Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74367
Title: การวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะและศึกษาวิธีขึ้นรูปเฟอร์ไรท์ สำหรับผลิตดิเฟล็คชันโยค
Other Titles: Characterization and forming study of ferrite for deflection yoke production
Authors: สุทธิสาร อนันตรัตนชัย
Advisors: จรัสศรี ลอประยูร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ดิเฟล็คชันโยค
เฟอร์ไรท์
แม่พิมพ์ (เครื่องเคลือบดินเผา)
Issue Date: 2537
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การตรวจคุณลักษณะของดิเฟล็คชันโยคจากท้องตลาดด้วยวิธีเอ็กซเรย์ฟลูออเรสเซนส์และเอ็กซเรย์ดิฟแฟลกชัน พบว่าดิเฟล็คชันโยคเป็นเฟอร์ไรท์ชนิดซิงค์ แมกนีเซียม เหล็กออกไซด์ (Zinc-magnesium-iron oxide solid solutions) ซึ่งมีโครงสร้างแบบสปิเนลโครงสร้างจุลภาคซึ่งศึกษาด้วยเครื่องอิเล็คตรอนไมโครสโคป ประกอบด้วยเกรนขนาด 2-100 ไมโครเมตร มีโพรงอากาศที่ภายในและที่ขอบเกรน การศึกษาเทคโนโลยีการขึ้นรูปดิเฟล็คชันโยคได้อาศัยข้อมูลดังกล่าวนี้ โดยผสมออกไซต์ให้มีสัดส่วนใกล้เคียงกับส่วนประกอบทางเคมีของดิเฟล็คชันโยค นำมาแคลไซน์ บดย่อย แล้วเตรียมแกรนูลโดยผสมตัวประสานเป็นสารเคมีที่ช่วยในการอัด การศึกษาอิทธิพลของตัวประสานและแรงอัดที่มีผลต่อชิ้นงานนั้น พบว่าชิ้นงานที่มีความหนาแน่นสูงสุดและมีความแข็งแรงสูงสุดได้จากการผสมตัวประสาน 2.4 % และอัดด้วยแรง 2.0 ตัน/ช.ม.² ภายหลังจากการซินเตอร์ที่ 1300 องศาเซลเซียส พบว่าชิ้นงานมีความหนาแน่นถึง 95 % ของทฤษฎี และมีลักษณะโครงสร้างจุลภาคคล้ายกับของผลิตภัณฑ์ในท้องตลาด ต่อมาได้ทำดิเฟล็คชันโยคโดยใช้เทคโนโลยีอย่างเดียงกัน เลือกใช้ตัวประสาน 2.4 % แรงอัด 0.8 ตัน/ซ.ม.² ภายหลังจากการซินเตอร์ที่ 1330 องศาเซลเซียส พบว่าให้ความหนาแน่น 97.8 % ทองทฤษฎี และมีโครงสร้างจุลภาคคล้ายกับผลิตภัณฑ์ในท้องตลาด
Other Abstract: Investigation of commercial deflection yokes by x-ray fluorescence and x-ray diffraction indicated that they were zine-magnesium-iron oxide solid solutions with spinel structure. Microstructural analysis by observing through a scanning electron microscope showed grain size ranging from 2 to 100 cm with both inter and intra-granular pores. Based on these results, the technological aspects of deflection yoke fabrication processing were studied by preparation of starting material having approximately the same chemical composition, calcination, grinding and granulation prior to pressing. Effects of pressing aids and different punch pressures were carried out to determine the optimum condition. It was found that specimen having 2.4 % of pressing aid with 2.0 ton/cm² of punch pressure yielded highest green density and strength. After sintering at 1300°C, these specimen had 95 % theoretical density and microstructures similar to the commercial yokes. A deflection yoke was then produced using the same technology by selecting 2.4 % of the pressing aid with 0.8 ton/cm² of punch pressure. After sintering at 1330°C, this deflection yoke had 97.8 % theoretical density with a microstructure similar to commercial yokes.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74367
ISSN: 9745848301
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suttisan_an_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.06 MBAdobe PDFView/Open
Suttisan_an_ch1_p.pdfบทที่ 1841.04 kBAdobe PDFView/Open
Suttisan_an_ch2_p.pdfบทที่ 21.68 MBAdobe PDFView/Open
Suttisan_an_ch3_p.pdfบทที่ 3910.67 kBAdobe PDFView/Open
Suttisan_an_ch4_p.pdfบทที่ 41.5 MBAdobe PDFView/Open
Suttisan_an_ch5_p.pdfบทที่ 53.55 MBAdobe PDFView/Open
Suttisan_an_ch6_p.pdfบทที่ 6659.97 kBAdobe PDFView/Open
Suttisan_an_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก3.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.