Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73918
Title: ผลการตั้งครรภ์ของมารดาที่มีเกณฑ์เสี่ยงภัย ต่อการให้กำเนิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ปี 2534
Other Titles: The risk pregnancy outcome for the low birth weight at Maharaj Nakhonratchasima Hisoital 1991
Authors: สุจินดา ธิติเสรี
Advisors: ทัสสนี นุชประยูร
เติมศรี ชำนิจารกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: น้ำหนักทารกแรกเกิดต่ำ
ภาวะแทรกซ้อนขณะมีครรภ์
Birth weight, Low
Pregnancy -- Complications
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการตั้งครรภ์ของมารดาที่มีเกณฑ์เสี่ยงภัยต่อการให้กำเนิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ปี 2534 โดยนำปัจจัยเสี่ยงของมารดา 10 ปัจจัย มาเข้าสมการคำนวณหาโอกาสที่มารดาจะให้กำเนิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์มารดาหลังคลอดระหว่าง ทย. 2534-มค.2535 จำนวน 1550 คน และติดตามผลการตั้งครรภ์ของมารดาได้แก่ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ทารกพิการแต่กำเนิด ทารกตายคลอด ตายปริกำเนิด และความเจ็บป่วยของทารกในระยะ 7 วันหลังคลอด ผลการวิจัยพบว่า หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 66.7) มีเกณฑ์เสี่ยงภัยที่ระดับต่ำกว่า .35 กลุ่ม หญิงที่มีเกณฑ์เสี่ยงภัยต่ำกว่า .75 พบร้อยละ 98.5 และหญิงตั้งครรภ์ที่มีเกณฑ์เสี่ยงภัยที่ระดับ .75 ขึ้นไป พบเพียงร้อยละ 1.5 ปัจจัยเสี่ยงที่พบมากที่สุดคือ ลำดับการคลอดครรภ์แรกหรือครรภ์ที่ 4 ขึ้นไป (ร้อยละ 68.7) ที่ระดับเกณฑ์เสี่ยงภัย .75 ขึ้นไป ผลการตั้งครรภ์เกี่ยวกับการให้กำเนิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ทารกป่วยในระยะ 7 วัน หลังคลอดมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01 ส่วนการให้กำเนิดทารกพิการแต่กำเนิด ทารกตายปริกำเนิด ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) อุบัติการณ์ของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยเท่ากับ ร้อยละ 9.0 อัตราส่วนของ preterm : ทารกน้ำหนักน้อยกว่าอายุครรภ์ = 1 : 2
Other Abstract: The study of the outcomes of pregnancy by using ten-maternal fators calculating for the probability of high risk low birth weight was carried out in 1550 mothers whose delivery occurred during November 1991 to January 1992 at Maharaj Nakhon ratchasima Hospital. It was found that most of pregnant women have the probability for low birth weight (66.7%) lower than .35. 98.5 percent is lower than .75 and only 1.5 percent has the probability at .75 or more. The risk factors that mostly found among pregnant women is the parity of 1 or > 4 (68.7%). Mothers whose probability for low birth weight at .75 or more, compared to mothers whose probability less than .75 showed statistically significant difference (p 01) in giving birth concerning low birth weight, still birth, illness during the first 7 days of life but for the congenital anormalies, perinatal death. incidence of low birth weight = 9.0% The ratio of Preterm : Small for Gestational Age (at term) = 1 : 2
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ชุมชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73918
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sujinda_th_front_p.pdf962.25 kBAdobe PDFView/Open
Sujinda_th_ch1_p.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Sujinda_th_ch2_p.pdf906.41 kBAdobe PDFView/Open
Sujinda_th_ch3_p.pdf774.69 kBAdobe PDFView/Open
Sujinda_th_ch4_p.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open
Sujinda_th_ch5_p.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Sujinda_th_back_p.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.