Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72227
Title: | การยืมช่องสัญญาณตามสภาวะทราฟฟิกของเซลล์ โดยการกำหนดช่องสัญญาณแบบยูนิฟอร์ม สำหรับระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูลาร์แบบ TDMA |
Other Titles: | Traffic-based channel borrowing with uniform channel assignment for the TDMA cellular mobile telephone system |
Authors: | ชัยวัฒน์ จามจรีกุล |
Advisors: | วาทิต เบญจพลกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ สัญญาณและการให้สัญญาณ Cell phone systems Signals and signaling |
Issue Date: | 2540 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงวิธีการจัดสรรช่องสัญญาณแบบการยืมช่องสัญญาณของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูลาร์แบบทีดีเอ็มเอ เพื่อที่จะทำให้อัตราการบล็อกการเรียกทั้งระบบต่ำลง โดยการปรับปรุงเงื่อนไขการทำงานบางส่วนของซอฟต์แวร์ที่สถานีฐานของโทรศัพท์เคลื่อนที่ วิธีการยืมช่องสัญญาณโดยการกำหนดช่องสัญญาณแบบยูนิฟอร์มนี้เป็นการยืมช่องสัญญาณตามสภาวะทราฟฟิกของเซลล์ โดยพิจาณาเลือกเซลล์ที่มีทราฟฟิกต่ำที่สุดในคลัสเตอร์เดียวกัน แล้วเลือกช่องสัญญาณว่างในเซลล์นั้นแบบยูนิฟอร์ม ถ้าเซลล์อื่น ๆ ในคลัสเตอร์เดียวกันไม่มีช่องสัญญาณว่างที่รองรับการเรียกที่เกิดขึ้นได้ การเรียกดังกล่าวก็จะถูกดร็อป วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ใช้แบบจำลองระบบและการจัดรูปแบบเฟรมทีดีเอ็มเอที่อ้างอิงกับระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่จีเอสเอ็ม วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ใช้แบบจำลองระบบและการจัดรูปแบบเฟรมทีดีเอ็มเอที่อ้างอิงกับระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่จีเอสเอ็ม แบบจำลองระบบพิจารณา 49 เซลล์ (7 คลัสเตอร์) เพื่อที่จะพิจารณาผลกระทบของคลัสเตอร์รอบข้างที่มีต่อคลัสเตอร์ศูนย์กลางและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับทั้งระบบ และ 40 ช่องสัญญาณต่อเซลล์ ผลการจำลองระบบแสดงให้เห็นว่า ทั้งการกระจายทราฟฟิกแบบยูนิฟอร์มและแบบนอนยูนิฟอร์ม อัตราการบล็อกการเรียกทั้งระบบของวิธีการยืมช่องสัญญาณตามสภาวะทราฟฟิกของเซลล์โดยการกำหนดช่องสัญญาณแบบยูนิฟอร์มจะต่ำกว่าวิธีการยืมช่องสัญญาณแบบอะแดปตีฟโดยการกำหนดช่องสัญญาณตามลำดับที่จัดไว้ แต่อัตราการยืมช่องสัญญาณทั้งระบบและอัตราการดร็อปการเรียกทั้งระบบของวิธีการยืมช่องสัญญาณตามสภาวะทราฟฟิกของเซลล์โดยการกำหนดช่องสัญญาณแบบยูนิฟอร์มจะสูงกว่าวิธีการยืมช่องสัญญาณแบบอะแดปตีฟโดยการจัดลำดับช่องสัญญาณ เช่น อัตราการดร็อปการเรียกที่เกิดขึ้นทั้งระบบของวิธีการยืมช่องสัญญาณตามสภาวะทราฟฟิกของเซลล์โดยการกำหนดช่องสัญญาณแบบยูนิฟอร์มมีค่าสูงกว่าวิธีการยืมช่องสัญญาณแบบอะแดปตีฟโดยการจัดลำดับช่องสัญญาณเท่ากับ 1.64 % และ 1.462% สำหรับการกระจายทราฟฟิกแบบยูนิฟอร์มและแบบนอนยูนิฟอร์มตามลำดับ |
Other Abstract: | The objective of this thesis is to improve borrowing channel allocation of the TDMA cellular mobile telephone system in order to reduce the overall call blocking rate. This method can be implemented by modification of some conditions in software at mobile telephone base station. Channel borrowing with uniform channel assignment is based on cell’s traffic situation by choosing cell with the lowest traffic in the same cluster and then choosing its vacant channels uniformly. If any cells in the same cluster have no vacant channels which can serve the call, then that call is dropped. This thesis utilizes a simulation model and TDMA frame format arrangement of GSM mobile telephone system. The simulation model considers 46 cells (7 clusters) in order to include the effect of surrounding clusters to central cluster and the effect to system as well as 40 channels per cell. Results of the simulation show that in both uniform traffic distribution and nonuniform traffic distribution, the overall call blocking rate of traffic-based channel borrowing with uniform channel assignment (BUCA) is lower than that of adaptive borrowing with channel ordering (ABCO). However, the overall channel borrowing rate and the overall call drop rate of BUCA is higher than ABCO. For Instance, the overall call drop rate of BUCA is 1.64 % and 1.462 % more than ABCO for uniform traffic distribution and nonuniform traffic distribution, respectively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมไฟฟ้า |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72227 |
ISBN: | 9746377442 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chaiwat_ja_front_p.pdf | หน้าปก และ บทคัดย่อ | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chaiwat_ja_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 573.48 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chaiwat_ja_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 706.2 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chaiwat_ja_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chaiwat_ja_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 697.72 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chaiwat_ja_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chaiwat_ja_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 339.15 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chaiwat_ja_back_p.pdf | บรรณานุกรม และ ภาคผนวก | 4.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.