Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72177
Title: ผลของระดับน้ำต่อการปล่อยก๊าชมีเทนจากนาข้าวที่มีการปลูกข้าวโดยวิธีหว่านน้ำตมและปักดำ
Other Titles: Effect of water level on methane emission from wet seeded and transplanted rice fields
Authors: อนุรักษ์ วิไล
Advisors: อรวรรณ ศิริรัตน์พิริยะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Orawan.Si@chula.ac.th
Subjects: มีเทน
นาข้าว -- การปล่อยก๊าซมีเทน
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ก๊าซมีเทน เป็นก๊าซเรือนกระจกชนิดหนึ่งที่มีผลทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น การปลูกข้าวโดยการขังนํ้าในแปลงนาถูกระบุว่าเป็นแหล่งปล่อยก๊าซมีเทนจากกิจกรรมของมนุษย์แหล่งใหญ่ที่สุดแหล่งหนึ่ง สภาพการชังนำในพื้นที่ปลูกข้าวทังหมดของประเทศไทยมีถึง 80% ซึ่งส่วนใหญ่ชาวนานิยมปลูกข้าวด้วยวิธีหว่านนํ้าตมและวิธีปักดำ การจัดการนํ้าเป็นวิธีการหนึ่งในการลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากนาข้าว ที่น่าจะเหมาะสม และสอดคล้องกับสภาวะการณ์ปัจจุบันของประเทศ'ไทย ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมุ่งเน้นไปที่ วิธีการปลูกข้าว ระดับน้ำที่ท่วมขังในแปลงนา รวมทั้งปัจจัยที่เกี่ยวข้อง โดยศึกษาวิจัยในภาคสนามที่สถานีทดลองข้าวชัยนาท จังหวัดชัยนาท ด้วยแผนการทดลองแบบ 3 factors factorial in Randomize Complete Block Design ทำ 3 ซํ้า ประกอบด้วย พันธุ์ข้าว 2 พันธ์ (ชัยนาท 1 และขาวดอกมะลิ 105) ระดับน้ำ 2 ระดับ [ 0 ซ.ม.(ดินอิ่มตัวด้วยนํ้า) และ 20 ซ.ม.] และวิธีการปลูกข้าว 2 วิธี (หว่านนํ้าตมและปักดำ) ดินในพื้นที่ทำการทดลองเป็นขุดดินนครปฐม กำหนดให้หนึ่งหน่วยทดลอง คือ แปลงนาขนาด 3 ม. X 6 ม. เก็บตัวอย่างก๊าซตามระยะการเจริญเติบโตของด้นข้าวด้วยตู้ครอบขนาด 0.6 ม. X 0.6 ม. X 0.5 ม. ตู้ครอบนี้สามารถต่อเพื่อเพิ่มความสูงตามความสูงของต้นข้าว วิเคราะห์ปริมาณก๊าซมีเทนด้วยวิธี Gas Chromatography (Fame Ionization Detector, FID) ผลการศึกษาพบว่า การปล่อยก๊าซมีเทนจากแปลงนาที่ปลูก ข้าวพันธ์ขาวดอกมะลิ 105 ด้วยวิธีปักดำ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับระดับนํ้าที่ขังในแปลงนา (r2 = 0.417) โดยแปลงนาที่ขังนํ้า 20 ซ.ม. มีการปล่อยก๊าซมีเทนสูงกว่าแปลงนาที่ขังน้ำ 0 ซ.ม. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( F-value = 5.89- ) ทั้งนี้ วิธีการปลูกข้าวที่แตกต่างกัน คือ หว่านน้ำตมและปักดำ ที่มีการขังน้ำในแปลงนาตั้งแต่ 0 - 2 0 ซ.ม. ไม่ก่อให้เกิดความแตกต่างของการปล่อยก๊าซมีเทน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ การปลูกข้าวโดยวิธีปักดำ ที่ขังน้ำในแปลงนา 20 ซ.ม. มีผลทำให้ข้าวพันธ์ขาวดอกมะลิ 105 มีการปล่อยก๊าซมีเทนสูงกว่าข้าวพันธ์ชัยนาท 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดินนาที่มีการปลูกข้าว ส่งผลให้มีการปล่อยก๊าซมีเทนสูงกว่าการไม่ปลูกข้าว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระยะการเจริญเติบโตของต้นข้าวก็มีผลต่อการปล่อยก๊าชมีเทนจากแปลงนาที่ปลูกข้าว โดยการปล่อยก๊าซมีเทนสูงสุดเกิดขึ้นในระยะตั้งท้อง ยกเว้นแปลงนาที่ขังน้ำ 20 ซ.ม. ที่ปลูกข้าวพันธ์ขาวดอกมะลิ 105 จะมีการปล่อยก๊าซมีเทนสูงสุดที่ระยะเมล็ดน้ำนมทั้งนี้ การปล่อยก๊าซมีเทนจากแปลงนาที่ปลูกข้าวพันธ์ชัยนาท 1 ด้วยวิธีหว่านน้ำตม เมื่อขังน้ำ 0 และ 20 ซ.ม. เท่ากับ 7.65 และ 8.16 มก/ม.2/ซม. ส่วนวิธีปักดำ เท่ากับ 6.84 และ 9.69 มก/ม.2/ซม. ตามลำดับ สำหรับแปลงนาที่ปลูกข้าวพันธ์ขาวดอกมะลิ 105 ด้วยวิธีหว่าน้ำตม จะมีการปล่อยก๊าซมีเทนจากแปลงนาที่ขังน้ำในระดับ 0 และ 20 ซ.ม. เท่ากับ 6.42 และ 8.25 มก/ม.2/'ชม. ส่วนวิธีปักดำ เท่ากับ 9.19 และ 6.95 มก/ม.2/ซม. ตามลำดับ ในขณะที่ กาไม่ปลูกข้าวในแปลงนามีการปล่อยก๊าซมีเทน เท่ากับ 2.94 มก/ม.2/ซม. เมื่อมีการขังน้ำ 0 ซ.ม. และเท่ากับ 3.32 มก/ม.2/ซม. เมื่อมีการขังน้ำ 20 ซ.ม. ความแตกต่างของปริมาณผลผลิตข้าว ที่ปลูกในแปลงนาที่ขังน้ำในระดับที่แตกต่างกัน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยปัจจัยที่มีผลต่อการปล่อยก๊าซมีเทนเมื่อระดับนํ้าขังในแปลงนา 0 - 2 0 ซ.ม. คือ พันธุ์ข้าวมวลชีวภาพ และความสูงของต้นข้าว
