Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76105
Title: | กลวิธีทางภาษาในการพูดเพื่อสร้างแรงบันดาลใจของ สินธุเสน เขจรบุตร |
Other Titles: | Language strategies for inspiring speech by Sindhusen Khaejornbut |
Authors: | วริฏฐา ศรีช่วย |
Advisors: | ธนสิน ชุตินธรานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Subjects: | สินธุเสน เขจรบุตร วาทศิลป์ การสื่อทางภาษาพูด Oratory Oral communication |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประเภทและลักษณะของทำเนียบภาษา ตลอดจนสังเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างทำเนียบภาษากับเนื้อหาต่างประเภทในการสื่อสารเพื่อสร้างแรงบันดาลใจของ สินธุเสน เขจรบุตร ผู้วิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์ตัวบท และการวิเคราะห์เนื้อหา โดยเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลเนื้อหาจากคลิปวีดิทัศน์ที่เผยแพร่ในเฟซบุ๊กแฟนเพจของสินธุเสน เขจรบุตร ภายใต้ชื่อว่า K.S. Khunkhao จำนวน 30 คลิป ก่อนนำมาตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าเพื่อความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า ประเภทและลักษณะของทำเนียบภาษาที่ สินธุเสน เขจรบุตร ใช้ในการสื่อสารเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ประกอบด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลและจำแนกประเภทการใช้คำในมิติทำเนียบออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) ทำเนียบภาษาตามประเภทไวยากรณ์ พบการใช้คำที่ปรากฎเป็นลักษณะเด่นจำนวนทั้งสิ้น 11 ประเภท โดย 3 อันดับแรกที่พบการใช้สูงสุด ได้แก่ การใช้คำซ้ำ การใช้คำลักษณวิเศษณ์ การใช้คำสัมผัสคล้องจอง และ 2) ทำเนียบภาษาตามกลุ่มความหมาย แบ่งเป็นจำนวนทั้งสิ้น 6 กลุ่มความหมาย ได้แก่ หมวดคำที่เกี่ยวข้องจิตใจ สติปัญญา ความคิด ความรู้สึกของมนุษย์ในเชิงจิตวิทยา หมวดคำที่เกี่ยวข้องกับการกระทำของมนุษย์ในเชิงพฤติกรรม หมวดคำที่เกี่ยวข้องกับการมีหรือการสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของมนุษย์ หมวดคำที่เกี่ยวข้องกับสรรพสิ่ง สัจธรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ หมวดคำที่เกี่ยวข้องกับบ้านเมือง สภาพสังคมและเศรษฐกิจ และหมวดคำที่เกี่ยวข้องกับเวลา การสังเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างทำเนียบภาษากับเนื้อหาต่างประเภทในการสื่อสารเพื่อสร้างแรงบันดาลใจของ สินธุเสน เขจรบุตร ประกอบด้วยเนื้อหาต่างประเภทจำนวน 2 กลุ่มหลัก คือ 1) ประเภทเนื้อหาด้านการดำเนินชีวิต และ 2) ประเภทเนื้อหาด้านความสัมพันธ์ ที่ส่งผลต่อลักษณะการใช้ทำเนียบภาษาตามประเภทไวยากรณ์และทำเนียบภาษาตามกลุ่มความหมายที่แตกต่างกัน ซึ่งลักษณะการใช้ภาษาดังกล่าวข้างต้นมีความสำคัญต่อการสร้างเอกลักษณ์ของผู้พูดในฐานะนักสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ฟังหลากหลายกลุ่มอย่างครอบคลุม และได้รับความนิยมในสังคมออนไลน์เป็นอย่างมาก ทั้งนี้ พบว่า โครงสร้างการออกแบบสารเพื่อสร้างแรงบันดาลใจของสินธุเสน เขจรบุตร มีลักษณะเด่น กล่าวคือ ส่วนนำ เริ่มต้นการพูดด้วยการถามนำหรือการตั้งคำถามก่อนนำเข้าสู่เรื่องที่จะพูด เพื่อกระตุ้นให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมตลอดจนเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ส่วนเนื้อหา เป็นการเล่าตามลำดับเวลาแบบเรื่องเล่าหรือเป็นการอธิบาย แต่จะมีการลงรายละเอียดที่มากกว่าหรือเป็นการขยายสิ่งที่เกิดขึ้นจากส่วนนำ ส่วนสรุป ผู้พูดใช้อนุพากย์บอกเล่าที่มีรูปแบบของการฝากหรือทิ้งด้วยถ้อยคำอย่างวลี “เพราะฉะนั้น จงจำไว้ว่า” สอดคล้องกับความคุ้นเคยของคนไทยคล้ายการฟังนิทานอีสปที่ทิ้งท้ายด้วยข้อคิด หลังจากนั้นจะเป็นการกล่าวลาด้วยการอวยพรเพื่อแสดงความปรารถนาดี |
Other Abstract: | The research methods used were of mixed methods that aim to analyze the types and characteristics of language register, also synthesize the relationships between the language register and the different contents in the inspiring speech by SINDHUSEN KHAEJORNBUT. The textual analysis and content analysis were used in this research, collected data from the content sources in 30 video clips that were published on SINDHUSEN KHAEJORNBUT’s Facebook fan page, under the name of K.S. Khunkhao Methodological triangulation was used for accuracy and completeness of the information, the result found that. The types and characteristics of the language register that SINDHUSEN KHAEJORNBUT used in the inspiring communication included data analysis and use of words categorization as the language register into 2 parts: 1) Language register according to grammar types; there were 11 types of distinctive use of words, with the top 3 being applied the most: reduplication, adverbs and rhymes, and 2) Language register according to meaning groups was divided into 6 groups that consisted with word categories of mind, intellect, thought, human feelings psychological, word categories of human activity behavior, word categories of social interaction of human, word categories of human truths, word categories of the nation, society and economy, and word categories of time. Synthesis of the relationships between the language register and the different contents in the inspiring speech by SINDHUSEN KHAEJORNBUT consisted with 2 main groups as 1) Lifestyle and 2) The human relationships. Which affect the way to use the language register according to the grammar types and the meaning groups. As mentioned above, uses of language are important for creating the identity of the speaker as an inspiration to the audiences. These are the reasons why he is very popular on social media. All in all, It found that the motivational design structure of SINDHUSEN KHAEJORNBUT was outstanding. In other words, the introductions began by asking before went to the subjects for encouraging the audiences to participate and interact with the audience. The contents were chronological storytelling, which had more detail or clarified what happened. In the conclusions, the speaker chose a clause that had the form of deposition or left words like the phrase "So remember", which corresponded with the familiarity of Thai people on listening to Animal Tales that ended with commentaries. Then, it would be blessing goodbye for wishing well. |
Description: | สารนิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76105 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.321 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2020.321 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Comm - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6280034828.pdf | 4.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.