Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75098
Title: ผลของการใช้น้ำทำความสะอาดฝีเย็บต่อการหายของฝีเย็บในหญิงหลังคลอด
Other Titles: Effects of using water for perineal flushing on healing of perineum of post partum women
Authors: อนงค์นุช ภูยานนท์
Advisors: พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การคลอด
การเย็บ (การแพทย์)
Suturing
Labor (Obstetrics)
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้น้ำทำความสะอาด ฝีเย็บที่มีต่อการหายของแผลฝีเย็บในหญิงหลังคลอด มีสมมติฐานคือ การทำความสะอาดฝีเย็บหลังคลอด ระหว่างวิธีใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ -- อบด้วยความร้อน และวิธีใช้น้ำทำให้เกิดการหายของแผลไม่แตกต่างกัน ดำเนินการวิจัยที่หอผู้ป่วยหลังคลอด โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า ตัวอย่างประชากรคือหญิงหลังคลอด ปกติที่ได้รับการตัดและเย็บซ่อมแซมฝีเย็บจำนวน 60 คน ที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลา 5 วัน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน ด้วยวิธีการสุ่มเพื่อจัดกลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับการทำความสะอาดฝีเย็บ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ อบด้วยความร้อนและกลุ่มที่ได้รับการทำความสะอาดด้วยน้ำประปา การรวบรวมข้อมูล ใช้วิธีสังเกตบริเวณฝีเย็บของตัวอย่างประชากรเกี่ยวกับการหายของแผลที่เป็นปกติและไม่เป็นปกติตาม เกณฑ์ที่กำหนดให้ เพื่อประเมินการหายของแผลฝีเย็บ 6 ประการ คือ ปวด บวม แดง ร้อน มีสิ่งขับออก เป็นน้ำเหลือง หรือหนอง และการแยกของแผลฝีเย็บ โดยสังเกตแผลฝีเย็บต่อเนื่องกันในเวลาเดียวกัน เป็นเวลา 5 วัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การประมาณโอกาสความน่าจะเป็นของพิชเชอร์ ผลการวิจัย พบว่าการหายของแผลฝีเย็บหลังคลอดของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการทำความสะอาดทั้ง 2 วิธี มีการหาย ของแผลเกิดขึ้นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: This experimental research aimed to study the effects of using water for perineal flushing on healing of perineum of post-partum women. The hypothesis was "There is no statistically significant difference on healing of perineum between post-partum mothers who were flushed with antiseptic solution accompanied by hot compress and those who flushed themselves with running water." Postpartum units in Prapinklow Hospital were considered as the experimental sites. Sixty post-partum women selected by random assignment method were participated in this study and divided into two groups. The sample must be hospitalized for 5 postpartal days. Observational method was used to collect data. The score indicated normal and abnormal healing of the perineum judged by using the criteria which described 6 charactristics of the healing were pain, edema, hot, red, discharge and skin cracking. The observations on healing of the perineum were conducted for 5 consecutive days. Fisher exact probability test was used to analyze the data. The major finding was no statistically significant difference at the 0.05 confidence level on the healing of perineum between experimental and control groups.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75098
ISBN: 9745690554
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anongnuch_pu_front_p.pdf914.17 kBAdobe PDFView/Open
Anongnuch_pu_ch1_p.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Anongnuch_pu_ch2_p.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open
Anongnuch_pu_ch3_p.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Anongnuch_pu_ch4_p.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Anongnuch_pu_ch5_p.pdf990.41 kBAdobe PDFView/Open
Anongnuch_pu_back_p.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.