Other Abstract: Methane is me of greenhouse gases effected global warming. Flooded rice field is indicated to be the major source ๙ methane emission resulting from human activity. Eighty percent of the rice cultivated area in Thailand is flooded with cultural practices ๙ wet seeded and transplanted rice. Water management is a method for decreasing methane emission which appropriate within current condition for Thailand. Therefore, field study emphasized on cultural practice, water level and factors affecting methane emission from rice field was conducted at the Chai Nat Rice Experiment station, Chai Nat province. The experimental design was 3 factors factorial in Randomize Complete Block with 3 replications for two rice varieties (Chai Nat 1 and KDML 105), two water levels [ 0 cm. (saturated soil) and 20 cm.] and two cultural practices (wet seedded and transplanted). The soil was the Nakom Pathom soil series. One experimental unit was 3 m. X 6 m. Sampling period depend upon growth stage of rice with closed chamber technique correspondence with the rice height. Size of chamber was 0.6 m. X 0.6 m. X 0.5 m. Gas Chromatography (Flame Ionization Detector, FID) was an analytical technique for methane measurement. The result indicated that at water level 20 cm. in transplanted rice field with KDML 105, methane emission was higher than that of 0 cm. significantly (F-value = 5.89 ). Methane emission from transplanted rice field with KDML 105 was significantly related to water levels (r2= 0.417). Cultural practices (wet seeded and transplanted) were not significantly influenced on methane emission at water levels up to 20 cm. Only at 0 cm. water level, KDML 105 emitted methane significantly higher than Chai Nat 1. Within rice field, planted rice resulted in methane emission more than unplanted rice significantly. Development growth stage of rice affected methane emission from rice field. Booting stage was the maximum rate of methane emission, except KDML 105 planted in 20 cm. water level which was milk grain stage. Chai Nat 1 planted in 0 and 20 cm. water level with wet seeded emitted methane 7.65 and 8.16 mgim.2/hr., while transplanted rice field emitted 6.84 and 9.69 mg./m.2/hr. respectively. KDML 105 planted in 0 and 20 cm. water level with wet seeded emitted methane 6.42 and 8.25 mg/m.2/hr., while transplanted rice field emitted 9.19 and 6.95 mg/m.2/hr. respectively. Methane emission of unplanted rice field at 0 cm. water level was 2.94 mg./m.2/hr. and 3.32 mg/m.2/hr. emitted from 20 cm. water level. Rice yield was not significantly influenced by the levels of water. Factors affecting methane emission together with water levels (0-20 cm) were rice species, rice height and biomass.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72177
ISBN: 9743466274
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anurak_vi_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ894.77 kBAdobe PDFView/Open
Anurak_vi_ch1_p.pdfบทที่ 1686.44 kBAdobe PDFView/Open
Anurak_vi_ch2_p.pdfบทที่ 21.29 MBAdobe PDFView/Open
Anurak_vi_ch3_p.pdfบทที่ 3904.2 kBAdobe PDFView/Open
Anurak_vi_ch4_p.pdfบทที่ 41.86 MBAdobe PDFView/Open
Anurak_vi_ch5_p.pdfบทที่ 52.36 MBAdobe PDFView/Open
Anurak_vi_ch6_p.pdfบทที่ 6691 kBAdobe PDFView/Open
Anurak_vi_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก2.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.