Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72090
Title: การบริการของโรงพยาบาลตามกรอบกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดบริการ ตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลรัฐและเอกชน กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Hospital services based on service marketing mix strategies as perceived by clients, governmental and private hospitals, Bangkok metropolis
Authors: สมบูณ ขัตติยะสุวงศ์
Advisors: บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: อุตสาหกรรมบริการ -- การตลาด
โรงพยาบาล -- การบริหาร
การตลาด
โรงพยาบาล -- การรับรองคุณภาพ
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการบริการของโรงพยาบาลตามกรอบกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดบริการ ตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการ ระหว่างโรงพยาบาลรัฐบาล โรงพยาบาลเอกชนที่ดำเนินการในรูปบริษัท และโรงพยาบาลเอกชนที่เป็นขององค์กรศาสนาหรือมูลนิธิ 2) เปรียบเทียบการบริการของโรงพยาบาลตามกรอบกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดบริการ ตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการ ระหว่างโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (HA) กับโรงพยาบาลที่ยังไม่ได้รับการรับรองคุณภาพ (Non HA) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ใช้บริการจำนวน 368 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามการบริการตามกรอบกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดบริการ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและทดสอบความเที่ยงด้วยวิธีของคอนบาคมีค่าความเที่ยง .90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และสถิติทดสอบความแปรปรวนทางเดียวและสถิติทดสอบ เซฟเฟ ผลการวิจัยพบว่า 1.ค่าเฉลี่ยการบริการของโรงพยาบาลตามกรอบกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดบริการ ตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ช่องทางการให้บริการ และการส่งเสริม การตลาดอยู่ในระดับปานกลาง 2.ค่าเฉลี่ยการบริการของโรงพยาบาลตามกรอบกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดบริการ ตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการ จำแนกตามประเภทโรงพยาบาล ระหว่างโรงพยาลาลรัฐบาล โรงพยาบาลเอกชนที่ดำเนินการในรูปแบบบริษัท และโรงพยาบาลเอกชนที่เป็นขององค์กรศาสนาหรือมูลนิธิ พบว่ามีความแตกต่างกันในทุก ๆ ด้าน ยกเว้นด้านช่องทางการให้บริการ เมื่อเปรียบเทียบเป็นรายคู่ พบว่าค่าเฉลี่ยโรงพยาลาลรัฐกับเอกชนที่เป็นขององค์กรศาสนาหรือมูลนิธิมีค่าเฉลี่ยด้านผลิตภัณฑ์บริการ การส่งเสริมการตลาด บุคลากร และโดยรวมแตกต่างกัน โรงพยาบาลรัฐกับเอกชนที่ดำเนินการในรูปบริษัทมีค่าเฉลี่ยด้านผลิตภัณฑ์บริการ ราคา ลักษณะทางกายภาย กระบวนการ และโดยรวมแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 3.ค่าเฉลี่ยการบริการของโรงพยาบาลตามกรอบกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดบริการตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการ จำแนกตามประเภทของโรงพยาบาลระหว่างโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (HA) กับโรงพยาบาลที่ยังไม่ได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (Non HA) พบว่าโดยรวมไม่แตกต่างกัน ด้านราคา ช่องทางการการให้บริการ และการส่งเสริมการตลาดแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ด้านผลิตภัณฑ์บริการ บุคลากร ลักษณะทางกายภาพ และกระบวนให้บริการไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: The purposes of this study were to compare mean scores of hospital service based on service marketing mix strategies which three different types of hospital (governmental, profit and non profit hospital) and then by two different hospital accreditation (hospital accreditation and non hospital accreditation). The subjects were 368 inpatients drawn by stratified sampling technique. The instrument was self report questionnaire which tested for validity and reliability. The Cronbach alpha was .90. The statistics used for data analysis included mean, standard deviation, t- test, analysis of variance and Scheffe's method. The major findings were as follow : 1. The overall mean scores of hospital service based on service marketing mix strategies were at moderate level. When service marketing mix strategies were analyzed separately, there were found that price, place, promotion were also at moderate level whereas product, people, physical evidence, and process were at high level. 2. Analysis of variance indicated a significant difference among the governmental, profit and non profit hospital (P< .05). When Scheffe’s was analyzed there were significant difference in product, price, promotion, people, physical evidence, process and overall (P< .05). No significant difference in place. 3. The overall mean scores of hospital service based on service marketing mix strategies between hospital accreditation and non hospital accreditation were no significant (P = .559). When service marketing mix strategies were analyzed separately, there were significant difference in price, place, promotion, but no significant difference in product, people, physical evidence, and process.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72090
ISBN: 9741309791
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somboon_ka_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ846.96 kBAdobe PDFView/Open
Somboon_ka_ch1_p.pdfบทที่ 1949.28 kBAdobe PDFView/Open
Somboon_ka_ch2_p.pdfบทที่ 22.15 MBAdobe PDFView/Open
Somboon_ka_ch3_p.pdfบทที่ 3951.81 kBAdobe PDFView/Open
Somboon_ka_ch4_p.pdfบทที่ 4785.81 kBAdobe PDFView/Open
Somboon_ka_ch5_p.pdfบทที่ 51.08 MBAdobe PDFView/Open
Somboon_ka_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.