Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72988
Title: แนวทางการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้ากับการขายพ่วงทางเทคนิค
Other Titles: Implementation of competition law on technical typing
Authors: วทันยา โสภาจิตต์วัฒนะ
Advisors: กัญจน์ศักดิ์ เพชรานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Kansak.B@Chula.ac.th,b_kansak@hotmail.com
Subjects: การแข่งขันทางการค้า
การขายพ่วง
พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560
Competition
Bundling (Marketing)
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การขายพ่วงนั้นอาจเกิดในรูปแบบของสัญญาหรือทางเทคนิค ซึ่งการขายพ่วงทางเทคนิค (Technical tying) เป็นการขายพ่วงโดยใช้วิธีการเชื่อมสินค้าที่มีการพ่วงและสินค้าที่ถูกนำไปพ่วงด้วยวิธีการทางเทคนิคซึ่งทำให้สินค้าทั้งสองอาจแยกออกจากกันทางกายภาพได้หรือไม่ก็ได้ เมื่อสินค้าทั้งสองนั้นสามารถแยกออกจากกันได้ทางกายภาพก็จะเป็นที่ชัดเจนว่ามีสินค้าที่มีการพ่วงและสินค้าที่ถูกพ่วงเกิดขึ้น และมักสามารถนำการขายพ่วงตามข้อสัญญามาปรับใช้กับกรณีดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตามในกรณีการขายพ่วงทางเทคนิคที่สินค้ามีลักษณะของการรวมกันทางกายภาพนั้นยากที่จะแยกมีสินค้าที่มีการขายพ่วงและสินค้าที่ถูกนำไปพ่วงหรือไม่ อีกทั้งพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 มาตรา 50(2) และแนวปฏิบัติตามมาตรา 50 ไม่ได้มีการระบุถึงการขายพ่วงทางเทคนิคและแนวปฏิบัติในการพิจารณาสินค้า 2 ชนิดแยกออกจากกันไว้เลย จากการศึกษากฎหมายแข่งขันทางการค้าของต่างประเทศพบว่า ถึงแม้ว่ายังไม่ได้มีการวางแนววินิจฉัยเกี่ยวกับการขายพ่วงทางเทคนิคที่แน่นอนนักและคดีที่เกี่ยวข้องยังมีไม่มาก แต่ได้มีการพบว่ากฎหมายแข่งขันทางการค้าของสหภาพยุโรปได้มีการกล่าวถึงการขายพ่วงทางเทคนิคไว้ในแนวปฏิบัติในเรื่องของการขายพ่วง ถึงแม้ว่าในการพิพากษาคดีจะไม่ได้ปรากฏการขายพ่วงทางเทคนิคไว้โดยตรงก็ตามแต่ก็ได้การวางหลักกฎหมายที่สามารถนำมาช่วยในการวิเคราะห์เรื่องการขายพ่วงทางเทคนิคได้ ส่วนกฎหมายป้องกันการผูกขาดของสหรัฐอเมริกาได้มีแนวทางในการวินิจฉัยการขายพ่วงและแนวทางในการแยกสินค้าออกจากกันที่น่าสนใจ ดังนั้นผู้เขียนจึงขอเสนอแนวทางในการปรับใช้พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2560 กับการขายพ่วงทางเทคนิคไว้ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้
Other Abstract: Tying can take place on a contractual or technical basis. Technical Tying occurs when the tying product and the tied product are linked together by the technical way in which the products may be physically integrated. In case the products which technically linked are two separate products, It usually could apply to contractual tying cases. However, in case the products are physically integrated, it is hard to decide that this case becomes a single product or tying. The Trade Competition Act B.E. 2560 section 50 and the guidance in applying section 50 do not detail about technical tying and distinct products. The results of the study in EU Competition Law and US Antitrust Law indicate that there are not clearly principle to apply with technical tying cases yet and there are not many cases on technical tying. However, In EU Competition Law on guidance about tying has given a definition of technical tying. Although the tying cases in the EU are not adjudicated about technical tying directly, they created the important principles to apply with the general tying cases. Nevertheless, US Antitrust Law has interesting tying cases and the separation product tests which can be applied with The Trade Competition Act B.E. 2560. Therefore, the author would like to propose the implementation of the Trade Competition Act B.E. 2560 on technical tying in this thesis.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72988
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.886
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.886
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Law_5886015834_Thesis_2018.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.