Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75697
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพแบบวิตกกังวล ความกลัวการถูกประเมินในแง่ลบ ความเพลิน การยอมรับ และ ความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวที ในนักแสดงละครเวที
Other Titles: Relationships among trait anxiety, fear of negative evaluation, flow, acceptance and theatre performance anxiety in theatre actors
Authors: อาภัสสร ผาติตานนท์
Advisors: กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Subjects: ความวิตกกังวล
การยอมรับทางสังคม
นักแสดง -- จิตวิทยา
Anxiety
Social acceptance
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพแบบวิตกกังวล ความกลัวการถูกประเมินในแง่ลบ ความเพลิน การยอมรับ และความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวที กลุ่มตัวอย่างคือนักแสดงละครเวทีอายุระหว่าง 18-62 ปี มีประสบการณ์แสดงละครเวทีประเภทละครพูดหรือละครเพลง โดยละครดังกล่าวเป็นละครที่จัดแสดงเต็มเรื่องและมีผู้ชมอย่างเป็นทางการ ไม่ใช่การแสดงเฉพาะบางฉากหรือบางองก์เพื่อการฝึกหัดหรือซ้อม กลุ่มตัวอย่างมีทั้งหมด 205 คน ใช้เครื่องมือวัดในการวิจัย 5 ฉบับ ได้แก่ มาตรวัดบุคลิกภาพแบบวิตกกังวล มาตรวัดความกลัวการถูกประเมินในแง่ลบ มาตรวัดความเพลิน มาตรวัดการยอมรับ และมาตรวัดความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวที วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า บุคลิกภาพแบบวิตกกังวลมีสหสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวที (r(203) = .52, p < .001, หนึ่งหาง) ความกลัวการถูกประเมินในแง่ลบมีสหสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวที (r(203) = .66, p < .001, หนึ่งหาง) ความเพลินมีสหสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวที (r(203) = -.44, p < .001, หนึ่งหาง) การยอมรับมีสหสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวที (r(203) = -.41, p < .001, หนึ่งหาง) และบุคลิกภาพแบบวิตกกังวล ความกลัวการถูกประเมินในแง่ลบ ความเพลิน และการยอมรับ ร่วมกันทำนายความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวทีได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R 2 = .50, p < .001) และอธิบายความแปรปรวนของความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวทีได้ร้อยละ 50
Other Abstract: The purpose of this study was to examine the relationships among trait anxiety, fear of negative evaluation, flow, acceptance, and theatre performance anxiety. Participants were 205 theatre actors, aged between 18-62, who had a role in an official full production of a straight or musical play. Scene works and excerpts were not included. Participants responded to a set of questionnaires measuring trait anxiety, fear of negative evaluation, flow, acceptance, and theatre performance anxiety. Pearson’s correlation coefficient and Multiple Regression Analysis were used to analyze the data. Results revealed that trait anxiety was significantly and positively correlated with theatre performance anxiety (r(203)= .52, p< .001,one-tailed), fear of negative evaluation was significantly and positively correlated with theatre performance anxiety (r(203)= .66, p< .001,one-tailed), flow was significantly and negatively correlated with theatre performance anxiety (r(203)= -.44, p< .001,one-tailed), acceptance was significantly and negatively correlated with theatre performance anxiety (r(203)= -.41, p< .001,one-tailed) When examined together, trait anxiety, fear of negative evaluation, flow and acceptance significantly predicted theatre performance anxiety and account for 50% of its variance (R 2= .50, p<.001)
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75697
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.662
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.662
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6077627038.pdf3.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.