Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72250
Title: | การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาคณิตศาสตร์จากการเรียนซ่อมเสริมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างกลุ่มที่สอนซ่อมโดยครู กับกลุ่มที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน |
Other Titles: | Comparison of mathematics achievement of mathayom suksa four students in remedial learning between the groups taught by teacher and by computer assisted instruction |
Authors: | วิชชุลาวัณย์ พิทักษ์ผล |
Advisors: | ยุพิน พิพิธกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน -- ไทย คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) -- ไทย การสอนซ่อมเสริม -- ไทย คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน -- ไทย Academic achievement -- Thailand Mathematics -- Study and teaching (Secondary) -- Thailand Mathematics -- Remedial teaching -- Thailand Computer-assisted instruction -- Thailand |
Issue Date: | 2530 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ จากการเรียนซ่อมเสริมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างกลุ่มที่สอนซ่อมโดยครูกับกลุ่มที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิธีดำเนินการวิจัย ตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ แผนการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2528 ผู้วิจัยดำเนินการ เลือกกลุ่มตัวอย่างประชากรโดยนำคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์เรื่องภาคตัดกรวย ของนักเรียน 3 ห้องเรียนมาหาค่าเปอร์เซ็นไทล์ เลือกนักเรียนที่มีเปอร์เซ็นไทล์ ระหว่าง 0-30 เป็นนักเรียนกลุ่มอ่อน แบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 30 คน แล้วผู้วิจัยนำคะแนนสอบ มาทดสอบค่าเอฟ (F-test) และทดสอบค่าที (t-test) ปรากฎว่านักเรียนทั้งสองกลุ่มมีพื้นฐานความรู้คณิตศาสตร์เรื่อง ภาคตัดกรวยไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ 0.05 ดังนั้นผู้วิจัยจึงเลือกนักเรียนทั้งสองกลุ่มเป็นกลุ่มตัวอย่างประชากร กลุ่มที่หนึ่งเป็นกลุ่มทดลองที่สอนซ่อมโดยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มควบคุมที่สอนซ่อมโดยครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยซึ่งสร้างขึ้นโดยผู้วิจัยมีดังนี้คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการสอนซ่อมวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง "ภาคตัดกรวย" ซึ่งให้อาจารย์ที่ปรึกษาและ ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านตรวจแก้ไข คู่มือการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนเพื่อการสอนซ่อมเสริม บันทึกการสอนเรื่อง "ภาคตัดกรวย" ซึ่งให้อาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ตรวจแก้ไข แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง "ภาคตัดกรวย" ซึ่งมีค่าความเที่ยง 0.80 ผู้วิจัยดำเนินการสอนกลุ่มทดลองซึ่งสอนซ่อมโดยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ส่วนกลุ่มควบคุมสอนซ่อมโดยครู ใช้เวลากลุ่มละ 8 คาบ ๆ ละ 50 นาที เมื่อสอนทั้งสองกลุ่มเสร็จแล้วผู้วิจัยให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง "ภาคตัดกรวย" แล้ววิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัย ผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาคณิตศาสตร์จากการเรียนซ่อมเสริมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างกลุ่มที่สอนซ่อมโดยครูกับกลุ่มที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ 0.05 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ |
Other Abstract: | Purpose The purpose of this research was to compare mathematics achievement of mathayom suksa four students in remedial learning between the groups taught by teacher and by computer assisted instruction Procedures The sample were mathayom suksa four science and mathematics program students of Satree Sedhabutra Bumpen School, academic year of 1985. The researcher selected the sample by using percentile of mathematics scores on “Conic Section” of the students in three classes. The students who got percentile between 0-30 were low achievers. The low achievers were divided into two groups, thirty students each. Then the mathematics scores of both groups were tested by using F-test and t-test. It reveled that the mathematics learning background of both groups was not different at the 0.05 level of significance. So the researcher selected both groups to be the sample. First group was the experimental group taught by computer assisted instruction. Second group was the controlled group taught by teacher. The research instruments constructed by the researcher were as follows : the educational software for remedial mathematics learning on “Conic Section” corrected by the advisor and there experts: the students’ manual of educational software for remedial learning the lesson plan on “Conic Section” corrected by the advisor and three experts; the mathematics learning achievement test on “Conic Section” with the reliability of 0.80. The experimental group taught by computer assisted instruction. The controlled group taught by teacher. The total time was eight periods, fifty minutes each. After both groups finished their lessons, the mathematics learning achievement tests on “Conic Section” were administered to the students. Then the data were analyzed by means of arithmetic mean, standard deviation and t-test. Results The mathematics achievement of mathayom suksa four students in remedial learning between the groups taught by teacher and by computer assisted instruction was not different at the 0.05 level of significance which rejected the hypothesis. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | มัธยมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72250 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.1987.170 |
ISBN: | 9745678953 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.1987.170 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wichulawan_pi_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Wichulawan_pi_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Wichulawan_pi_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 4.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Wichulawan_pi_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 936.59 kB | Adobe PDF | View/Open |
Wichulawan_pi_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 712.58 kB | Adobe PDF | View/Open |
Wichulawan_pi_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 873.07 kB | Adobe PDF | View/Open |
Wichulawan_pi_back_p.pdf | รายการอ้างอิงและภาคผนวก | 10.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.