Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74513
Title: คำลงท้ายในภาษาถิ่นขอนแก่น
Other Titles: Final particles in the Khon Kaen dialect
Authors: อุดม ประมะคัง
Advisors: นววรรณ พันธุเมธา
ดุษฎีพร ชำนิโรคศานต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ภาษาไทยถิ่นอีสาน
ภาษาไทย -- ภาษาถิ่น
ภาษาไทย -- ไวยากรณ์
Thai language -- Dialects
Thai language -- Grammar
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ประการแรกเพื่อศึกษาลักษณะทางเสียงและโครงสร้างพยางค์ของคำลงท้ายในภาษาถิ่นขอนแก่น ประการที่ 2 เพื่อศึกษาการใช้คำลงท้ายในภาษาถิ่นขอนแก่น และประการที่ 3 เพื่อศึกษาคำลงท้ายที่ใช้ร่วมกันในประโยค ข้อมูลที่นำมาศึกษาเก็บรวบรวมจากภาษาพูดที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การศึกษาลักษณะทางเสียงของคำลงท้ายในภาษาถิ่นขอนแก่นพบว่า ระดับเสียงสูงต่ำของคำลงท้ายในภาษาถิ่นขอนแก่นมี 7 เสียง คือ เสียงต่ำระดับ เสียงกลางระดับ เสียงสูงระดับเสียงต่ำ-ขึ้น เสียงต่ำ-ตก เสียงกลาง-ตก เสียงสูง-ระดับ-ตก ส่วนโครงสร้างพยางค์ของคำลงท้ายพบว่ามี 20 แบบ และ 7 แบบต่างจากโครงสร้างพยางค์ของค่าปรกติ การศึกษาการใช้คำลงท้ายในภาษาถิ่นขอนแก่นได้ศึกษาการใช้คำลงท้ายในประโยค 6 ชนิด คือประโยคแจ้งให้ทราบที่มีเนื้อความรับรอง ประโยคแจ้งให้ทราบที่มีเนื้อความปฏิเสธ ประโยคบอกให้ทำที่มีเนื้อความรับรอง ประโยคบอกให้ทำที่มีเนื้อความปฏิเสธ ประโยคถามให้ตอบที่มีเนื้อความรับรอง ประโยคถามให้ตอบที่มีเนื้อความปฏิเสธ ผลการศึกษาทำให้แบ่งคำลงท้ายได้ 2 กลุ่มใหญ่ คือคำลงท้ายที่แสดงเจตนาและคำลงท้ายที่แสดงสถานภาพ และในกลุ่มค่าลงท้ายที่แสดงเจตนาแบ่งย่อยได้อีก 12 กลุ่ม การศึกษาคำลงท้ายที่ใช้ร่วมกันในประโยค พบว่า คำลงท้ายที่ใช้ร่วมกันได้มีจำนวนจำกัด และมีตำแหน่งปรากฎร่วมกันที่แน่นอน การใช้ค่าลงท้ายร่วมกันในประโยค กำหนดโดยคำที่นำหน้าส่วนความหมายจะแสดงความหมายร่วมกัน
Other Abstract: The objective of this study is threefold. First, it investigates phonetic characteristics and syllable structures of final particles in the Khon Kaen dialect. Secondly, it studies usage of these final particles. And thirdly, it studies the final particles that co-occur in a sentence. The data in this study came from everyday speech. The results of the study are as follows. The study shows that seven pitch patterns occur on the final particles in the Khon Kaen dialect: low-level, mid-level, high-level, low-rising, low-falling, mid-falling, and hight-delayed-falling. The final particles in the Khon Kaen dialect are found to have twenty possible syllable structures, seven of which differ from those of the other types of words in the dialect. The study investigates the occurrence of final particles in 6 types of sentences: affirmative informative sentences, negative informative sentences, affirmative imperative sentences, negative imperative sentences, affirmative interrogative sentences, and negative interrogative sentences. The final particles may be divided into two main groups: those indicating intention and those indicating status. The former may be subdivided into 12 groups. The study shows that only a few final particles can co-occur in a sentence, and their positions are fixed. Syntax is controlled by the preceding words, while meaning is derived from the meaning of the particles involved.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74513
ISBN: 9745760226
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Udom_pr_front_p.pdf893.35 kBAdobe PDFView/Open
Udom_pr_ch1_p.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open
Udom_pr_ch2_p.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Udom_pr_ch3_p.pdf2.2 MBAdobe PDFView/Open
Udom_pr_ch4_p.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Udom_pr_ch5_p.pdf875.96 kBAdobe PDFView/Open
Udom_pr_back_p.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.