Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72868
Title: การศึกษาระบบการก่อสร้างอาคารสำเร็จรูป ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Other Titles: A study of prefabrication systems for building construction in Bangkok Metropolitan area
Authors: มามี โตบารมีกุล
Advisors: ปิง คุณะวัฒน์สถิตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: อาคารสำเร็จรูป
ต้นทุนการผลิต
Buildings
Prefabricated Cost
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการก่อสร้างอาคารสำเร็จรูปในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยศึกษาขั้นตอนการก่อสร้าง ข้อดี-ข้อเสีย และปัญหา-อุปสรรค เปรียบเทียบต้นทุนและระยะเวลาก่อสร้างของอาคารระบบสำเร็จรูปกับระบบหล่อในที่ จากโครงการก่อสร้างอาคารด้วยระบบสำเร็จรูปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 4 โครงการ โดยใช้การสำรวจ สัมภาษณ์และการเก็บข้อมูลเป็นหลัก ได้ผลการวิจัยดังนี้ การก่อสร้างอาคารระบบสำเร็จรูปเหมาะที่จะใช้กับโครงการที่มีอาคารเป็นจำนวนมากและรูปแบบไม่หลากหลาย ต้องการลดต้นทุนและลดระยะ เวลาก่อสร้าง การก่อสร้างอาคารระบบสำเร็จรูปประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลักคือ การ ผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูป การขนส่ง และการติดตั้งประกอบจุดรอยต่อ การก่อสร้างระบบสำเร็จรูปนี้ข้อดีคือลดต้นทุนงานโครงสร้างและลดระยะเวลางานก่อสร้าง ส่วนข้อเสียคือลงทุนสูงในระยะแรกของการก่อสร้าง การดัดแปลงอาคารทำได้ยาก ต้องใช้แรงงานที่มีฝีมือ รวมทั้งบุคลากรและผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์ และต้องควบคุมการทำงานทุกขั้นตอนอย่างรอบคอบ ส่วนปัญหาและอุปสรรคคือการผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูปไม่ได้ขนาดตามที่แบบกำหนด จุดรอยต่อชิ้นส่วนสำเร็จรูปมีความคาดเคลื่อน ไม่ตรงตำแหน่ง มีการรั่วซึมของน้ำบริเวณจุดรอยต่อหลังการก่อสร้างเสร็จ จากการเปรียบเทียบต้นทุนพบว่าโครงการ ก ข ค และ ง มีต้นทุนทางตรงของงานโครงสร้างอาคารระบบสำเร็จรูปลดลงประมาณ 23 13 6 และ 3 % ตามลำดับ และระยะ เวลาก่อสร้างงานโครงสร้างอาคารระบบสำเร็จรูปลดลงประมาณ 64 69 37 และ 50 % ตามลำดับเมื่อเปรียบเทียบกับระบบหล่อในที่ในอาคารเดียวกัน จากผลการศึกษาทั้ง 4 โครงการ การเลือกใช้การก่อสร้างอาคารระบบสำเร็จรูปมีความประหยัด และรวดเร็วกว่าระบบหล่อในที่
Other Abstract: The objective of this research is to study Prefabrication Systems for building construction in Bangkok Metropolitan Area in aspects of construction process, problems and obstructions as well as benefits versus deficiencies. Additionally, cost and construction time of Prefabrication Systems are in comparison with original Cast-in-Place systems. Four construction projects in Bangkok area including sub-urban areas have been investigated by means of data collection and interview. Results of the research are as follow : The construction projects which are generally suitable for the Prefabrication Systems are large projects comprised of numerous units of which low varieties in their patterns. Exclusively, they aimed at reductions of cost and construction time. To process the Prefabrication Systems, three major steps are required : precast element production, transportation and erection assembled. The advantages of the Prefabrication Systems have apparently been about cost reduction of structural work and decrease of construction duration. The disadvantages of this system have seemed to raise the investment cost at initial stage of the project, to cause the difficulties in modification of the building, to require skilled labours, experienced staffs and contractors and to carefully control in every step of working process. The problems and obstructions are shortage of experienced precast manufactures resulting in dimensional inaccuracy of the element, joints of precast element disposition and water leakage at joint connections after the building has been completed. According to studying cost comparison, direct cost of structural work for project A, B, c and D has been reduced approximately 23, 13, 6 and 3 % respectively and the duration of structural construction has been decreased approximately 64, 69, 37 and 50% respectively when comparing to Cast-in-Place Systems. Finally, this research has apparently shown more economical to apply the Prefabrication Systems for building construction than Cast-in-Place Systems.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72868
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1997.295
ISBN: 9746384325
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1997.295
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Mamee_to_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ507.25 kBAdobe PDFView/Open
Mamee_to_ch1.pdfบทที่ 1152.9 kBAdobe PDFView/Open
Mamee_to_ch2.pdfบทที่ 2904.19 kBAdobe PDFView/Open
Mamee_to_ch3.pdfบทที่ 35.43 MBAdobe PDFView/Open
Mamee_to_ch4.pdfบทที่ 42.05 MBAdobe PDFView/Open
Mamee_to_ch5.pdfบทที่ 5209.5 kBAdobe PDFView/Open
Mamee_to_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก7.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.