Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76337
Title: | การศึกษาเปรียบเทียบอัตราการถอดท่อช่วยหายใจสำเร็จ ระหว่างวิธีการทดสอบการหายใจด้วยแรงดันบวก และวิธีการทดสอบการหายใจด้วยการให้ออกซิเจนผ่านท่อวงจรรูปตัวที ในผู้ป่วยที่มีการไหลของอากาศถูกจำกัดในช่วงหายใจออก |
Other Titles: | Comparison of success rate of extubation between spontaneous breathing trial with pressure support ventilation and t-piece in patients with expiratory flow limitation |
Authors: | ญาณิศา เกลื่อนวัน |
Advisors: | ณับผลิกา กองพลพรหม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ที่มา: การไหลของอากาศถูกจำกัดในช่วงหายใจออก คือภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถเพิ่มอัตราการไหลของอากาศช่วงหายใจออกได้ แม้จะมีความแตกต่างของระดับความดันภายในหลอดลม ซึ่งสามารถพบได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะการหายใจล้มเหลวหลังการหย่าเครื่องช่วยหายใจได้ถึง 60% อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีข้อแนะนำหรือแนวทางการประเมินเพื่อหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างชัดเจน วัตถุประสงค์ของการศึกษา: เพื่อเปรียบเทียบอัตราการถอดท่อช่วยหายใจได้สำเร็จ และสามารถถอดท่อช่วยหายใจได้เป็นเวลาอย่างน้อย 72ชั่วโมง ในผู้ป่วยที่มีการไหลของอากาศถูกจำกัดในช่วงหายใจออก ระหว่างวิธีการทดสอบการหายใจด้วยแรงดันบวก (SBT with Pressure Support Ventilation) และวิธีการทดสอบการหายใจด้วยการให้ออกซิเจนผ่านท่อวงจรรูปตัวที (SBT with T-piece) วิธีศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม และไม่ด้อยกว่า โดยศึกษาในผู้ป่วยที่มีภาวะการหายใจล้มเหลวซึ่งได้รับการช่วยหายใจผ่านทางท่อช่วยหายใจเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง และเข้าได้กับเกณฑ์ความพร้อมเพื่อการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ทำการสุ่มด้วยระบบคอมพิวเตอร์เพื่อแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้การทดสอบการหายใจด้วยแรงดันบวกในระยะเวลา 30 นาที และกลุ่มที่ได้การทดสอบการหายใจด้วยออกซิเจนผ่านท่อวงจรรูปตัวทีในระยะเวลา 30 นาที วัตถุประสงค์หลักของการศึกษานี้ คืออัตราการถอดท่อช่วยหายใจได้สำเร็จ และสามารถถอดท่อช่วยหายใจได้เป็นเวลาอย่างน้อย 72 ชั่วโมง และวัตถุประสงค์รองของการศึกษา ได้แก่ อัตราของภาวะการหายใจล้มเหลวหลังการถอดท่อช่วยหายใจในช่วง 7 วัน, ระยะเวลาที่ต้องมีการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำหลังการหย่าเครื่องช่วยหายใจและถอดท่อช่วยหายใจ, อัตราการผ่านขั้นตอนการทดสอบการหายใจ เป็นต้น ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่เข้าสู่การศึกษาทั้งสิ้น 99 ราย เป็นเพศชาย 50.5% มีค่ามัธยฐานของอายุที่ 70 [23] ปี และมีสาเหตุที่นำมาสู่ภาวะการหายใจล้มเหลวจากระบบทางเดินหายใจเป็นส่วนใหญ่ (68.7%) เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติแล้ว พบว่าอัตราการหย่าเครื่องช่วยหายใจและถอดท่อช่วยหายใจได้สำเร็จเป็นเวลาอย่างน้อย 72 ชั่วโมงของกลุ่มที่ได้การทดสอบการหายใจด้วยแรงดันบวก ไม่ด้อยกว่ากลุ่มที่ได้การทดสอบการหายใจด้วยออกซิเจนผ่านท่อวงจรรูปตัวที คิดเป็น 82% และ 81.63% ตามลำดับ (95%CI -0.148 to 0.156, p=0.0475) รวมถึงอัตราการผ่านขั้นตอนการทดสอบการหายใจ (96% และ 93.9% ตามลำดับ; 95%CI -0.065 to 0.108, p<0.001) พบว่าไม่ด้อยกว่าด้วยเช่นกัน ส่วนอัตราของภาวะการหายใจล้มเหลวหลังการถอดท่อช่วยหายใจในช่วง 7 วันของกลุ่มที่ได้การทดสอบการหายใจด้วยแรงดันบวก และกลุ่มที่ได้การทดสอบการหายใจด้วยออกซิเจนผ่านท่อวงจรรูปตัวที พบว่าไม่สามารถสรุปผลได้ (22.9% และ 