Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74277
Title: | การออกแบบเส้นทางการเดินรถขนส่งสำหรับตัวแทนจำหน่ายโลหะบัดกรีและลวดเชื่อมประสาน |
Other Titles: | Vehicle Routing Design for a Solder and Brazing Alloy Distributor |
Authors: | นรีทิพย์ อติคุณธำรง |
Advisors: | พิศิษฎ์ จารุมณีโรจน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Pisit.Ja@Chula.ac.th |
Subjects: | การขนส่งสินค้า ปัญหาการจัดเส้นทางเดินรถ ปัญหาการเดินทางของพนักงานขาย Commercial products -- Transportation Vehicle routing problem Traveling salesman problem |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการพัฒนาสร้างตัวแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อใช้ในการช่วยออกแบบเส้นทางการเดินรถขนส่งสำหรับบริษัทตัวแทนจำหน่ายโลหะบัดกรีและลวดเชื่อมประสานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยอ้างอิงจากรูปแบบปัญหา Capacitated Vehicle Routing Problem (CVRP) ปัจจุบันบริษัทดังกล่าวมีนโยบายการเดินรถขนส่งแบบตายตัว ซึ่งง่ายต่อจัดการ หากแต่ขาดความยืดหยุ่นในการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าที่แปรเปลี่ยนไปในแต่ละวัน ส่งผลทำให้บริษัทจำเป็นต้องจ้างรถ Outsource และจ้างพนักงานในการทำงานล่วงเวลาเป็นจำนวนมาก ผู้วิจัยได้ทำการแบ่งการสร้างตัวแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ตัวแบบ Travelling Salesman Problem (TSP) ในการออกแบบเส้นทางการเดินรถที่ไม่ขัดแย้งกับนโยบายของบริษัท และ ตัวแบบ Capacitated Vehicle Routing Problem (CVRP) ในการออกแบบเส้นทางการเดินรถโดยไม่คำนึงถึงนโยบายของบริษัท ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้ระหว่างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ถูกสร้างขึ้น และการดำเนินงานในอดีตเป็นเวลา 35 วัน ผู้วิจัยพบว่า แผนการเดินรถขนส่งจากแบบจำลอง TSP สามารถลดต้นทุนการเดินรถของบริษัทลงได้ประมาณ 4% ในขณะที่แผนการเดินรถขนส่งจากแบบจำลอง VRP สามารถลดต้นทุนการเดินรถได้มากถึง 28% |
Other Abstract: | This research focuses on the development of a mathematical model for vehicle routing design of a solder and brazing alloy distributor based on the Capacitated Vehicle Routing Problem (CVRP). While the fixed route policy currently deployed is relatively easy to manage it, however, lacks flexibility and responsiveness to customer demands that vary from day to day. As a result, the company needs to outsource part of its incoming delivery orders and pays for unnecessary overtimes due to such inefficient route planning. We divide the development of this model in a 2-phase setting. In the first phase, Travelling Salesman Problem (TSP) is adopted to identify routing plan that follows the company's current policy. Later, the Capacitated Vehicle Routing Problem (CVRP) is applied to design routing plan that violates the company's current policy. Based on our experimental results, using previous historical data of 35 days, we find that the plan provided by the Travelling Salesman Problem (TSP) can reduce the total cost by 4%, while the plan provided by the Capacitated Vehicle Routing Problem (CVRP) can potentially reduce transportation cost up to 28% |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74277 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1315 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2018.1315 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
En_6070930821_Nareetip At.pdf | 2.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.