Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75287
Title: ประเด็นปัญหาการบริจาคของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี : กรณีศึกษาการบริจาคเป็นทรัพย์สิน
Authors: ธนวรรษ แซ่ลิ้ม
Advisors: วุฒิพงษ์ ศิริจันทรานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: สิทธิประโยชน์ทางภาษี -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การบริจาค
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การบริจาคเสมือนเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพชนิดหนึ่งในการแก้ปัญหาลดความเหลื่อมล้ำ ในสังคมไทย การบริจาคจึงเป็นเครื่องมือในการกระจายทรัพยากรจากผู้บริจาคไปยังผู้รับบริจาค ทั้งในรูปแบบเงินสดและทรัพย์สิน เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนา และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยได้ ตัวอย่างเช่น การจัดกิจกรรมค่ายอาสาเพื่อบูรณะโรงเรียนโดยรับบริจาคเงินสดหรือทรัพย์สิน และนำไปพัฒนาโรงเรียนให้มีสื่อการเรียนการสอนที่ดีขึ้น หรือวัดวาอารามที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร โดยการนำเงินสดหรือทรัพย์สินที่บริจาคมาพัฒนาให้วัดมีสาธารณสุขที่ดีขึ้น และการดำเนินชีวิต ของพระที่ดีขึ้น ดังนั้นการบริจาคจึงเป็นเครื่องมือเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยได้ อีกทั้งการบริจาคยังเป็นเครื่องมือในการช่วยเหลือให้กับรัฐ ในส่วนที่รัฐยังไม่สามารถเข้าถึงได้ หรือเป็นเครื่องมือที่ช่วยเหลือให้ทันต่อความต้องการของผู้รับบริจาค ซึ่งในบางครั้งรัฐเป็นผู้จัดสรรทรัพยากรเอง อาจจะใช้เวลานานซึ่งไม่ทันต่อการแก้ไขปัญหา ตัวอย่างเช่น เมื่อต้นปี 2563 ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤตโรคระบาด Covid-19 จะเห็นตามสื่อต่าง ๆ ว่าโรงพยาบาล มีหน้ากากอนามัยไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในการรักษาพยาบาล แต่ภาครัฐนั้นไม่สามารถจัดสรรหน้ากากอนามัยได้เพียงพอต่อความต้องการของโรงพยาบาลได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องให้ภาคเอกชนช่วยเหลือในการจัดหาหน้ากากอนามัยมาบริจาค เพื่อให้พอเพียงต่อความต้องการของโรงพยาบาล เป็นต้น ปัจจุบันรัฐบาลจึงได้เปิดโอกาสให้กับภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริจาคได้ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม และช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยอีกด้วย ในประเทศไทยมีผู้บริจาคทั้งในรูปแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ส่วนหนึ่งของการบริจาคมาจากผู้ที่บริจาคที่ต้องการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อหักลดหย่อนภาษี กับกรมสรรพากร เช่น การบริจาคเงินทั่วไปโดยบริจาคให้กับวัดวาอาราม สภากาชาดไทย หรือบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคมและโรงพยาบาลรัฐ อย่างไรก็ตามการบริจาคของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีประเด็นทางกฎหมายคือ ผู้ใดประสงค์จะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ผู้บริจาคที่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องบริจาคเป็นเงินสดเท่านั้น ไม่สามารถบริจาคเป็นทรัพย์สินได้ และหากจะยินยอม ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาบริจาคเป็นทรัพย์สินได้ ยังไม่มีเกณฑ์ในการวัดมูลค่า ของทรัพย์สินเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ในการศึกษานี้ จะศึกษาประเด็นทางกฎหมายว่า ถ้ามีการบริจาคทรัพย์สินสำหรับ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะสามารถทำให้รัฐได้ประโยชน์จากการบริจาคทรัพย์สิน มากขึ้นกว่าที่จะยอมให้บริจาคเป็นเงินสดอย่างเดียว รวมถึงศึกษาการวัดมูลค่าของทรัพย์สิน เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
Description: เอกัตศึกษา (ศศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายเศรษฐกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75287
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.118
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2019.118
Type: Independent Study
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6186164234.pdf77.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.