Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76299
Title: การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีการวิเคราะห์คัดกรองสารเสพติดในน้ำวุ้นลูกตาด้วยเทคนิคการสกัด QuEChERS และตรวจด้วย LC-MS/MS
Other Titles: The method validation of drug abuse screening test in vitreous humor samplesby QuEChERS extraction and LC-MS/MS
Authors: บัณฑิตา บุญเฉลียว
Advisors: ณัฐ ตันศรีสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: ตา
นิติพิษวิทยา
ยาเสพติด
Vitreous humor
Forensic toxicology
Narcotics
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: น้ำวุ้นลูกตาถูกนำมาใช้เป็นตัวอย่างทางเลือก เนื่องจากทนต่อการเปลี่ยนแปลงหลังการเสียชีวิต รวมถึงมีส่วนประกอบที่เป็นเซลล์น้อยจึงสามารถนำมาเตรียมตัวอย่างได้ง่าย การเตรียมตัวอย่างทางนิติพิษวิทยาสามารถเตรียมได้หลายวิธี เช่น Solid Phase Extraction (SPE) และLiquid-Liquid Extraction (LLE) แต่มีข้อเสียคือใช้เวลาในการเตรียมนาน มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้สารที่เป็นอันตรายในปริมาณมาก เทคนิค modified QuEChERS ถูกนำมาพัฒนาให้เข้ากับงานทางนิติพิษวิทยา ซึ่งเทคนิคนี้ใช้เวลาในการเตรียมน้อย ทำได้ง่าย ค่าใช้จ่ายถูก มีประสิทธิภาพ มีความทนทานและมีความปลอดภัย  เครื่องมือตรวจวเคราะห์ Liquid Chromatography -tandem mass spectrometry (LC-MS/MS) สามารถวิเคราะห์สารประกอบได้หลากหลาย มีความจำเพาะสูงและการเตรียมตัวอย่างเพียงเล็กน้อยก็สามารถนำไปวิเคราะห์ได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีการวิเคราะห์คัดกรองสารเสพติดในน้ำวุ้นลูกตาด้วยเทคนิค modified QuEChERS และตรวจด้วย LC-MS/MS ทำการทดสอบความใช้ได้ (validation) ทั้งหมด 6 พารามิเตอร์ โดยนำน้ำวุ้นลูกตามา spike สารเสพติดลงไปทั้งหมด 24 ชนิด จากนั้นนำไปสกัดด้วยเทคนิค modified QuEChERS และตรวจวิเคราะห์ด้วย LC-MS/MS หลังจากนั้นนำเทคนิคที่ผ่านการทดสอบแล้วไปทดสอบกับตัวอย่างน้ำวุ้นลูกตาจริงทั้งหมด 10 ตัวอย่าง และเปรียบเทียบผลที่ได้กับการทดสอบในตัวอย่างเลือด  ผลการศึกษาความใช้ได้พบว่า การทดสอบความใช้ได้ทั้ง 6พารามิเตอร์มีค่าอยู่ในช่วงที่ยอมรับได้ทั้งหมด และผลการทดสอบ selectivity ไม่พบการรบกวนของสารอื่น ๆ ในการทดสอบและเมื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบตัวอย่างน้ำวุ้นลูกตากับตัวอย่างเลือดก็ให้ผลไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: Vitreous humor can be used as an alternative sample because of low chemical change in postmortem and low cellular component. So, it is easy to prepare vitreous humor sample for the forensic toxicology analysis. Forensic toxicology samples are usually prepared in these two methods which are solid phase extraction (SPE) and liquid-liquid extraction (LLE). The disadvantages of these techniques are time consuming, high cost and high volume of organic solvent. The modified QuEChERS technique was developed and adapted to suit for forensic toxicology analysis. This technique takes less time, easy to perform, inexpensive, efficient, rugged and safe. Liquid chromatography-tandem mass spectrometry (LC-MS/MS) is the instrument that can analyze a wide range of compounds with rapid and specific analysis. The purpose of this research is to investigate the method validation of vitreous humor sample drug screening test using QuEChERS extraction and analyzing by LC-MS/MS. Six validation parameters were carried out by spike pooled vitreous humor with 24 abused drugs then extracted by modified QuEChERS and analyzed by LC-MS/MS, then compared the results with blood analysis. After the validation was proved, the application of the validated technique was performed on 10 authentic forensic vitreous humor samples. The results of the validation showed all validated data were in acceptance criteria and no interference was detected in selectivity test. This method had been successfully applied to 10 authentic samples and the results were not different between blood and vitreous humor comparison.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76299
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1079
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.1079
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6074068630.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.