของแอนโดรกราโฟไลค์ลงเป็น 50 mg.kg-1 ทางปาก 48 ชั่วโมงก่อนแล้วจึงใช้อะเซตามิโนเฟน (1200 mg.kg-1 ทางปาก) ระดับของ SGOT และ SGPT กลับสู่ระดับปกติเร็วขึ้นเป็น 12 ชั่วโมง และ 24 ชั่วโมง ตามลำดับ ไม่พบการลดลงของระดับเอนไซม์จากการให้แอนโดรกราโฟไลด์อย่างเดียว ระดับการทำลายของเซลล์ตับ ที่ 48 ชั่วโมงหลังการให้อะเซตามิโนเฟน ลดลง เหลือ +1/2 เมื่อเปรียบเทียบกับ +2 จากอะเซตามิโนเฟน และ 0(-) จากแอนโดรกราโฟไลด์ โดยมีเซลล์ปกติที่ถูกทาลายน้อยลง และเซลล์ตายลดลง มีเซลล์ที่กำลังแบ่งตัว เพิ่มขึ้น ซึ่งต่างจากหนูที่ได้รับแอนโดรกราโฟไลด์หรืออะเซตามิโนเฟนเพียงอย่างเดียวอย่างชัดเจน ดังนั้นผลการทดแทน เซลล์เก่าที่ถูกทำลายด้วยพิษจากอะเซตามิโนเฟนโดยแอนโดรกราโฟไลด์ จึงอาจจะมิใช่กลไกเพียงอย่างเดียวของฤทธิ์ป้องกันพิษต่อตับของมัน (ระดับของการทำลายเซลล์: 0(-) = ปกติ, +1 = น้อย, +2 = ปานกลาง, +3 = รุนแรง, +1/2 = อยู่ระหว่างปกติกับน้อย)
Other Abstract: Acetaminophen was selected as the hepatotoxin to induce hepatic degeneration and hepatic necrosis in rats using the trial single oral dose of 900, 1200 and 1500 mg.kg-1 Serum transaminases (SGOT and SGPT) and histopathological examination were used as the criteria. The hepatotoxicity induced by acetaminophen was dose and time related. The suitably and selected dose causing more than 50% of cellular necrosis was 1200 mg.kg which elevated SGOT and SGPT at 12 hours and returned to normal levels at 48 and 60 hours, respectively. At 12 hours after acetaminophen administration, the histopathological examination showed the reduction of normal cells, the increase in necrotic cells and centrilobular necrosis at the level of +2. Andrographolide was given at 100 mg.kg-1, orally, 48 hours prior to acetaminophen (1200 mg.kg-1, p.o.). At 12 hours after acetaminophen administration, there was still the elevation of SGOT and SGPT, with more rapid return to normal levels at 24 hours. The level of cellular necrosis at 48 hours after acetaminophen was reduced to +1 (with many restoration cells) compared to +2 from acetaminophen alone. It should be noted that andrographolide alone clearly reduced the levels of SGOT and SGPT at 48 hours after acetaminophen or 96 hours after andrographolide. When reducing the dose of andrographolide to 50 mg.kg-1, given orally, 48 hours prior to acetaminophen (1200 mg.kg-1, p.o.), the levels of SGOT and SGPT returned quickly to normal at 12 and 24 hours, respectively. There was no reduction of enzyme levels when giving andrographolide alone. Heptic cell damage at 48 hours after acetaminophen administration was reduced to +1/2 compared to +2 from acetaminophen and 0(-) from andrographolide with the decrease in destruction of normal cells and the reduction of necrotic cells. There was an increase in mitotic cells which markedly different from rats receiving acetaminophen or andrographolide alone. Thus the effects on liver cell regeneration from acetaminophen hepatotoxicity by andrographolide may not be a single mechanism for its hepatoprotective activity. (level of cellular necrosis : 0(-) = normal, +1 = mild, +2 = moderate, +3 = severe, +1/2 = between normal and mild)
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชวิทยา (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72033
ISBN: 9746314769
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Uchujitra_ki_front_p.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Uchujitra_ki_ch1_p.pdf3.24 MBAdobe PDFView/Open
Uchujitra_ki_ch2_p.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Uchujitra_ki_ch3_p.pdf3.09 MBAdobe PDFView/Open
Uchujitra_ki_ch4_p.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open
Uchujitra_ki_back_p.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.