Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73368
Title: การศึกษาการใช้ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร: กรณีศึกษาพนักงานขายสินค้า ชาวไทย บริษัท คิง เพาเวอร์ อินเตอร์เนชันแนล จำกัด.
Other Titles: The study of Chinese language for communication: a case study of Thai salespersons at King Power International Co., Ltd
Authors: พนิดา เจียมสมัย
Advisors: สืบพงศ์ ช้างบุญชู
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Seubpong.C@Chula.ac.th
Subjects: ภาษาจีน -- การใช้ภาษา
การสื่อสาร
พนักงานขาย
Chinese language -- Usage
Communication
Sales personnel
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการใช้ภาษาจีนของพนักงานขายสินค้า ชาวไทย และเพื่อศึกษาสาเหตุของปัญหาการใช้ภาษาจีนของพนักงานขายสินค้าชาวไทย กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย คือ พนักงานขายสินค้าชาวไทยของบริษัท คิง เพาเวอร์ อินเตอร์เนชันแนล จำกัด จาก 3 แผนก จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ เครื่องบันทึกเสียงการสนทนาภาษาจีน วิธีการดำเนินวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 บันทึกเสียงการสนทนาภาษาจีนระหว่างพนักงานขายสินค้าชาวไทยกับนักท่องเที่ยวจีน ขั้นที่ 2 ศึกษาลักษณะการใช้ภาษาจีนในด้านคำศัพท์ รูปประโยค รวมถึงบทสนทนา ขั้นที่ 3 ศึกษาสาเหตุของปัญหาในการใช้ภาษาจีนของพนักงานขายสินค้าชาวไทย ผลการวิจัยพบว่า โครงสร้างประโยคภาษาจีนของพนักงานสินค้าชาวไทย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1) ประโยคที่ไม่ใช่โครงสร้างประธานภาคแสดง (非主谓句) และ 2) ประโยคโครงสร้างประธานภาคแสดง (主谓句) ลักษณะของการปนภาษาของพนักงานสินค้าชาวไทย พบทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ การปนภาษาอังกฤษจะพบในชื่อสินค้า หรือชื่อประเทศต่างๆ ส่วนการปนภาษาไทยพบคำไทยทั้งหมด 6 ชนิด ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ คือ “คำวิเศษณ์” “คำอุทาน” “คำสรรพนาม” “คำสันธาน” “คำนาม” “คำกริยา” โดยพบคำไทยต่างๆ ที่ปนในบทสนทนาจำนวน 740 ครั้ง สาเหตุของการปนภาษามีผลมาจากอิทธิพลของภาษาแม่ ปัญหาการใช้ภาษาจีนของพนักงานขายสินค้าชาวไทย พบทั้งหมด 4 ประเด็น คือ ปัญหาทักษะการฟัง ปัญหาทักษะการพูด ปัญหาทักษะการอ่าน และ ปัญหาไวยากรณ์ โดยปัญหาไวยากรณ์ แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ “การตกหล่นคำหรือส่วนประกอบของประโยค” “การใช้คำเกิน” “การใช้คำและประโยคไม่เหมาะสม” และ“การเรียงลำดับคำไม่ถูกต้อง”
Other Abstract: The purposes of this research were 1. to study the usage of Chinese language by Thai salespersons. 2. to study the causes of problems with using Chinese language of Thai salespersons. The samples of this study are 12 Thai salespersons from 3 departments of King Power International Co., Ltd. The researcher used the voice recorder as the tool for this research. The research was divided into three steps. The first step was recording the conversation between the Thai salespersons and Chinese tourists. The second step was studying the feature of using the Chinese language in vocabulary, sentence and conversation. The third step was studying the causes of problems with using Chinese of Thai salespersons. The result of this research shows that the Chinese sentence structure used by Thai salespersons can be divided into 2 types: 1) non-subject-predicate sentence 2) subject-predicate sentence. The Thai salespersons’ feature of code mixing is found both in Thai and English language. The code mixing in English is found in form of the product or country names. However, the code mixing in Thai can be divided into “adverb”, “interjection”, “pronoun”, “conjunction”, “noun”, “verb” because it is influenced by being native language. The Chinese communication problems of Thai salespersons include listening, speaking, reading and grammar problems. The grammar problems can be divided into 4 categories that are “the word or component missing in sentence”, “the redundancy in sentence”, “the use of non-proper word and sentence” and “the incorrect word order”.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาจีน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73368
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1045
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1045
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Art_5880135322_Panida Ji.pdf2.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.