Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72052
Title: กระบวนการถ่ายทอดการประโคมด้วยเครื่องประโคมประกอบพระราชอิสริยยศพระมหากษัตริย์ในสมัยรัตนโกสินทร์
Other Titles: Process of transmitting skills in performing a regal cermonial fanfare with a set of royal musical instruments in honor of the King in the Rattanakosin period
Authors: สิริรักษ์ ชูสวัสดิ์
Advisors: กรรณิการ์ สัจกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ทรัพยากรทางวัฒนธรรม
เครื่องประกอบพระราชอิสริยยศ
เครื่องดนตรีก่อนประวัติศาสตร์
Cultural property
Musical instruments, Prehistoric
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย โดยใช้ระเบียบวิธีทางประวัติศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของการประโคมประกอบพระราชอิสริยยศพระมหากษัตริย์ ความเป็นมาของเครื่องประโคมความเชื่อ และบทบาทหน้าที่ของเครื่องประโคม และกระบวนการถ่ายทอดการประโคมประกอบ พระราชอิสริยยศพระมหากษัตริย์ในสมัยรัตนโกสินทร์ ผลการวิจัยพบว่า การประโคมด้วยเครื่องประโคมประกอบพระราชอิสริยยศพระมหากษัตริย์ เป็นวัฒนธรรมของไทยในการยกย่องเทิดทูนผู้นำของชาติ ที่สั่งสมสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ดังปรากฏเป็นหลักฐานจากโบราณสถาน โบราณวัตถุ และวรรณคดีต่างๆ นับจากสมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน โดยมีปัจจัยทางศาสนาและการปกครองเป็นตัวกำหนดบทบาทและความสำคัญของเครื่องประโคมประกอบพระราชอิสริยยศดังจะเห็นได้ชัดเจนจากการปกครองในสมัยอยุธยาที่กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเทวราชาตามลัทธิพราหมณ์โดยทรงไว้ซึ่งอำนาจ บารมีและความศักดิ์สิทธิ์เพื่อที่จะปกครองเทวโลกได้ ดังนั้นสัญลักษณ์แห่งความเป็นพระมหากษัตริย์จึงถูกกำหนดขึ้น และเครื่องประโคมประกอบพระราชอิสริยยศพระมหากษัตริย์ ก็เป็นส่วนหนึ่งแห่งสัญลักษณ์ที่เพิ่มความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ โดยประกอบด้วย เครื่องประโคม 9 ชนิด คือ มโหระทึก ฆ้องชัย เปิงมาง กลองชนะ สังข์ แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ชวา และ ปี่ไฉน ซึ่งเครื่องประโคมเหล่านี้ต่างก็เป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงซึ่งฟังแล้วเกิดความขลัง ความเร้าใจ บทบาทหน้าที่ของการประโคมก็เพื่อแสดงความเคารพ สักการะ สรรเสริญพระบารมี การแสดงความจงรักภักดี และความผูกพันอันลึกซึ้งระหว่างพระมหากษัตริย์กับราษฎร นอกจากนี้ยังเป็นสัญญาณบอกให้ทราบว่าพระมหากษัตริย์ประทับอยู่ ณ ที่ใด ขณะเดียวกันก็ยังมีบทบาทสำคัญในการพระราชพิธีต่าง ๆ โดยเป็นสัญญาณบอกให้ทราบว่าพระมหากษัตริย์ทรงประกอบพระราชพิธีอันเป็นขั้นตอนสำคัญอยู่ในขณะนั้น จากการศึกษากระบวนการถ่ายทอดการประโคมด้วยเครื่องประโคมประกอบพระราชอิสริยยศพระมหากษัตริย์ พบว่า ปัจจุบันนี้งานเครื่องสูงและกลองชนะเป็นหน่วยงานสังกัดสำนักพระราชวัง ที่ทำหน้าที่เสมือนสถาบันทางการศึกษาในการถ่ายทอดการประโคม ซึ่งแบ่งเครื่องประโคมออกเป็น 3 หมวด คือ หมวดเครื่องตี หมวดเครื่องเป่าเสียงเดียว และหมวดเครื่องเป่าทำทำนอง ให้แก่กลุ่มผู้สืบทอด 5 กลุ่ม การถ่ายทอดจะใช้การถ่ายทอดแบบไทยโบราณ โดยงานเครื่องสูงและกลองชนะ จะรับถ่ายทอดการประโคมด้วยเครื่องประโคมทั้ง 3 หมวด ผู้เรียนส่วนใหญ่จะเริ่มเรียนในหมวดเครื่องตีก่อน โดยเรียนจากการปฏิบัติงานในหน้าที่ หลังจากนั้นจึงเริ่มฝึกหัดเครื่องประโคมเสียงเดียว ส่วนการถ่ายทอดหมวดเครื่องเป่าทำทำนองนั้น การถ่ายทอดแตรฝรั่งจะต่อเพลง สำหรับบท ออกขุนนาง และส่งเสด็จ ส่วนการถ่ายทอดปี่ชวาจะต่อเพลงพญาเดินทะแยกลองโยน กระบี่ลีลา และเพลงอัตรา 2 ชั้นอื่นๆ และการถายทอดปี่ไฉนจะต่อเพลงพญาโศกลอยลม ส่วนกลุ่มผู้สืบทอดวิทยาลัยในวังชาย ทหารบก และโรงเรียนเตรียมทหารจะสืบทอดการประโคมกลองชนะ เนื้อหาการเรียนการสอนของวิทยาลัยในวังชายกับทหารบก จะสืบทอดการตีแบบสามไม้หนี สี่ไม้ไล่ และการตีแบบ ติ๋งเปิง ส่วนโรงเรียนเตรียมทหารจะสืบทอดการตีกลองชนะแบบติ๋งเปิงเท่านั้น การเรียนการสอนของทุกกลุ่มจะใช้วิธีการบรรยาย สาธิต และให้ฝึกปฏิบัติซ้ำๆ จนกว่าจะปฏิบัติได้ถูกต้อง กลุ่มดุริยางค์ทหารเรือ จะรับสืบทอดการประโคมด้วยแตรฝรั่งในเพลงสำหรับบท เพียงเพลงเดียว ส่วนการสืบทอดแตรงอน และสังข์นั้นจะปฏิบัติและเรียนรู้ด้วยตนเอง
