Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73959
Title: ปัญหาสัญญาห้ามแข่งขันหรือจำกัดสิทธิในการประกอบอาชีพ
Other Titles: The Problem of Agreement in Restraint of Trade
Authors: สุนันทา วัฒโนทัยวิทย์
Advisors: ไชยยศ เหมะรัชตะ
จรัญ ภักดีธนากุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การจำกัดขอบเขตการค้า
การแข่งขันทางการค้า -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสัญญาประเภทหนึ่ง ที่อาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่สังคมคือ สัญญาห้ามแข่งขันหรือจำกัดสิทธิในการประกอบอาชีพ โดยจำกัดขอบเขตศึกษาเกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งมีผลกระทบต่อการผูกขาดทางการค้า จากการศึกษาพบว่า ความไม่เป็นธรรมอันเกิดจากสัญญาห้ามแข่งขันหรือจำกัดสิทธิในการประกอบอาชีพ มิได้เกิดจากข้อบัญญัติของกฎหมาย หากแต่เกิดจากอำนาจต่อรองที่ไม่เท่าเทียมกันของคู่สัญญา และการยอมรับในทฤษฎีกฎหมายความศักดิ์สิทธิ์ในการแสดงเจตนา การแก้ปัญหาดังกล่าว ไม่ใช่การจำกัดสัญญานี้ออกไป หรือไม่ยอมรับทฤษฎีกฎหมายดังกล่าว แต่ควรที่รัฐโดยศาลยุติธรรม จะต้องเข้ามาแทรกแซงในระดับหนึ่ง เพื่อให้สัญญาเกิดความเป็นธรรมทั้งต่อตัวคู่สัญญาและความสงบเรียบร้อยของสังคม หลักกฎหมาย RESTRAINT OF TRADE ของประเทศอังกฤษ มีหลักเกณฑ์สำคัญ คือ สัญญาห้ามแข่งขันหรือจำกัดสิทธิในการประกอบอาชีพ ไม่ว่าจะกำหนดข้อห้ามเพียงบางส่วน หรือกำหนดไว้กว้าง ๆ ก็ตาม ถือว่าขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และตกเป็นโมฆะ ในเบื้องต้น สัญญาดังกล่าวอาจจะสมบูรณ์ได้ ถ้าเป็นธรรมทั้งคู่สัญญา และประโยชน์สาธารณะ ข้อกำหนดห้ามที่จะถือว่าเป็นธรรมนั้น ต้องไม่เป็นข้อห้ามที่เกินกว่าความจำเป็น ในอันที่จะคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้รับสัญญากล่าวคือข้อกำหนดในท้องที่และเวลาที่ห้ามประกอบกิจการแข่งขันนั้น ต้องไม่กว้างหรือแคบเกินไป หลักเกณฑ์ดังกล่าว มีความคล้ายคลึงกับคำพิพากษาของศาลไทย ซึ่งจะพิจารณาถึงหลักความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนเป็นสำคัญ และเป็นการยากที่จะกำหนดขอบเขตความหมายของความสงบเรียบร้อยของประชาชนได้ จึงทำให้หลักเกณฑ์เรื่องสัญญาห้ามแข่งขันหรือจำกัดสิทธิในการประกอบอาชีพ เป็นหลักกว้าง ๆ มีความยืดหยุ่น และเปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัย กำหนดให้ศาลเป็นผู้จำเป็นในการคุ้มครองประโยชน์ของนายจ้าง จนเป็นการตัดหนทางการประกอบอาชีพของลูกจ้าง ข้อเท็จจริงที่นำสืบ และการพิเคราะห์ของศาล จึงเป็นสิ่งสำคัญต่อความชอบธรรมของสัญญา อย่างไรก็ตาม กระทรวงยุติธรรม กำลังร่างพระราชบัญญัติฉบับหนึ่ง ว่าด้วยสัญญาที่ไม่เป็นธรรม เพื่อให้สัญญาบางประเภท เช่น สัญญามาตรฐาน หรือสัญญาที่คู่สัญญามีอำนาจต่อรองไม่เท่าเทียมกัน เป็นต้น มีความพอเหมาะพอควรในแต่ละกรณี ซึ่งถ้าร่างพระราชบัญญัตินี้ มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายแล้ว จะเป็นการวางแนวแก่ศาลว่า อย่างไรเป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีต่อไป
Other Abstract: The purpose of this is to acknowledge one type of agreement that may cause problem to society, that is the agreement in restraint of trade between employer-employees. The agreement in restraint of trade has an impact on and is considerably a monopoly. According to the study, the bargaining strength in society between both parties and the Principle of Authority of the Will cause the trade restriction’s problem, rather than a written law itself. However, to void the agreement or to reject the Principle of Authority is not an answer to the problem. Rather, the Justice Court should play its role in order to make an agreement reasonable to both parties and to an orderly society. In other word, in order to put an agreement into practice, the government must emphasize on the public policy. Speaking interms of Law; The main emphasis on restraint of trade in England is; the agreement is void when there is an agreement or any indication in restraining trade. It is against the public policy. However, an agreement can be binding if it’s reasonable to both parties, and it must not against the public interest. The restraint of trade is reasonable when the restriction is not over do in order to protect the benefit of the covenantee. In other words. The restriction in terms of time and place must not too general or too narrow. The above decision is quite similar to the court’s decision in Thailand, that is we emphasize more on the public policy. Sometimes, it’s difficult to define the meaning of public policy, therefore, we do not have a definite law in restraint of trade. It is flexible, changes from times to times, and is considered case by case according with the evidence of facts. However, this must not over exercise to protect the employer’s benefits. Therefore, the reasonable decision of court should mainly rise out of the evidence of facts. The rules for court’s decision on an unreasonable trade agreement have been working on by the Justice Courts. These are to make it systematic and to come up with suitable and reasonable solutions to both parties.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73959
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sunanta_wa_front_p.pdf985.72 kBAdobe PDFView/Open
Sunanta_wa_ch0_p.pdf761.33 kBAdobe PDFView/Open
Sunanta_wa_ch1_p.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open
Sunanta_wa_ch2_p.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open
Sunanta_wa_ch3_p.pdf3.39 MBAdobe PDFView/Open
Sunanta_wa_ch4_p.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Sunanta_wa_ch5_p.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Sunanta_wa_back_p.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.