15.2% ตามลำดับ; 95%CI -0.081 to 0.235, p=0.369) นอกจากนี้ยังไม่มีความแตกต่างทางสถิติของระยะเวลาที่ต้องมีการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำหลังการหย่าเครื่องช่วยหายใจและถอดท่อช่วยหายใจอีกด้วย (55 [95.5] ชั่วโมง และ 25.33 [48] ชั่วโมงตามลำดับ, p=0.683) สรุป: อัตราการหย่าเครื่องช่วยหายใจและถอดท่อช่วยหายใจได้สำเร็จ ด้วยวิธีการทดสอบการหายใจด้วยแรงดันบวก ไม่ด้อยกว่าการทดสอบการหายใจด้วยออกซิเจนผ่านท่อวงจรรูปตัวทีในผู้ป่วยที่มีการไหลของอากาศถูกจำกัดในช่วงหายใจออก และการศึกษานี้ยังเป็นการศึกษาแรกที่แสดงถึงความไม่แตกต่างของผลการทดสอบการหายใจระหว่าง 2 วิธีดังกล่าว ในแง่ของอัตราการหย่าเครื่องช่วยหายใจและถอดท่อช่วยหายใจสำเร็จในผู้ป่วยที่มีภาวะการไหลของอากาศถูกจำกัดในช่วงหายใจออกนี้ |
Other Abstract: | Background: Expiratory flow limitation (EFL) is an inability to exceed a certain flow regardless of the pressure exerted, which appears in 60% of patients with extubation failure. However, an appropriate weaning method for the patients with EFL remains unknown. Objectives: We aimed to evaluate an effect of different techniques of spontaneous breathing trials (SBT) on a success rate of extubation in the patients with EFL. Methods: We conducted a non-inferiority randomized controlled trial comparing between 30-minute pressure support ventilation (PSV) and 30-minute T-piece in ventilated patients with EFL who got ready to wean. The primary outcome was successful extubation during a 72-hour post-extubation period. Secondary outcomes were a reintubation rate within 7 days, time to reintubation, and a SBT success rate. Results: A total of 99 ventilated patients with EFL consisting of male (50.5%) with the median age of 70 [23] years were recruited. The most common cause of acute respiratory failure was intrapulmonary cause (68.7%). The eligible patients were randomized into 2 groups with a ratio of 1:1. The success rate of extubation during the 72-hour period in the PSV group was non-inferior to the T-piece group: 82% and 81.63%, respectively (95%CI -0.148 to 0.156, p=0.0475). There was also non-inferiority in the SBT success rate (96% in the PSV group VS 93.9% in the T-piece group; 95%CI -0.065 to 0.108, p<0.001). The reintubation rate within 7 days comparing between the 2 groups was inconclusive (22.9% in the PSV group VS 15.2% in the T-piece group; 95%CI -0.081 to 0.235, p=0.369). However, there was no significant difference in the median time to reintubation between these 2 groups (55 [95.5] hours in PSV VS 25.33 [48] hours in the T-piece group, p=0.683). Conclusions: Among patients with EFL, the 30-minute SBT with PSV was non-inferior to the T-piece SBT in terms of the successful extubation during the 72-hour period and successful SBT. This was the first study demonstrating that the different techniques of SBT did not affect the weaning outcomes in the patients with EFL. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76337 |
URI: | http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1318 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2020.1318 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6270031730.pdf | 2.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.