Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75285
Title: ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เป็นภาระของผู้บริโภคเกินสมควร กรณีศึกษาการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในสินค้าผ้าอนามัย
Authors: ทวีพร อดิทิพยางกูร
Advisors: วุฒิพงษ์ ศิริจันทรานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผ้าอนามัย
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์และสภาพร่างกายปกติจะมีประจําเดือนทุกเดือน ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทําให้ผ้าอนามัยเข้ามามีบทบาทในการดําเนินชีวิตของผู้หญิงในช่วงการมีประจําเดือน แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ผู้หญิง ทุกคนที่มีความาสามารถในการจับจ่ายและเข้าถึงผ้าอนามัยได้ หากเราตระหนักว่ายังมีประชาชนกลุ่มหนึ่ง ในประเทศที่ยังอดมื้อกินมื้อ นั่นก็คือ ผู้หญิงในกลุ่มนั้นก็น่าจะไม่มีเงินเพียงพอที่จะซื้อผ้าอนามัยเช่นกัน ผ้าอนามัยเป็นสิ่งที่ช่วยซับเลือดประจําเดือน ทําให้ผู้หญิงที่สวมใส่เกิดความสะดวกสบาย มีความมั่นใจ ในช่วงเวลาที่ไม่ปกติของเดือน ข้อสําคัญของการใส่ผ้าอนามัยคือช่วยยับยั้งเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกายในช่วงอ่อนไหว ของผู้หญิงอีกด้วย ในปัจจุบัน ผ้าอนามัยเป็นสินค้าที่ได้รับการควบคุมราคาโดยกระทรวงพาณิชย์แต่ยังคงเป็นสินค้าที่ถูก จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้ว่าผ้าอนามัยจะเป็นสินค้าที่สําคัญต่อสุขอนามัย เป็นสินค้าบริโภคขั้นพื้นฐาน ส่งผลถึง อนามัยเจริญพันธุ์ของผู้หญิงโดยตรง และในนานาชาติรวมถึงประเทศไทย ผ้าอนามัยได้รับการเรียกร้องให้มี การยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งมีบางประเทศที่การเรียกร้องนั้นประสบผลสําเร็จแล้วและในเอกัตศึกษา ฉบับนี้ได้นํามาศึกษา นั่นคือ ประเทศออสเตรเลีย วัตถุประสงค์ของเอกัตศึกษาฉบับนี้ ต้องการศึกษาหลักการการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม และสินค้าที่ได้รับ การยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย เพื่อหาแนวทางว่าการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในสินค้าผ้าอนามัย สอดคล้องกับหลักการจัดเก็บของภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทยหรือไม่ และมีแนวทางใดที่สามารถทําให้ ผ้าอนามัยเป็นสินค้าที่ได้รับการยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากผลการศึกษา สินค้าที่ประเทศไทยยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มมีความหลากหลาย ไม่ได้จําเพาะว่า เป็นสิ่งที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิต เช่น ในรายการปัจจัยสี่ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค มีเพียงอาหารที่ยังไม่แปรรูปเท่านั้นที่เป็นสิ่งที่ได้รับการยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น หากจะผลักดันให้ ผ้าอนามัยได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาครัฐจะต้องให้ความตระหนักในความสําคัญและภาระที่ผู้บริโภค จะต้องได้รับให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ตามรัฐธรรมนูญที่รัฐจะต้องบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง ส่งเสริมสุขภาพ ควบคุมและป้องกันโรคให้แก่ประชาชน
Description: เอกัตศึกษา (ศศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายเศรษฐกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75285
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.147
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2019.147
Type: Independent Study
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6186162034.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.