Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74960
Title: เสถียรภาพและความสูงวิกฤตบริเวณพื้นที่ปรับปรุงท่าเรือสงขลา
Other Titles: Stability and critical height at the reclamation area of Songkhla port
Authors: สุรศักดิ์ พิมพะสิงห์
Advisors: สุรพล จิวาลักษณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การอัดตัวคายน้ำของดิน
ดินเหนียว -- การทดสอบ
ท่าเรือน้ำลึกสงขลา
Soil consolidation
Clay -- Testing
Songkhla port
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาพฤติกรรมของเสถียรภาพและการทรุดตัวของบริเวณพื้นที่ก่อสร้างโดยการถมพื้นที่ชายฝั่งทะเลด้วยวิธีไฮโดรลิกฟิวบนพื้นชั้นดินที่รองรับซึ่งมีดินซึ่งมีดินเหนียวอ่อนสลับกับทราย วิธีการตรวจสอบพฤติกรรม ทำโดยติดตั้งเครื่องมือทางธรณีเทคนิคประกอบด้วย แผ่นวัดการทรุดตัวพิโซมิเตอร์ อินคลีโนมิเตอร์และเอกเทนโซมิเตอร์ ผลการวิเคราะห์เสถียรภาพโดยวิธี Translational Failure Analysis ให้ตัวประกอบปลอดภัยที่ต่ำกว่า อย่างไรก็ตามจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากอินคลีโนมิเตอร์แสดงให้เห็นว่าการเคลื่อนตัวของเขื่อนเป็นแบบหมุน การศึกษาพฤติกรรมของพื้นที่ปรับปรุงโดยเปรียบเทียบผลจากข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือทางธรณีเทคนิคกับการคำนวณทางทฤษฎีการยุบอัดตัวคายน้ำแบบหนึ่งมิติ ค่าของการทรุดตัวที่วิเคราะห์ได้มีค่าน้อยกว่าจากข้อมูลในสนามประมาณ 25% การวัดการเคลื่อนตัวด้านข้างโดยอินคลีโนมิเตอร์จะพบว่าชั้นดินเหนียวชั้นที่สองและสามมีการเคลื่อนตัวด้านข้างไปทางเดียวกันตลอดเวลา อัตราการเคลื่อนตัวด้านข้างที่กึ่งกลางของดินทั้งสองชั้นมีค่าลดลงกับเวลาซึ่งแสดงว่าการเคลื่อนตัวด้านข้างของดินทั้งสองชั้นยังอยู่ในพิกัดของน้ำหนักกระทำจากการถม ค่าน้ำหนักกดทับสูงสุดจากการวิเคราะห์ โดยวิธี Slip Circle ได้ค่าน้ำหนักบรรทุก 20 ตัน/ม2 ซึ่งเทียบเท่ากับความสูงวิกฤตของทรายถม ±14.11 ม. จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
Other Abstract: This research is to study the behavior of the stability and settlement of the reclaimed land. The hydraulics fill method is used to construct on the stratum of soft to very soft clay, medium sand, medium clay and trace of sand seams respectively. To observed the behavior of the reclaimed land, the geotechnical instruments were installed: settlement plate, piezometer inclinometer and extensometer. The stability analysis is worked out by using slip circle method and translational failure method. The result from calculation showed that the failure of slope stability conformed to the translational failure method. However result from the inclinometer showed that the lateral movement conformed to the slip circle method. The value of the result from settlement plate is higher than the theoretical calculation about 25%. The inclinometer indicated that clay the second and the third layer, continue movement outward the reclamation during the period of observing. The rate of lateral movement at the middle of clay the second and the third layer is decrease with time which show that the lateral movement is in the limit of loading. The maximum surcharge calculated from slip circle method is 20 T/m2 which is equivalent to the critical height of +14.11 w from MSL.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปฐพีวิศวกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74960
ISBN: 9745769525
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surasak_pi_front_p.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Surasak_pi_ch1_p.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Surasak_pi_ch2_p.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open
Surasak_pi_ch3_p.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open
Surasak_pi_ch4_p.pdf4.54 MBAdobe PDFView/Open
Surasak_pi_ch5_p.pdf680.51 kBAdobe PDFView/Open
Surasak_pi_back_p.pdf8.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.