Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76341
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่และความถี่ของการไหลย้อนของของเหลวจากกระเพาะสู่หลอดอาหารในผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนร่วมกับท้องผูกเรื้อรัง
Other Titles: The association between stool retention and gastroesophageal reflux frequency in patients with overlapping GERD and chronic constipation
Authors: ทิวาพร ธรรมมงคล
Advisors: ฐนิสา พัชรตระกูล
สุเทพ กลชาญวิทย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มาและวัตถุประสงค์ ปัจจุบันอุบัติการณ์การเกิดกรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease) และ ท้องผูก (Constipation) พบร่วมกันได้บ่อย แต่ยังไม่มีแนวทางการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างชัดเจน การที่พบสองภาวะนี้ร่วมกันนั้นยังไม่ทราบว่าแน่ชัดว่ามีความสัมพันธ์ หรือกลไกที่เกี่ยวข้องกันระหว่างภาวะกรดไหลย้อน และภาวะท้องผูกหรือไม่  วิธีการวิจัย  การศึกษาวิจัยทดลองแบบไขว้และสุ่ม ในผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน คือ มีอาการแสบร้อนกลางอก หรือเรอเปรี้ยว อย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์ ร่วมกับท้องผูกเรื้อรัง โดยท้องผูกมีอาการถ่ายอุจจาระ ≤ 2 ครั้ง หรือ ถ่ายลักษณะอุจจาระก้อนเล็กแข็งเป็นกระสุน รูปทรงยาวผิวตะปุ่มตะป่ำ หรือรูปทรงยาวผิวแตก (BSFS 1-3) ในช่วง 7 วัน จำนวนทั้งหมด 12 ราย อายุ 18-80 ปี โดยแบ่งกลุ่มการศึกษาเป็น 2 กลุ่ม และทำการทดลองแบบไขว้กัน  โดยช่วงเวลาที่ผู้ป่วยจะเข้าร่วมแต่ละกลุ่มนั้นต้องห่างกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยที่เข้าการศึกษากลุ่มอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่ ผู้ป่วยจะได้รับการรับประทานแคปซูลที่บรรจุสารทึบรังสี จำนวน 20 ชิ้น ในวันที่ 1 ต่อมาในเช้าวันที่ 4 ของการเข้าร่วมการศึกษา จะได้รับทำการถ่ายภาพรังสีบริเวณท้อง (x-ray abdomen) หากพบว่ามีสารทึบรังสีคั่งค้าง marker ≥ 90% (≥18/20) จะยืนยันเข้าศึกษาในกลุ่มอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่ และอีกกลุ่มผู้ป่วยจะได้รับการรับประทานแคปซูลที่บรรจุสารทึบรังสี จำนวน 20 ชิ้น ในวันที่ 1 เหมือนกันและสวนอุจจาระด้วย Unison enema วันละครั้งจำนวน 4 ครั้ง ต่อมาในเช้าวันที่ 4 หากถ่ายภาพรังสีบริเวณท้องพบว่ามีสารทึบรังสีคั่งค้าง marker < 90% (<18/20) จะยืนยันเข้าศึกษาในกลุ่มไม่มีอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่ ในการศึกษาแต่ละกลุ่มอาสาสมัครจะต้องงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนรับการตรวจ โดยจะได้รับการตรวจการขยายตัวของกระเพาะอาหาร (Gastric accommodation) ด้วยวิธี Satiety nutrition drink test หลังจากตรวจสิ้นสุด 4 ชั่วโมงต่อมาจะได้การตรวจวัดการย้อนของกรดและน้ำย่อยในหลอดอาหาร (esophageal impedance pH monitoring) โดยให้อาสาสมัครทานอาหารควบคุม 520 กิโลแคลอรี เก็บข้อมูลการไหลย้อนเข้ามาในหลอดอาหารโดยดูการเปลี่ยนแปลงความต้านทานในหลอดอาหาร (esophageal impedance) นาน 2 ชั่วโมง และตอบแบบสอบถามประเมินอาการทางเดินอาหาร ความรุนแรงของอาการระบบทางเดินอาหารส่วนต้นก่อนรับการตรวจช่วงที่งดน้ำและอาหาร และหลังจากเสร็จสิ้นการตรวจการขยายตัวของกระเพาะอาหารส่วนต้น นาน 30 นาที และเป่าลมหายใจเพื่อส่งตรวจระดับ ไฮโดรเจน และมีเทน ในช่วงงดน้ำและอาหาร เพื่อเปรียบเทียบระหว่างสองกลุ่มการศึกษา ผลการศึกษา ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนร่วมกับท้องผูกเรื้อรัง ในภาวะที่มีการค้างของอุจจาระในลำไส้ใหญ่พบว่ามีอาการทางเดินอาหารรบกวนโดยรวมที่มากกว่าโดยมีค่ามัธยฐาน 7 (3.3-8) เทียบกับกลุ่มที่ไม่มีอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่จำนวนค่ามัธยฐาน 4.5 (2.3-6) ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.04)และอาการท้องอืดเหมือนมีลมในท้องในระดับที่มากกว่าโดยมีค่ามัธยฐาน 5.5 (4-8) เทียบกับภาวะที่ไม่มีอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่มีค่ามัธยฐาน 3 (2-5) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.02) โดยในช่วงอดอาหารและก่อนทานอาหาร ไม่พบว่ามีความแตกต่างของ ระดับไฮโดรเจน และมีเทนในลมหายใจ ในกลุ่มอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่ พบว่ามีจำนวนการเกิดการไหลย้อนของของเหลวสู่หลอดอาหารในระยะเวลา 2 ชั่วโมงหลังมื้ออาหาร จำนวนค่าเฉลี่ย 10.6 (4.8) จำนวนมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่จำนวนค่าเฉลี่ย 6.3 (4.1) ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.003) ในกลุ่มอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่ หลังการทานมีอาการแสบร้อนกลางอกที่รบกวน มีค่ามัธยฐาน 2 (0-7.5) มากกว่ากลุ่มที่ไม่มีอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่จำนวนค่ามัธยฐาน 0 (0-0) ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.04) และ ในกลุ่มอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่มีการขยายตัวของกระเพาะอาหารในปริมาตรค่าเฉลี่ย 591.7 (202.1) มิลลิลิตร ซึ่งมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่มีอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่ ปริมาตรค่าเฉลี่ย 516.7 (158.6) มิลลิลิตร แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.07) สรุป ภาวะที่มีอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่มีความสัมพันธ์กับจำนวนการเกิดการไหลย้อนของของเหลวสู่หลอดอาหารที่มากขึ้น มีผลต่ออาการแสบร้อนกลางอกที่รุนแรงมากขึ้น และมีการขยายตัวของกระเพาะอาหารในปริมาตรที่มากขึ้นเช่นกัน จากผลการศึกษาภาวะที่มีการค้างของอุจจาระในลำไส้ใหญ่ ในผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนร่วมกับท้องผูกเรื้อรัง น่าจะเป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดการเกิดไหลย้อนของของเหลวสู่หลอดอาหารที่มากขึ้นในผู้ป่วยกลุ่มนี้ ซึ่งอาจมีความสัมพันธ์กับการขยายขนาดของกระเพาะอาหารที่มากขึ้นหลังการรับประทาน
Other Abstract: Background and aims Overlapping GERD-constipation is common. Whether there is a relationship between stool retention and GER is not clearly known. Methods Twelve patients (11F, age 57±6) with bothersome typical GER symptoms and had stool frequency ≤2 times/week were randomized to 4 consecutive daily rectal enemas or no enema then crossover with a two-week washout period. Evidence of stool retention was demonstrated by abdominal x-ray after ingested 20 radiopaque markers (Retention: ≥90% markers remained; no-retention: <90% markers remained on day-4 after markers ingestion). After overnight fasting, all patients underwent an abdominal x-ray and a liquid meal (Ensure®) challenge test. Four hours later, all patients underwent esophageal impedance-pH studies after a standard 520-kcal meal. 2-h postprandial GER events were compared between patients with and without stool retention. Fasting and before a standard meal breath H2 and CH4 levels were measured. GI symptoms scores were evaluated at fasting and 30 mins after finishing the satiety drink test. Results After overnight fasting, patients with stool retention had significantly more global GI symptoms [7(3.3-8)vs.4.5(2.3-6), p=0.04] and more bloating [5.5(4-8)vs.3(2-5), p=0.02] than the non-retention group. Fasting and before a standard meal H2 and CH4 breath levels were similar (p>0.05). After a standard 520-kcal meal, patients with stool retention significantly developed more GER episodes than patients without stool retention (10.6±4.8vs.6.3±4.1 times/2-h, p=0.003). After finishing the satiety drink test, patients with stool retention had significantly more heartburn severity [2(0-7.5)vs.0(0-0), p=0.04] and tended to have a higher maximum tolerable drinking volume (591.7±202.1vs.516.7±158.6 ml, p=0.07) than the non-retention group. Conclusions Stool retention was significantly associated with more post-prandial GER episodes, heartburn, and a trend of higher satiation volume. This finding suggests colonic retention from constipation in overlapping GERD-constipation patients can induce more postprandial GER episodes and this may associate with a higher maximum tolerable volume during the drink challenge test. 
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76341
URI: http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1336
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.1336
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6270035230.pdf2.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.