Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7587
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุนทร ศุภพงษ์-
dc.contributor.advisorสสิธร เทพตระการพร-
dc.contributor.authorวรศักดิ์ ยิ้มศิริวัฒนะ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2008-07-16T03:29:27Z-
dc.date.available2008-07-16T03:29:27Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741734077-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7587-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอัตราความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดหลังส่วนล่างของพนักงานขับรถโดยสารประจำทางระหว่างจังหวัด ในสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) โดยใช้รูปแบบการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานขับรถรับส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดจำนวน 348 คน แบ่งตามเส้นทางการเดินรถเป็นสายเหนือ 121 คน กลาง 80 คน และตะวันออกเฉียงเหนือ 147 คน โดยใช้แบบสอบถาม และตรวจร่างกายเบื้องต้นเหลือกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการศึกษา 255 คน คิดเป็นอัตราเข้าร่วมการศึกษาร้อยละ 73.3 ผลการศึกษาพบว่า อัตราความชุกของอาการปวดหลังส่วนล่างในพนักงานขับรถเท่ากับ 71.8 คนต่อประชากร 100 คน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ค่าดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน (BMI>25) ความอ่อนตัวของร่างกายไม่ดี ระยะเวลาที่สูบบุหรี่มากกว่า 20 ปี ผู้ที่ไม่เคยออกกำลังกาย ระยะเวลาขับรถ 4-6 ชั่วโมงต่อวัน การนั่งขับรถเอนตัวไปข้างหน้าและพิงร่างกายส่วนบนไว้กับพวงมาลัย ความรู้สึกมีอิสระในการตัดสินใจระดับต่ำ รู้สึกว่ามีแรงสั่นสะเทือนบริเวณเบาะคนขับเล็กน้อยพอทนได้ มีเสียงรบกวนขณะขับรถ ไม่มีที่ปรับเบาะหรือมีแต่ไม่ได้ปรับให้เหมาะสม ความรู้สึกว่ามีเวลาอยู่กับครอบครัวไม่เพียงพอ ผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุขณะขับรถ สำหรับความรุนแรงของอาการดังกล่าวพบว่า ส่วนใหญ่มีอาการปวดหลังในแต่ละครั้งประมาณ 2-7 วันแต่ไม่รุนแรงถึงขั้นต้องหยุดงาน และตลอดระยะเวลา 1 ปี ส่วนใหญ่มีอาการมากกว่า 30 วันแต่ไม่ทุกวัน และหยุดงาน 1-7 วันต่อปี การดูแลรักษาส่วนใหญ่ใช้วิธีบีบนวดด้วยตนเอง และป้องกันโดยการออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อก่อนการขับรถ โดยสรุป จากการศึกษาในครั้งนี้พบว่าอาการปวดหลังส่วนล่างพบได้บ่อยในพนักงานขับรถ และเป็นปัญหาสำคัญต่อสุขภาพ ส่งผลกระทบต่อพนักงาน รวมถึงเจ้าของกิจการที่ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและการหยุดงาน ดังนั้นควรจัดให้มีการป้องกันการเกิดอาการดังกล่าวจากปัจจัยที่พบว่าเกี่ยวข้องกับอาการปวดหลังส่วนล่างen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study is to determine prevalence rate and related factors of low back pain (LBP) among bus drivers in Bangkok bus terminal (Chatuchak). During May 2005, 348 bus drivers were included for this study. Data were collected by self-administrated questionnaire and physical examination. Totally 255 bus drivers were participated in the study, with the participation rate of 73.3 percents. Results showed that the prevalence rate of LBP among bus drivers during the past 12 months was 71.8%. Factors which were statistically significant related to LBP (p<0.05) included: overweight; poor body flexibility; smoking period over 20 years; lack of exercise; driving 4-6 hours per day; posture during driving (sit with the back arched toward the front and the upper body rested on the steering-wheel); low decision latitude; vibrated feeling around seat; noise during driving; no adjustable seat; less time with family; past histories without sick leave of accident. The duration of back pain was about 2-7 days ineach episode. Half of the drivers reported that LBP was improved with having a massage or traditional massage. In order to avoid LBP, one-third of the drivers performed warm-up exercises or muscle stretching. In conclusion, LBP was often found among bus drivers. Prevention program should be outlined by modification some factors related to LBP.en
dc.format.extent1507276 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectปวดหลังen
dc.subjectคนขับรถประจำทาง -- โรค -- ไทยen
dc.titleอัตราความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดหลังส่วนล่างของพนักงานขับรถโดยสารประจำทางระหว่างจังหวัด ในสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)en
dc.title.alternativePrevalence rate and related factors of low back pain among bus drivers in Bangkok bus terminal (Chatuchak)en
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineอาชีวเวชศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSoontorn.S@Chula.ac.th-
dc.email.advisorsasitap@hotmail.com-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
worrasak.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.