Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72100
Title: การบังคับคดีตราสารหนี้ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา
Other Titles: Execution against debt instrument
Authors: สุกรี เกษอมรวัฒนา
Advisors: มุรธา วัฒนะชีวะกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การบังคับคดีตามคำพิพากษา
ตราสารหนี้
การอายัดทรัพย์สิน
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การดำเนินคดีทางแพ่งเพื่อให้ได้ผลสมบูรณ์หรือให้ได้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของการฟ้อง คือการได้รับสิทธิตามคำพิพากษา ซึ่งได้แก่ การให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล กระบวนการบังคับคดีจะนำมาใช้เมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพิกเฉยต่อการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ซึ่งการบังคับที่ยังคงมีปัญหาในทางปฏิบัติและควรค่าแก่การศึกษาอันหนึ่ง ได้แก่ การบังคับคดีตราสารหนี้ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งมีลักษณะเป็นตราสารเปลี่ยนมือที่สามารถเคลื่อนย้าย จำหน่ายจ่ายโอน และเปลี่ยนมือกันอย่างรวดเร็ว ทำให้ตราสารหนี้พ้นจากการถูกบังคับคดี การวิจัยนี้ผู้เขียนพบว่าบทบัญญัติของกฎหมายและวิธีปฏิบัติตามระเบียบราชการ ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดีตราสารหนี้ยังขาดหลักเกณฑ์และแนวทางอันชัดเจน จึงก่อให้เกิดปัญหา เกี่ยวกับตราสารหนี้ว่าการบังคับคดียึดหรืออายัดชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ วิทยานิพนธ์นี้จึงวิเคราะห์สภาพแห่งปัญหาและเสนอแนวทางและหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนขึ้น เพื่อให้บรรลุผลตามคำพิพากษาตรงตามเจตนารมณ์ของบทบัญญติแห่งกฎหมายว่าด้วยการบังคับคดี และเป็นแนวทางปรับปรุงหลักกฎหมายในเรื่องการบังคับคดีเกี่ยวกับตราสารหนี้ลักษณะตราสารเปลี่ยนมือ ให้มีความเหมาะสมต่อไป
Other Abstract: Civil process for the purpose of fully effective or beneficial in taking civil action is to obtain judicial rights such as to order judgment debtor performs in accordance with court judgment. Execution procedures are required when judgment debtor does not comply with the court judgment or order. An execution which has yet rendered many problems and complexity and which is worth studying is the execution of court judgment to judgment debtor’s debt instruments. Because they are negotiable instrument, transferable and disposable freely and repidly, thus escaping from execution. As a result of analysis it was found that provisions of the laws and governmental practice requlations involving with execution of judgment to debt instruments are lacked of clear rules and guidelines of which created problems of whether attachment or garnishment of such debt instrument is lelgal. This thesis is aim to analyse the character of problems created and to recommend certain guidelines and procedures as guidelines for appropriate imporving laws concerning execution of negotiable debt instruments in order to render effectiveness of the court judgment.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72100
ISBN: 9746386336
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sugree_ke_front_p.pdf642.89 kBAdobe PDFView/Open
Sugree_ke_ch1_p.pdf393.7 kBAdobe PDFView/Open
Sugree_ke_ch2_p.pdf4.24 MBAdobe PDFView/Open
Sugree_ke_ch3_p.pdf10.1 MBAdobe PDFView/Open
Sugree_ke_ch4_p.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Sugree_ke_ch5_p.pdf861.4 kBAdobe PDFView/Open
Sugree_ke_back_p.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.