Other Abstract: This research is a descriptive study, using historical approach. It aims to study the history of a regal ceremonial fanfare in honor of the King and the history of fanfare musical instruments, the beliefs associated with them and their function as well as the process of transmitting skills in performing a regal ceremonial fanfare in the Rattanakosin period. The study has revealed that a regal ceremonial fanfare was part of Thai culture. It was meant to sing the praises of the King. This practice had been crystallized over a long period of the time as verified by evidence found at ancient historical sites, ancient artifacts and literature spanning a pre-recorded history period and the present time with religious and administrative factors determining the function and the importance of the regal ceremonial fanfare. This is evident of the government system during the Ayudhaya period when the King was held as a divine being according to Brahmanism. The King is endowed with power, aura and sacredness to rule heaven. It is in this context that regal symbols had been devised, hence a regal ceremonial fanfare which aimed to reinforce the royal legitimacy and sacredness. The nine fanfare instruments are a metal drum, Mahorathuk (kettle drum), Gong Chai, Perngmang, Klawng Chana, Sang, Trae Ngawn, Trae Farang, Pi-chawa, and Pi-chanai. These instruments differ from others in that their sound is emotionally appealing, galvanizing, and conductive to the ceremonial setting. The function of the regal ceremonial fanfare is to express reverence and to sing the praises of the King as well as to express allegiance and the deep bonds between the King and his subjects. In addition, it signals as to exactly where the King is physically present. It also has another significant role in royal ceremonies by serving as a signal that the King is in the process of performing the most important part of a royal ceremony. Our study on the process of transmitting skills in performing a royal ceremonial fanfare with a set of royal musical instruments in honor of the King, has revealed that the Royal Regalia and Klawng Chana Section, Bureau of the Royal Household, serves as a school which transmits skills in performing a ceremonial fanfare to 5 groups of students. Musical instruments used in this fanfare are grouped into 3 categories: (1) percussion instruments, (2) wind instruments producing a single sound, and (3) wind instruments producing a melody. The teaching and learning process is a traditional one. Usually, the students will first be introduced to percussion instruments by playing their assigned instruments in the band. The skills in playing Trae Farang is taught by way of playing musical pieces called Sam-rub-bot, Ook Kun Nang, and Song Sabet. The skills in performing Pi-chawa are taught by way of playing musical pieces called Plaeng Pa-Ya-Daern, Ta-Yare-Klawng-Ya-on, Krabi-lee-La as well as other moderately fast pieces. Students will be initiated to Pi-Chanai by playing a musical piece called Pa-ya-Soke-Loy-Lom. The students at the Royal Academy of Suan Kularp, the Millitary Academy and the Cadet Academy are trained to play Klawng Chana. The first two learn to perform musical called Sam-Mai-Nee, See-Mai-Lai and a special beat called “Ting-Peung”. Each group of students learn their skills through lectures, demonstrations, and repetitive practices until they perform correctly. The Navy’s Duriyanga Band is assigned to perform only Plaeng Sam-Rub-bot with Trae Farang. As for the Trae Ngawn and Sang, students have to teach themselves how to perform them.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พื้นฐานการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72052
ISBN: 9746385488
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirirak_ch_front_p.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ677.04 kBAdobe PDFView/Open
Sirirak_ch_ch1_p.pdfบทที่ 11.13 MBAdobe PDFView/Open
Sirirak_ch_ch2_p.pdfบทที่ 23.85 MBAdobe PDFView/Open
Sirirak_ch_ch3_p.pdfบทที่ 33.51 MBAdobe PDFView/Open
Sirirak_ch_ch4_p.pdfบทที่ 45.57 MBAdobe PDFView/Open
Sirirak_ch_ch5_p.pdfบทที่ 5848.05 kBAdobe PDFView/Open
Sirirak_ch_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก2.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.