Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73021
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัชพล จิตติรัตน์-
dc.contributor.authorกฤษฎิ กำปั่นทอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-03-31T07:39:33Z-
dc.date.available2021-03-31T07:39:33Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73021-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในกรณีการกระทำความผิดของนิติบุคคล เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน โดยศึกษารูปแบบและลักษณะการกระทำความผิดของนิติบุคคลจากการสังเคราะห์ข้อมูล เอกสาร บทกฎหมาย และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ทั้งนี้ ทำการศึกษาการกระทำความผิดผ่านนิติบุคคลกรณีจัดตั้งนิติบุคคลขึ้นมาเพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงินเฉพาะในกรณีรูปแบบของบริษัทจำกัดเท่านั้น จากการศึกษาพบว่า นิติบุคคลตามกฎหมายไทยยังมีความเสี่ยงในการถูกใช้เป็นเครื่องมือ ในการกระทำความผิดมูลฐานและความผิดอาญาฐานฟอกเงิน เนื่องจากยังไม่มีมาตรในการกำกับดูแลนิติบุคคลรวมถึงยังไม่มีมาตรการในเรื่องของความโปร่งใสและเจ้าของผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงของนิติบุคคล ทำให้การดำเนินการป้องกันและปราบปรามในเรื่องการกระทำความผิดมูลฐานและความผิดฐานฟอกเงินของนิติบุคคลยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ตลอดจนบทลงโทษของนิติบุคคลในกรณีกระทำความผิดฐานฟอกเงิน ยังเป็นบทลงโทษที่ไม่เหมาะสมหรือไม่อาจส่งผลยับยั้งการกระทำความผิดได้ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบผลประโยชน์ที่ได้รับจากการกระทำความผิดกับบทลงโทษ พบว่าไม่มีความสอดคล้องกัน อีกทั้งอายุความในการดำเนินคดีเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิดที่เป็นนิติบุคคลนั้น มีอายุความระยะเวลาเพียงหนึ่งปี ส่งผลให้ผู้กระทำความผิดหลบหนีออกจากกระบวนการยุติธรรม เนื่องจากได้รับประโยชน์จากเรื่องอายุความที่มีระยะเวลาสั้น จึงเป็นผลให้คดีเป็นอันขาดอายุความ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการใด ๆ ตามกฎหมายได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงมีความจำเป็นในการกำหนดมาตรการป้องกันต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ นิติบุคคล ตั้งแต่การจดทะเบียนจัดตั้ง การตรวจสอบการดำเนินการ และความโปร่งใสและเจ้าของผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงของนิติบุคคล เพื่อเป็นการป้องกันการกระทำความผิดทางอาญาของนิติบุคคล รวมถึงแก้ไขเพิ่มเติมในบทลงโทษในการกระทำความผิดฐานฟอกเงิน และอายุความความในการดำเนินคดีกับนิติบุคคล ให้มีความเหมาะสมและส่งผลยับยั้งการกระทำความผิดได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามที่มาตรฐานสากลกำหนดไว้en_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this dissertation is to study on the anti-money laundering measures. By focusing on the case of legal person’s offenses and studying through the forms and characteristics of such offenses from the synthesis of documents, laws and researches related to anti-money laundering measures, the dissertation founds ways to improve the anti-money laundering and suppression laws. However, this dissertation limitedly studies on the offenses committed by legal persons which limited companies. The results show that Thai legal persons are at risk to be misused as a tool in committing predicate offenses and money laundering crimes due to the lack of supervision measure on legal persons and the absence of transparency and ultimate beneficial ownership measures. As a result, Thai anti money laundering prevention and suppression measure does not yet meet the international standards. By comparing the benefit associated from the money laundering crime to the crime penalties, there is inconsistent intensity between the two, leading to ineffectively preventing the money laundering perpetration. Moreover, the prescription period for the prosecution is only last for one year, allowing offender to escape until the expiration of the prescription and finally voiding the legal punishment. With all these reasons, there is the significant need to set the appropriate end-to-end prevention measure of legal person establishment such as on the registration, the audit of operation and the transparencies and ultimate beneficial ownership of the legal person and also to increase the penalties intensities and length of prescription in order to effectively prevent the crime committed by legal person and meet the international standards of the anti-money laundering measure.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.853-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการฟอกเงินen_US
dc.subjectอาชญากรรมทางเศรษฐกิจen_US
dc.subjectนิติบุคคลen_US
dc.subjectMoney laundering-
dc.subjectWhite collar crimes-
dc.subjectJuristic persons-
dc.titleมาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในกรณีการกระทำความผิดของนิติบุคคลen_US
dc.title.alternativeThe Measures of anti-money laudering in case of crimes committed by legal entityen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorNatchapol.J@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2018.853-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Law_5886044034_Thesis_2018.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.