Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74786
Title: การศึกษารูปแบบวิวัฒนาการและแนวโน้มการใช้ที่ดินเขตดุสิต
Other Titles: Study of formas, evolution, and trends of landuse in Dusit district
Authors: อิศรา ทองธวัช
Advisors: คมสัน ศุขสุเมฆ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การใช้ที่ดิน -- ไทย -- กรุงเทพฯ
การใช้ที่ดินในเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ
ดุสิต (กรุงเทพฯ)
Land use -- Thailand -- Dusit
Land use, Urban -- Thailand -- Dusit
Dusit (Bangkok)
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงวิวัฒนาการการใช้ที่ดิน สภาพปัจจุบัน รูปแบบการใช้ที่ดิน และแนวโน้มการใช้ที่ดินในเขตดุสิต ผลจากการศึกษาพบว่า ดุสิตเริ่มมีสภาพเป็นเมืองเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าให้ก่อสร้างพระราชวังดุสิตทางด้านเหนือของพระนคร จากนั้นจึงเป็นที่อยู่อาศัยของพระราชวงศ์ และข้าราชบริพาร แบบบ้านชานเมือง (Aristocratic Suburb) ชุมชนจะขยายตัวจากด้านทิศใต้ของเขตไปยังทิศเหนือ จากวิวัฒนาการอันยาวนาน เขตดุสิตมีสิ่งที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์มากมาย และดุสิตมีบทบาทเป็นที่อยู่อาศัยมาโดยตลอด ใบระยะหลังพระราชวังบางส่วนและวังของเจ้านายบางพระองค์ ได้เปลี่ยนการถือครองมาเป็นของราชการ และสำนักทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ปัจจุบันมีการใช้ที่ดินเพื่ออยู่อาศัยร้อยละ 40 และสถานที่ราชการร้อยละ 24 ของเนื้อที่เขต ในด้านรูปแบบพบว่า ชุมชนโดยเฉพาะที่มีอายุการตั้งถิ่นฐานมานานจะยังคงมีชีวิตความเป็นอยู่ มีลักษณะความสัมพันธ์แบบบ้านใกล้เรือนเคียง (Neighborhood) เมื่อพิจารณาองค์ประกอบด้านต่าง ๆ สามารถแบ่งพื้นที่เขตดุสิตตามลักษณะเฉพาะได้ 7 พื้นที่ คือ ดุสิต มหานาคริมแม่น้ำ บางซ่อน ประชาชื่น สถาบันทหาร และสถาบันด้านทิศใต้ และพบว่าพื้นที่ดุสิตที่เป็นที่อยู่แบบบ้านมีบริเวณ กับพื้นที่ประชาชื่นมีสภาพทางกายภาพดีกว่าพื้นที่อื่น โดยเฉพาะแง่ของการอยู่อาศัย ในขณะที่พื้นที่บางซ่อนและพื้นที่ริมแม่น้ำ ด้านบนมีสภาพความทรุดโทรมของอาคารและความขาดแคลนสาธารณูปโภคสาธารณูปการ สำหรับแนวโน้มการใช้ที่ดินในอนาคตของเขตดุสิต การศึกษาครั้งนี้ได้วิเคราะห์พื้นที่เขตออกเป็น 4 ระดับ คือ พื้นที่สงวน ได้แก่ พื้นที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ สถาบันต่าง ๆ พื้นที่ที่เหมาะสมหรือดีอยู่แล้วพื้นที่ที่ควรปรับปรุงแก้ไข และพื้นที่ที่ควรเปลี่ยนแปลงหรือลดบทบาท และได้เสนอแนะแนวทางการพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดินดังต่อไปนี้คือ กำหนดให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ 3 บริเวณ เสริมสร้างภูมิทัศน์ชุมชนในลักษณะต่าง ๆ 6 ประการ ควรปรับปรงชุมชนพักอาศัยที่ทรุดโทรม 12 บริเวณ เปลี่ยนแปลงหรือลดกิจกรรมในพื้นที่ 16 บริเวณ ปรับปรุงโครงข่ายถนนให้มีขนาดความสัมพันธ์ลดหลั่นกันเป็นลำดับ มีการเชื่อมโยงระหว่างระบบขนส่งมวลชนต่าง ๆ และควบคุมการจอดรถในบางพื้นที่
Other Abstract: The Objectives of the thesis to study evolution, existing situation forms and trend of the land use in Dusit district. The study revealed that the urbanization of Dusit district was started from the mid of Ratanakosin period when the Dusit Palace was built in the north suburb of Bangkok under the reign of King Chulalongkorn. From then the district became an Aristocratic suburb where palaces, manors and houses of his Royal kinships, aristocrates are located. Development of Dusit district moved upward from the southern area (Mahanak) up to the north. With the influence of the evolution. Dusit, upto present, have long been utilized as the city's residential area. Later, government institutes especially military. have replaced those palaces and manors where most to the right of ownership of land belong to the government or the Crown property Burau. At present, 40 percent of the land area of Dusit district is being used for residential purpose while 24 percent is for institutional use. The study also found that, with its long, evolution in many settlements "neighbourhood" atmosphere can still be sensed. From analysis the district be defined identifiable characteristics into 7 areas namely, Dusit, Mahanak, River Front, Bang Son, Prachachun, Millitary Institution, and the Institution at southern area. These areas ranking from "Dusit" and "Phachachun" where the physical quality are most satisfying to "Bang Son" and "Upper River Front" where the building and environment are deteriorating and social service are insufficient. From the analysis of the land use trend, Dusit district can be categorized into 4 levels as follows -areas of historical value where physical will be kept untouched. - areas where the functional uses of land are of practical use only minor supplement measures need to be added. - areas where the functional uses of land may need to be reviewed and redeveloped. - areas where the functional uses must be discouraged or terminated Measures corresponding to the above areas are also outlined i.e.3 specific areas of historical value are recommended to be reserved, 6 areas where landscape beautification are needed, 12 residential areas are recommended for upgrading, 16 areas are earmarked for termination of their functional, development pattern and heirachy of transport networks are conceptually outlined.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาคและเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74786
ISBN: 9745769045
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Isara_th_front_p.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Isara_th_ch1_p.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Isara_th_ch2_p.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open
Isara_th_ch3_p.pdf10.67 MBAdobe PDFView/Open
Isara_th_ch4_p.pdf5.95 MBAdobe PDFView/Open
Isara_th_ch5_p.pdf10.48 MBAdobe PDFView/Open
Isara_th_ch6_p.pdf2.84 MBAdobe PDFView/Open
Isara_th_back_p.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.