Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7506
Title: | ความร่วมมือระหว่างประเทศ โลกาภิบาล กับ โรคระบาดในยุคโลกาภิวัตน์ : ศึกษากรณีโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (ซาร์ส) ช่วงปี พ.ศ. 2545-2546 |
Other Titles: | International cooperation, global governance and the epidemics in the age of globalization: a case study of severe acute respiratory syndrome (SARS) in 2002-2003 |
Authors: | กนกพร สังวรประเสริฐ |
Advisors: | วีระ สมบูรณ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | โรคระบาด -- การป้องกันและควบคุม -- ความร่วมมือระหว่างประเทศ โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความร่วมมือระหว่างประเทศ และบทบาทของโลกาภิบาลในการแก้ไขปัญหาโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือ โรคซาร์ส ซึ่งแพร่ระบาดในช่วงปี พ.ศ. 2545-2546 โดยเน้นศึกษาสาเหตุที่ทำให้รัฐต่างๆ หันมาร่วมมือกันแก้ไขปัญหาดังกล่าว และศึกษาบทบาทขององค์การอนามัยโลกในฐานะที่เป็นโลกาภิบาลด้านสาธารณสุขที่มีต่อการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่า รัฐต่างๆ จำเป็นต้องให้ความร่วมมือกันในอันที่จะแก้ไขปัญหาโรคซาร์ส เนื่องจากโรคซาร์สถือเป็นโรคระบาดในยุคโลกาภิวัฒน์ที่เป็นภัยคุกคามอย่างร้ายแรง และส่งผลกระทบอย่างมาก ต่อความมั่นคงของรัฐต่างๆ ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมจิตวิทยา โดยรูปแบบของความร่วมมือที่เกิดขึ้นก็มีทั้งความร่วมมือในระดับทวิภาคี และพหุภาคี ซึ่งผลที่ได้จากความร่วมมือนั้นมีมากมายหลายประการ อย่างไรก็ตาม เพียงแค่ความร่วมมือระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นนี้ยังไม่สามารถทำให้การแก้ไขปัญหาดังกล่าวบรรลุผลสำเร็จได้ภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว หากปราศจากความช่วยเหลือขององค์การอนามัยโลก ในฐานะที่เป็นโลกาภิบาลด้านสาธารณสุข โดยองค์การอนามัยโลกได้เข้าไปมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาโรคซาร์สที่เกิดขึ้นในหลายๆ ด้าน ตัวอย่างเช่น บทบาทด้านการเฝ้าระวัง และการควบคุมป้องกันโรค หรือ บทบาทด้านการแพทย์ เป็นต้น ซึ่งผลที่ได้จากการดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคซาร์สขององค์การอนามัยโลก ประการแรกนั้นคือ ทำให้ความร่วมมือระหว่างประเทศในการแก้ไขปัญหาดำเนินไปอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น ประการที่สอง คือ ทำให้ทราบที่มาของเชื้อต้นเหตุของโรคในระยะเวลาอันรวดเร็ว และประการสุดท้าย คือ ทำให้การควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จนสามารถยุติการแพร่ระบาดได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว |
Other Abstract: | The objective of the thesis is to study the international cooperation and the role of global governanace in solving the problem of Severe Acute Respiratory Syndrome (SARS) outbreak between 2002 and 2003. It focused on the study of the causes that urged states and the World Health Organization (WHO) to cooperate in solving this problem. From the study, it was found that the states had to cooperate together in solving this problem because SARS outbreak was a threat at the global scale affecting negatively on many aspects including politic, economic and social psychology ones. Moreover, the intermational cooperation that emerged involved both bilateral and multilateral level. However, the solution of SARS outbreak could succeed as it had been without the role WHO as global health governance. WHO played the key role in response to the SARS outbreak including information exchanges, technical exchanges, infectious disease surveillance and infectious disease control. WHO's response to SARS outbreak produced many benefits. The first benefit was to help strengthening intermational cooperation; the second was to trace rapidly the pathogen for SARS and the third was to efficiently control the SARS outbreak until it disappeared. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7506 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.322 |
ISBN: | 9745329746 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2005.322 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kanokporn.pdf | 3.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.