Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72216
Title: การศึกษาทัศนคติของแม่บ้านในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อยาพ่นฆ่าแมลงในบ้านเรือน
Other Titles: A study on the attitudes of housewives in Bangkok Metropolitan area towards insecticidal liquid Oil spray and insecticidal aerosol
Authors: เดวิด อิทธิธนวัฒนา
Advisors: วิชัย ชีวกนิษฐ์
เพลินทิพย์ โกเมศโสภา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: แม่บ้าน -- ทัศนคติ -- ไทย
ยาฆ่าแมลง -- ไทย
Housewives -- Attitudes -- Thailand
Insecticides -- Thailand
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ยาพ่นฆ่าแมลงในบ้านเรือน เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อป้องกันและกำจัดแมลงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเมลงที่ก่อให้เกิดความสกปรก รำคาญ หรือเป็นพาหะนำโรคติดต่อมาสู่มนุษย์ แม้ยาพ่นฆ่าแมลงจะมีประโยชน์ในการป้องกันและกำจัดแมลงต่าง ๆ ได้ผลดีก็ตาม แต่ยาพ่นฆ่าแมลงในบ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นสารเคมีที่มีอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยง ดังนั้นหากใช้ไม่ถูกวิธีหรือใช้อย่างขาดความระมัดระวังหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็อาจทำให้ผู้ใช้ได้รับอันตรายได้ ดังนั้น ทัศนคติในการใช้ หลักเกณฑ์ พฤติกรรมการซื้อ และปัจจัยที่มีอิทธิพลเลือกซื้อย่อมแตกต่างจากสินค้าอุปโภคบริโภคอื่น ๆ ผู้เขียนจึงมุ่งที่จะศึกษาถึงทัศนคติของแม่บ้านที่มีต่อยาพ่นฆ่าแมลงใน บ้านเรือน เพื่อเป็นประโยชน์และแนวทางให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้ผลิตและผู้จำหน่ายยาพ่นฆ่าแมลงในบ้านเรือน นำไปกำหนดกลยุทธและส่วนผสมทางการตลาดที่เหมาะสมต่อไป ผู้เขียนได้ใช้วิธีการวิจัยสนามในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสำรวจความคิดเห็นแม่บ้านในเขตกรุงเทพมหานคร กำหนดจำนวนตัวอย่าง 500 ตัวอย่าง โดยมุ่งศึกษาถึงทัศนคติในการใช้หลักเกณฑ์ พฤติกรรมการซื้อ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อ รวมทั้งรูปแบบที่แม่บ้านส่วนใหญ่นิยมซื้อใช้ สมมติฐานในการศึกษาวิจัย ได้แก่ 1. แม่บ้านในเขตกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่นิยมใช้ยาพ่นฆ่าแมลงในบ้านเรือน เพราะปัญหาแมลงชุกชุม 2. ปัจจัยสำคัญที่สุดที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อยาพ่นฆ่าแมลงในบ้านเรือนของแม่บ้าน ในเขตกรุงเทพมหานคร คือ ความเชื่อมั่นในตราสินค้าที่รับรองคุณภาพโดยบริษัทผู้ผลิต 3. รูปแบบของยาพ่นฆ่าแมลงในบ้านเรือนที่แม่บ้านในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่นิยมซื้อใช้ คือ ยาพ่นฆ่าแมลงชนิดแอโรซอล 4. รายได้มีความสัมพันธ์กับการเลือกใช้รูปแบบของผลิตภัณฑ์ยาพ่นฆ่าแมลงในบ้านเรือน ในการวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบสมมติฐาน ผู้เขียนได้ใช้การวิเคราะห์ทั้งทางคุณภาพ (Qualitative) และใช้วิธีการทางปริมาณ (Quantitative)โดยวิธีการเปรียบเทียบร้อยละ และตัวสถิติไคลแควร์ (X²) ในการทดสอบสมมติฐาน ผลจากการศึกษาพบว่า แม่บ้านส่วนใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานคร ยังคงใช้ผลิตภัณฑ์ยาพ่นฆ่าแมลงในบ้านเรือน และมีสาเหตุที่จำเป็นต้องใช้เนื่องจากการที่มีปัญหาแมลงรบกวนมาก โดยใช้รูบแบบชนิดแอโรซอลมากที่สุด และใช้โดยไม่มีการแยกประเภทการใช้งานเป็นส่วนมาก ผลิตภัณฑ์ยาพ่นฆ่าแมลงในบ้านเรือน เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความภักดีในตราสินค้าสูง และผู้ที่เป็นผู้ตัดสินใจซื้อ ได้แก่ แม่บ้าน ปัจจัยสำคัญที่สุดที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อยาพ่นฆ่าแมลง ได้แก่ ความปลอดภัยต่อผู้ใช้ ทางด้านการกระจายสินค้านั้น ผลิตภัณฑ์ยาพ่นฆ่าแมลงมีการกระจายสินค้า เป็นไปอย่างทั่วถึง โดยแม่บ้านนิยมซื้อยาพ่นฆ่าแมลงที่ซุปเปอร์มาร์เก็ตมากที่สุด อุปสรรคของผลิตภัณฑ์ยาพ่นฆ่าแมลงคือ การที่มีหน่วยงานของรัฐหลายหน่วยงานเข้ามามีบทบาทในการควบคุม เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้ยาพ่นฆ่าแมลงเป็นวัตถุมีพิษ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ กำหนดให้ยาพ่นฆ่าแมลงเป็นสินค้าที่ต้องได้รับการควบคุมทางด้านราคา กรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย กำหนดให้ยาพ่นฆ่าแมลงชนิดแอโรซอลเป็นวัตถุไวไฟ เนื่องจากมีก๊าซในกระป๋อง นอกจากนั้นสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กำลังพิจารณาร่างกฎหมายเพื่อให้มีการแยกกระป๋องการใช้งาน เป็นต้น อย่างไรก็ตามการยื่นมือเข้ามาควบคุมของรัฐก็เพื่อ พิทักษ์ความปลอดภัยให้เกิดแก่ผู้บริโภคมากที่สุด ข้อเสนอแนะของผู้ทำการวิจัย ได้แก่ 1. ผู้ผลิตควรมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยผลิตสูตรที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้น้อย คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นสำคัญ มิใช่ผลิตเพียงเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของตนมีประสิทธิภาพในการฆ่าแมลงได้ดี เป็นที่ต้องการของผู้ใช้เท่านั้น 2. ผู้ผลิตควรมีการให้ข่าวสาร ข้อมูล หรือความรู้เกี่ยวกับยาฆ่าแมลงให้ประชาชนได้ทราบ รวมทั้งวิธีการใช้ที่ถูกต้องโดยละเอียด โดยเฉพาะแนะนำให้ผู้บริโภคแยกการใช้สำหรับแมลงบินกระป๋องหนึ่ง และสำหรับแมลงคลานอีกกระป๋องหนึ่ง มิใช่แต่เพียงโฆษณาถึงประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ของตนเท่านั้น หรือร่วมมือกับหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้องที่จะมีส่วนช่วยในการให้ความรู้และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับยาพ่นฆ่าแมลงและวิธีการใช้ด้วยเพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่ทราบวิธีการใช้ที่ถูกต้องหรือมีความรู้เกี่ยวกับยาฆ่าแมลงแต่อย่างใด 3. ผู้ผลิตควรต้องรีบดำเนินการปรับปรุงแก้ไขทางด้านกลิ่นของผลิตภัณฑ์ แต่ไม่ควรให้เป็นกลิ่นหอมหรือกลิ่นดอกไม้ เพราะอาจทำให้ผู้บริโภคยิ่งสูดดมสารพิษโดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาจทำให้ได้รับอันตรายได้ 4. ผู้ผลิตควรให้ความสนใจกับแม่บ้านเป็นสำคัญ เนื่องจากแม่บ้านเป็นผู้ตัดสินใจซื้อโดยส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม พ่อบ้านและบุคคลในครอบครัวก็มีความสำคัญไม่น้อยในการที่ร่วมพิจารณาตัดสินใจซื้อยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง 5. ผู้ผลิตควรโฆษณาเน้นภาพพจน์ที่ตราสินค้า ทั้งนี้เนื่องจากผลิตภัณฑ์ยาพ่นฆ่าแมลงในบ้านเรือน เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความภักดีในตราสินค้าสูง และควรโฆษณาผ่านสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ เนื่องจากเป็นสื่อโฆษณาที่เข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายได้ดีที่สุด 6. ผู้ผลิตควรให้ความสนใจกับช่องทางการจัดจำหน่าย โดยเฉพาะร้านค้าปลีกประเภทซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายของเบ็ดเตล็ด และห้างสรรพสินค้า เนื่องจากแม่บ้านนิยมซื้อยาพ่นฆ่าแมลงจากร้านค้าปลีกประเภทเหล่านี้
Other Abstract: Household insecticidal liquid oil spray and insecticidal aerosol are used for preventing and eliminating various insects. Eventhough these insecticides are useful, most of them are dangerous chemical products for human and pets. In case of misuse or carelessness, it can be very harmful and hazardous to users. Therefore, purchasing attitudes, criteria, purchasing behaviour of consumers and influential factors on purchasing of products are different from other consumer products. The objectives of this study is to find out housewives' attitudes towards household insecticidal products. The finding will be guidelines for concerned government officials and for manufacturers and distributors to determine appropriate marketing strategies. Data collection of this study is based on field-marketing research. Questionnaires were handed to housewives in Bangkok Metropolitan area which are the largest target group of this kind of product. The study is concentrated on attitudes, purchasing behaviours and factors which have influence on the selection of products. The study is based on the following hypothesis :- 1. The purpose of housewives' household insecticidal use is for the abundance of insects. 