Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74977
Title: ผลของการกำหนด ความหนัก และระยะเวลาที่แตกต่างกันในการออกกำลังกาย ที่มีต่อการจับออกซิเจนสูงสุด
Other Titles: Effects of different intensity and duration of exercise on maximum oxygen uptake
Authors: สบสันติ์ มหานิยม
Advisors: เฉลิม ชัยวัชราภรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: cchalerma@loxinfo.co.th
Subjects: การออกกำลังกาย
การใช้ออกซิเจน (สรีรวิทยา)
Exercise
Oxygen consumption ‪(Physiology)‬
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความแตกต่างของสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด อันเนื่องมาจากการกำหนดระดับความหนักของงาน และระยะเวลาการฝึกที่แตกต่างกันกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนิสิตชาย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อายุ 18-22 ปี อาสาสมัครเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 18 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มทำการฝึกออกกำลังกายเป็นเวลา 8 สัปดาห์โดยใช้จักรยานวัดงาน ฝึกตามโปรแกรมการฝึกเฉพาะกลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 ให้ความหนักของงาน 50% ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดฝึก 5 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน กลุ่มที่ 2 ให้ความหนักของงาน 50% ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดฝึก 15 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน กลุ่มที่ 3 ให้ความหนักของงาน 80% ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดฝึก 5 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน] กลุ่มที่ 4 ให้ความหนักของงาน 80% ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดฝึก 15 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุดก่อนการฝึกและหลังการฝึกออกกำลังกาย กลุ่มทดลองทั้ง 4 มีสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุดหลังฝึกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ. 05 2. สมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุดหลังฝึกออกลังกาย กลุ่มทดลองทั้ง 4 กลุ่ม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ. 05 คือ กลุ่มที่ 4 มีสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุดเพิ่มขึ้นแตกต่าง จากกลุ่มทดลองที่ 1, 2 และ 3 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 กลุ่มที่ 1,2 และ 3 มีสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: This research was aimed to study and compare the difference on body ability to maximize the oxygen uptake due to the intensity and duration which assigned to the body responsibility at different levels. Eighty-eight male students of Chulalongkorn University, whose ages were ranged from 18 to 22 years old, were the subjects for this research. The students were classified into 4 groups to be trained in 8-weeks program by using bicycle ergometer as the experimenting tool. The training programs were as follows: Group 1 was trained for 5 minutes on the duration, with the 50 of the maximum heart rate on the intensity and trained 3 days a week on the frequency programme. Group 2 was trained for 15 minutes on the duration, with the 50 of the maximum heart rate on the intensity and trained 3 days a week on the frequency programme. Group 3 was trained for 5 minutes on the duration, with the 80 of the maximum heart rate on the intensity and trained 3 days a week on the frequency programme. Group 4 was trained for 15 minutes on the duration, with the 80 of the maximum heart rate on the intensity and trained 3 days a week on the frequency programme. The finding of this research were summarized as follows: 1. All the 4 groups had the maximum oxygen uptake increased on the post-test with the significant difference at the level of .05. 2. There was significant difference among those 4 groups in the maximum oxygen uptake on the post-test at the level of .05.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74977
ISBN: 9745689696
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sobsun_ma_front_p.pdf898.37 kBAdobe PDFView/Open
Sobsun_ma_ch1_p.pdf774.75 kBAdobe PDFView/Open
Sobsun_ma_ch2_p.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Sobsun_ma_ch3_p.pdf766.51 kBAdobe PDFView/Open
Sobsun_ma_ch4_p.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open
Sobsun_ma_ch5_p.pdf913.42 kBAdobe PDFView/Open
Sobsun_ma_back_p.pdf1.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.