Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75687
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาททางเพศ รูปแบบความผูกพัน กับความเมตตากรุณาต่อตนเองในกลุ่มนิสิตนักศึกษา
Other Titles: Relationships among gender roles, attachment styles, and self-compassion in undergraduates
Authors: คงพล แวววรวิทย์
Advisors: ณัฐสุดา เต้พันธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Subjects: เยาวชน -- สุขภาพจิต
เมตตาและกรุณา
ความผูกพัน
Youth -- Mental health
Compassion -- Religious aspects -- Buddhism
Commitment (Psychology)
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาททางเพศ รูปแบบความผูกพัน กับความเมตตากรุณาต่อตนเองในกลุ่มนิสิตนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตนักศึกษา จำนวน 199 คน อายุเฉลี่ย 20.32±.01 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) มาตรวัดบทบาททางเพศ (2) มาตรวัดรูปแบบความผูกพันในความสัมพันธ์ใกล้ชิดทั่วไป ฉบับภาษาไทย และ (3) มาตรวัดความเมตตากรุณาต่อตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า บทบาททางเพศแบบความเป็นชายกับบทบาททางเพศแบบความเป็นหญิงมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเมตตากรุณาต่อตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .22, p < .01) (r = .185, p < .01) ส่วนลักษณะความผูกพันแบบวิตกกังวลกับลักษณะความผูกพันแบบหลีกหนีมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเมตตากรุณาต่อตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.318, p < .01) (r = -.346, p < .01) โดยที่บทบาททางเพศแบบความเป็นชาย บทบาททางเพศแบบความเป็นหญิง ลักษณะความผูกพันแบบวิตกกังวล และลักษณะความผูกพันแบบหลีกหนีสามารถร่วมกันทำนายความเมตตากรุณาต่อตนเองในกลุ่มนิสิตนักศึกษาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยร่วมกันทำนายความแปรปรวนของความเมตตากรุณาต่อตนเองร้อยละ 23.2 (R2  = .232, p < .001) เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐานของแต่ละตัวแปรทำนายลักษณะความผูกพันแบบวิตกกังวลมีน้ำหนักค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐานสูงที่สุด (β = -.31, p < .001) ตามด้วยลักษณะความผูกพันแบบหลีกหนี (β = -.30, p < .001) ส่วนบทบาททางเพศแบบความเป็นชาย ไม่สามารถทำนายความเมตตากรุณาต่อตนเองได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = .06, p = .375) เช่นเดียวกับบทบาททางเพศแบบความเป็นหญิง (β = .09, p = .244)
Other Abstract: The purpose of this study was to examine the relationships among gender roles, attachment styles, and self-compassion in undergraduates. Participants were 199 undergraduates with mean age of 20.32±.01 years old. Instruments were (1) Gender Roles Inventory (GRI) (2) Experiences in Close Relationships—Relationship Structures Questionnaire (ECR-RS) (3) Self-Compassion Scale – Short Form (SCS-SF). Pearson’s product moment correlation and multiple regression analyses were used to analyse the data. Finding revealed that masculinity and femininity were significantly and positive correlated with self-compassion is .22 and .185, p < .01, respectively. While anxious attachment and avoidant attachment were significantly and negatively correlated with self-compassion is -.318 and -.346, p < .01, respectively. Masculinity, femininity, anxious attachment and avoidant attachment significantly predicted self-compassion and accounted for 23.2 percent of the total variance (R2  = .232, p < .001). Anxious attachment significantly predicted of self-compassion (β = -.31, p < .001). Also, avoidant attachment significantly predicted of self-compassion (β = -.30, p < .001). While masculinity was not a significant predictor of self-compassion (β = .06, p = .375). Also, femininity was not a significant predictor (β = .09, p = .244).
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75687
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.661
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.661
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6077602238.pdf3.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.