2. The most important factor for housewives in Bangkok Metropolitan area to purchase household insecticidal products is the confidence in the brand which had been guaranteed by manufacturers. 3. The most popular type of household insecticidal for housewives are Aerosol. 4. Earnings are related to the selection of type of household insecticidal products. The methodology used for testing hypothesis is based on quantitative, and qualitative tests. Percentage comparison and Chi-Square are used as major statistical tools. The result of study reveals that most housewives use household insecticidal products because they find it the best way to eliminate insect nuisance. Insecticidal Aerosol is used for multi purposes. Household insecticidal products are high brand loyalty. Consumers who make decision about purchasing the product are mostly housewives. The most important factor which has some influence over the household insecticidal purchase is its safety for users. The best place to buy household insecticidal is supermarkets. The obstacles of insecticidal product distribution are many government organizations play their important roles to control the distribution. For example, The Food And Drugs Administration of The Ministry of Health treats insecticides as poisonous substances. The Interior-Trade Department of The Ministry of Commerce states that insecticides must be price-controlled. The Public-Work Department of the Ministry of Interior Affair declares insecticides are flammable substances. Moreover, The Thai Industrial standard Institute of The Ministry of Industry are considering to issue Standards on Insecticidal Liquid Spray and Aerosol. The government' interfere is aimed at protecting consumers. Recommendations follows: 1. Manufacturers should be responsible for society by producing less dangerous formulas products, be more concern with consumers' safety not only produce effective insecticides. 2. Manufacturers should provide information, knowledge about insecticides to consumers including details on direction of use, not only advertise the efficiency of the products. Manufacturers should co-operate with the concerned government organizations in providing information because most consumers are not aware of the appropriate direction of use or knowledge about toxic insecticides. 3. Manufacturers have to improve and find ways to get rid of unpleasant scents of products. They should not use pleasant odor because consumers may enjoy the scents which may cause hazard to their health. 4. Manufacturers should pay attention to housewives because most of them are decision makers of a selected brand. 5. Manufacturers should emphasize the brand image on account of high brand loyalty and advertise through television which is the most successful media. 6. Manufacturers should pay high attention on supermarket for an effective distribution.
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารธุรกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72216
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1987.162
ISBN: 9745679984
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1987.162
Type: Thesis
Appears in Collections:Acctn - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
David_it_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.13 MBAdobe PDFView/Open
David_it_ch1_p.pdfบทที่ 1923.38 kBAdobe PDFView/Open
David_it_ch2_p.pdfบทที่ 22.52 MBAdobe PDFView/Open
David_it_ch3_p.pdfบทที่ 32.53 MBAdobe PDFView/Open
David_it_ch4_p.pdfบทที่ 41.07 MBAdobe PDFView/Open
David_it_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก2.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.