Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74301
Title: | ผลของการใช้ระบบพี่เลี้ยงในโปรแกรมปฐมนิเทศที่มีต่อความรู้ทัศนคติและทักษะในการปฏิบัติการพยาบาล ของพยาบาลสำเร็จใหม่ |
Other Titles: | Effects of using perceptorship in the orientation program towards knowledge, attitudes, and skills for nursing practice of new graduate nurses |
Authors: | บุญเฉลา สุริยวรรณ |
Advisors: | พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | พยาบาล -- ไทย พยาบาล -- ปฐมนิเทศ การปรับพฤติกรรม การพัฒนาบุคลากร Nurses -- Thailand Nurses -- Orientation Behavior modification |
Issue Date: | 2533 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโปรแกรมปฐมนิเทศตามระบบพี่เลี้ยงสำหรับพยาบาลสำเร็จใหม่ และเพื่อศึกษาผลของการใช้ระบบที่เลี้ยงในโปรแกรมปฐมนิเทศ ที่มีต่อความรู้ ทัศนคติ และทักษะในการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลสำเร็จใหม่ ตัวอย่างประชากร คือ พยาบาลวิชาชีพสำเร็จใหม่ 22 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 11 คน กลุ่มควบคุม 11 คน ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ได้จัดสร้างโปรแกรมปฐมนิเทศตามระบบพี่เลี้ยงสำหรับพยาบาลสำเร็จใหม่ ของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่และทดสอบประสิทธิภาพแล้ว 2. ผลจากการนำโปรแกรมปฐมนิเทศตามระบบพี่เลี้ยงไปใช้ในการทดลองโดยเปรียบเทียบ กับวิธีการเดิมพบว่า 2.1 ผลต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนร้อยละก่อนกับหลังการทดลอง ในด้านความรู้ ทัศนคติและทักษะของพยาบาลสำเร็จใหม่ ในกลุ่มทดลองเพิ่มมากกว่ากลุ่มควบคุม โดยเฉพาะด้านทักษะเพิ่มสูงที่สุด 2.2 เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยในกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม ทั้งก่อนและหลังการทดลองพบว่า คะแนนความรู้ ทัศนคติ และทักษะของพยาบาลสำเร็จใหม่ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 05 แสดงว่า การใช้ระบบพี่เลี้ยงและวิธีการเติมในโปรแกรมปฐมนิเทศ ทำให้พยาบาลสำเร็จใหม่มีความรู้ ทัศนคติ และทักษะในการปฏิบัติการพยาบาลไม่แตกต่างกัน 2.3 เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลอง ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า คะแนนความรู้และทัศนคติของพยาบาลสำเร็จใหม่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 05 แต่ค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะแตกต่างกัน นั้นคือ ระบบพี่เลี้ยงและวิธีการเดิมในโปรแกรมปฐมนิเทศ ทำให้พยาบาลสำเร็จใหม่มีทักษะเพิ่มขึ้นได้ |
Other Abstract: | This research was a two group pretest-posttest designed to develop the orientation program for new graduate nurses using preceptorship concept and to study knowledge, attitudes, and skills in nursing practice. of new graduate nurses. Twenty-two new professional nurses were selected as the sample that was devided into the experiment and control group. The major finding were. 1. The preceptorship orientation program for new graduate nurses of Maharajnakornchiangmai hospital was developed and tested for effectiveness 2. The effects of the implementation of preceptorship orientation program and the conventional orientation program were: 2.1 The percentage of increasing mean score of pretest and posttest on new graduated nurses' knowledge, attitudes, and skills were differ in both experiment and control group. However, the percentage of those score specifically on skills indicated the highest one and the total score of experiment group increased more than of control group. 2.2 The comparison of control and experiment group in both pretest and posttest on new graduate nurses' knowledge, attitudes and skills indicated no statistically significant differences at .05 level. This result showed that there were not different on new graduate nurses' knowledge, attitudes, and skills in implementing of preceptorships and conventional program. 2.3 The comparison of pretest and posttest in both experiment and controlgroup on new graduate nurses 'knowledge and attitudes indicated that no statistically significant different at .05 level and it also showed the different at .05 significant level on skills. This study showed that both preceptorship and conventional orientation program were effective in increasing of new graduate nurses' skills. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบริหารการพยาบาล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74301 |
ISBN: | 9745781932 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Boonchalao_su_front_p.pdf | 997.38 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonchalao_su_ch1_p.pdf | 1.31 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonchalao_su_ch2_p.pdf | 4.94 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonchalao_su_ch3_p.pdf | 1.76 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonchalao_su_ch4_p.pdf | 1.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonchalao_su_ch5_p.pdf | 1.61 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonchalao_su_back_p.pdf | 5.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.