Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72154
Title: บทบาทของศูนย์นันทนาการในโครงการหมู่บ้านจัดสรรระดับรายได้ปานกลาง
Other Titles: Role of recreation centre on the middle income housing estate
Authors: วรลักษณ์ สงวนไชยไผ่วงศ์
Advisors: ศักดิ์ชัย คิรินทร์ภาณุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ศูนย์นันทนาการ
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงบทบาทของศูนย์นันทนาการในโครงการหมู่บ้านจดสรร ที่มีต่อพฤติกรรมทางการตลาดของผู้ประกอบการและผู้บริโภค รวมทั้งคุณภาพของศูนย์นันทนาการในปัจจุบัน และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาศูนย์นันทนาการของโครงการหมู่บ้านจัดสรรระดับราคาปานกลาง วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาเชิงสำรวจ ด้วยการเก็บแบบสอบถามจากผู้ประกอบการและผู้อาศัยในโครงการหมู่บ้านจัดสรรระดับราคาปานกลาง ทั้งที่มีศูนย์นันทนาการและไม่มีศูนย์นันทนาการในโครงการ รวมถึงผู้คิดจะซื้อบ้านในปัจจุบัน รวม 326 ตัวอย่าง โดยมีขอบเขตการศึกษาอยู่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการรับรู้ว่าศูนย์นันทนาการเป็นประโยชน์ต่อโครงการและผู้อยู่อาศัย ซึ่งผู้ประกอบการที่จัดทำศูนย์นันทนาการในโครงการเป็นเพราะต้องการให้คุณภาพชีวิตต่อลูกบ้านเป็นหลัก และใช้ศูนย์นันทนาการเป็นปัจจัยหนึ่งในการกระตุ้นการตลาด ส่วนผู้ประกอบการที่ไม่จัดทำ เนื่องจากเห็นว่าศูนย์นันทนาการเป็นกลยุทธ์การตลาดได้ด้อยกว่าปัจจัยพื้นฐานอื่นอาทิเช่น ทำเลที่ตั้ง ราคาบ้าน ส่วนผู้บริโภค รับรู้ถึงความสำคัญของศูนย์นันทนาการ และศูนย์นันทนาการก็สามารถกระตุ้นความสนใจได้ แต่ผู้อยู่อาศัยและผู้คิดจะซื้อบ้านในโครงการที่มีศูนย์นันทนาการ มีเหตุผลการตัดสินใจเลือกโครงการดังกล่าวจากพฤติกรรมที่ต้องการใช้บริการในศูนย์นันทนาการนั้น ส่วนผู้ที่อยู่ในโครงการที่ไม่มีศูนย์นันทนาการ ไม่ได้พิจารณาศูนย์นันทนาการตอนตัดสินใจซื้อเลย เพราะคาดว่าจะไม่ได้ใช้ประโยชน์จากการมีศูนย์นันทนาการอย่างเต็มที่ ด้านองค์ประกอบและคุณภาพของศูนย์นันทนาการพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ได้จัดเตรียมสิ่งต่างๆ สอดคล้องกับความต้องการของลูกบ้านแล้ว แต่ยังขาดประสิทธิภาพในการดึงดูดให้สมาชิกมาใช้บริการอย่างต่อเนื่องอยู่ ซึ่งเป็นผลมาจากรูปแบบชีวิตประจำวันและข้อจำกัดต่างๆ ของสมาชิกนั้นเอง การวิจัยนี้จึงเสนอแนวทางการพัฒนาโครงการหมู่บ้านระดับรายได้ปานกลาง สำหรับประเภทหมู่บ้านที่คิดจะมีศูนย์นันทนาการก็ควรจัดทำต่อไป โดยถือว่าศูนย์นันทนาการเป็น “ผลิตภัณฑ์” ของโครงการที่ควรมี เพื่อให้ประโยชน์ของศูนย์นันทนาการ มีต่อสภาพแวดล้อมโครงการและคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัย นอกจากนี้จะเป็นการให้ผลตอบแทนกลับคืนกับสังคมด้วย ส่วนขนาด องค์ประกอบ และรูปแบบของศูนย์นันทนาการควรพิจารณาให้เหมาะสมตามขนาดของโครงการสำหรับโครงการที่ไม่มีศูนย์นันทนาการ จะเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีกลุ่มทางการตลาดที่แตกต่างจากโครงการที่มีศูนย์นันทนาการ ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องหาปัจจัยอื่นเพื่อกระตุ้นความสนใจต่อผู้บริโภค เช่น ราคาบ้าน หรือ ที่ตั้งโครงการ เป็นต้น
Other Abstract: The objectives of this thesis are studying the role of the Recreation Centre in the housing project as being marketing behaviors to developers and consumers, analyzing the quality of present Recreation Centre as well as to propose improvement and development of the Recreation Centre for the medium housing project. The survey has been conducted extensively in the area of Bangkok Metropolitan. Over the 326 selective filled in questionnaires have been collected from the developers, residents and potential buyers. The questions are related to both existing Recreation Centres and non-existing Recreation Centres of various medium income housing projects. The study has showed that the developers have realized the Recreation Centres as the benefits and the better quality life of the residents and altematively served as a marketing strategy. Whereas those who do not provide the Recreation Centres deem the basic elements as key factors i.e. good location and better pricing etc. Although the consumers realize the importance of the Recreation Centres and are motivated by this, but the feedback from motivation is different. The residents and the potential buyers who decide to buy the house in the project having Recreation Centre have a reason from their behaviors to use it. The residents and the prospect buyers who decide to buy the house in the non-existing Recreation Centre housing project do not take the Recreation Centre into consideration ealier because they do not expect to get benefit extremely from the Recreation Centre. On the part of elements and quality of the Recreation Centres, most of developers provide the Recreation Centres to meet the residents’ requirement, but most still are lacked of efficiency to attract the residents to use it regularly because of the residents’ routine and their owns restriction. This research proposed the guideline development of the middle class housing projects in the future. The Recreation Centre ought to be provided in the existing Recreation Centre housing project that id regarded as the “product” of the project and the common place of the benefitcial activities to the public by effecting on the project environment and the quality life of the residents. The performance of such preparation as the sizes, the elements, and the types of activities should be suitably related on the size of each project. Without the Recreation Centre, the projects will be as the product in different market segment. The developers have to provide other factors for stimulation i.e. lower pricing or better location.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72154
ISBN: 9746379828
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Voraluk_sa_front_p.pdf981.83 kBAdobe PDFView/Open
Voraluk_sa_ch1_p.pdf609.37 kBAdobe PDFView/Open
Voraluk_sa_ch2_p.pdf2 MBAdobe PDFView/Open
Voraluk_sa_ch3_p.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Voraluk_sa_ch4_p.pdf8.78 MBAdobe PDFView/Open
Voraluk_sa_ch5_p.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Voraluk_sa_back_p.pdf2.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.