Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75834
Title: | การวิเคราะห์การเรืองแสงเชิงปริมาณด้วยการใช้แสงกระตุ้นในบริเวณชิดแถบรัดฟันซึ่งยึดด้วยซีเมนต์ |
Other Titles: | Quantitative light-induced fluorescence analysis of area adjacent to cemented bands |
Authors: | ชวลิต เพียรมี |
Advisors: | ทิพวรรณ ธราภิวัฒนานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของซีเมนต์ชนิดซิงค์ฟอสเฟตซีเมนต์ (ZC) ซิงค์โพลีคาร์บอกซิเลตซีเมนต์ (ZPC) กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ชนิดดั้งเดิม (GI) เรซินมอดิฟายด์กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ชนิดผงและน้ำ (RMGI-P/L) เรซินมอดิฟายด์กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ชนิดสองหลอด (RMGI-P/P) และโพลีแอซิดมอดิฟายด์คอมโพสิตเรซิน (PMCR) ต่อการยับยั้งการสูญเสียแร่ธาตุที่ผิวเคลือบฟันบริเวณขอบของแถบรัดฟัน เป็นการศึกษาในห้องปฏิบัติการโดยใช้ฟันกรามน้อยแท้ของมนุษย์จำนวน 70 ซี่ ทำการขัดผิวเคลือบฟัน และสร้างช่องหน้าต่างทดลองบริเวณกึ่งกลางของด้านไกลกลางขนาด 1 x 2 ตารางมิลลิเมตร แบ่งฟันเป็น 7 กลุ่ม เพื่อยึดด้วย; (1) ZC (Zinc Cement Improved®), (2) ZPC (Hy-Bond Polycarboxylate Cement®), (3) GI (Hy-Bond Glasionomer CX®), (4) RMGI-P/L (GC Fuji Ortho LC®), (5) RMGI-P/P (GC Fuji Ortho Band Paste Pak®), (6) PMCR (Ultra Band-Lok®) และ (7) กลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ยึดแถบรัดฟัน (Control) จากนั้นจำลองภาวะอุณหภูมิร้อนเย็นในช่องปาก 24 ชั่วโมง และภาวะการสูญเสียและคืนกลับแร่ธาตุ 21 วัน ทำการรื้อแถบรัดฟันและกำจัดซีเมนต์ก่อนนำชิ้นงานทั้งหมดวัดค่าร้อยละการสูญเสียฟลูออเรสเซนส์บริเวณช่องหน้าต่างทดลอง (∆F), ค่าร้อยละการสูญเสียฟลูออเรสเซนส์สูงสุดบริเวณช่องหน้าต่างทดลอง (∆Fmax) ค่าพื้นที่ที่เกิดการสูญเสียฟลูออเรสเซนส์ (Area) และปริมาตรของเคลือบฟันที่สูญเสียแร่ธาตุ (∆Q) ด้วยเทคนิควิเคราะห์การเรืองแสงเชิงปริมาณด้วยการใช้แสงกระตุ้นชนิดดิจิตอล จากการวิเคราะห์ด้วยสถิติ Kruskal-Wallis test พบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ∆F, ∆Fmax, Area และ ∆Q ของซีเมนต์แต่ละกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) เมื่อหาความแตกต่างทางสถิติในแต่ละคู่โดยใช้สถิติ Pairwise comparisons ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของค่าเฉลี่ย ∆F, ∆Fmax, Area และ ∆Q เมื่อจับคู่เปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม Control:PMCR, ZP:ZPC, ZP:GI, ZP:RMGI-P/L, ZP:RMGI-P/P, ZPC:GI, ZPC:RMGI-P/L, ZPC:RMGI-P/P, GI:RMGI-P/L, GI:RMGI-P/P, RMGI-P/L:RMGI-P/P และ RMGI-P/L:PMCR แต่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อจับคู่เปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม Control:ZP, Control:ZPC, Control:GI, Control:RMGI-P/L และ Control: RMGI-P/P, PMCR:ZC, PMCR:ZPC, PMCR:GI และ PMCR:RMGI-P/P การศึกษาในครั้งนี้พบว่าฟันซึ่งยึดแถบรัดฟันด้วย ZC, ZPC, GI และ RMGI-P/P ไม่เกิดการสูญเสียแร่ธาตุที่ผิวเคลือบฟันบริเวณขอบของแถบรัดฟัน ส่วนกลุ่ม RMGI-P/L, PMCR และกลุ่มควบคุมเกิดการสูญเสียแร่ธาตุที่ผิวเคลือบฟัน โดยที่กลุ่ม RMGI-P/L เกิดการสูญเสียแร่ธาตุน้อยกว่ากลุ่มควบคุม แต่กลุ่ม PMCR เกิดการสูญเสียแร่ธาตุไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม |
Other Abstract: | This study aimed to compare the efficacy of zinc phosphate cement (ZC), zinc polycarboxylate cement (ZPC), conventional glass ionomer cement (GI), resin modified glass ionomer cement-powder/liquid (RMGI-P/L), resin modified glass ionomer cement-paste/paste (RMGI-P/P), and polyacid-modified composite resin (PMCR) on inhibition of enamel demineralization at the area adjacent to cemented band. This in vitro study was conducted on 70 human premolars. The teeth were smooth polished and painted with nail varnish, except a 1 x 2 mm2 window on middle 1/3 of distal surface. Seventy teeth were divided into 7 groups; (1) ZC (Zinc Cement Improved®), (2) ZPC (Hy-Bond Polycarboxylate Cement®), (3) GI (Hy-Bond Glasionomer CX®), (4) RMGI-P/L (GC Fuji Ortho LC®), (5) RMGI-P/P (GC Fuji Ortho Band Paste Pak®), (6) PMCR (Ultra Band-Lok®) and (7) control group. All specimens were thermocycled for 24 hours, and pH cycled for 21 days. The teeth were then debanded, and decemented. The percentage of fluorescence loss (∆F), maximum percentage of fluorescence loss (∆Fmax), lesion area (Area) and lesion volume (∆Q) were measured by quantitative light-induced fluorescence-digital (QLF-D). The Kruskal-Wallis showed statistically significant differences for ∆F, ∆Fmax, Area, and ∆Q among groups (p<0.001). The Pairwise comparisons showed that there were no significant difference between the groups of Control:PMCR, ZP:ZPC, ZP:GI, ZP:RMGI-P/L, ZP:RMGI-P/P, ZPC:GI, ZPC:RMGI-P/L, ZPC:RMGI-P/P, GI:RMGI-P/L, GI:RMGI-P/P, RMGI-P/L:RMGI-P/P and RMGI-P/L:PMCR in the mean ∆F, ∆Fmax, Area, and ∆Q, but the groups of Control:ZP, Control:ZPC, Control:GI, Control:RMGI-P/L, Control:RMGI-P/P, PMCR:ZC, PMCR:ZPC, PMCR:GI and PMCR:RMGI-P/P are statistically significant differences. This study demonstrated that the use of ZP, ZPC, GI and RMGI-P/L inhibit demineralization of enamel adjacent to cemented bands. Demineralization occurred in RMGI-P/L, PMCR and control group, however, the demineralization of RMGI-P/L group was less than control group and no difference between PMCR and control. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ทันตกรรมสำหรับเด็ก |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75834 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.793 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2018.793 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Dent - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5975805532.pdf | 4.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.