Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76354
Title: | การเปลี่ยนแปลงความหลากหลายของไมโครไบโอต้าในลำไส้หลังการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโดยใช้เซลล์ของผู้อื่น |
Other Titles: | Alteration of gut microbiota diversity after allogeneic hematopoietic stem cell transplantation: a pilot study |
Authors: | พิมพ์กมล เกียรติสุรนนท์ |
Advisors: | กมลวรรณ จุติวรกุล ธนิษฐา ฉัตรสุวรรณ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ที่มาและความสำคัญ การเปลี่ยนแปลงของไมโครไบโอต้าในลำไส้ส่งผลกระทบต่อผลลัพธ์และการเกิดภาวะแทรกซ้อนในการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโดยใช้เซลล์ของผู้อื่น ปัจจุบันหลักฐานดังกล่าวมีจำกัดในแถบเอเชียและยังไม่เคยมีการศึกษาในประเทศมาก่อน ผู้วิจัยจึงทำการศึกษารูปแบบการเปลี่ยนแปลงของไมโครไบโอต้าในลำไส้และความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโดยใช้เซลล์ของผู้อื่นในประชากรไทย วิธีการวิจัย ทำการวิจัยแบบนำร่องในผู้ป่วยอายุ ≥ 15 ปีที่เข้ารับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโดยใช้เซลล์ของผู้อื่นในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เก็บตัวอย่างอุจจาระที่ 3 ระยะคือ ภายใน 1 สัปดาห์ก่อนได้รับยาเคมีบำบัดเพื่อรับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด ภายใน 3 วันหลังร่างกายยอมรับเซลล์ต้นกำเนิดจากผู้บริจาค (engraftment) และหลังจาก engraftment แล้ว 1 เดือน นำตัวอย่างอุจจาระไปทำการวิเคราะห์ทางจุลชีวิทยาโดย 16S rRNA gene sequencing ประเมินความหลากหลายโดยใช้ Shannon diversity index เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของไมโครไบโอต้าในลำไส้หลังการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดและดูความสัมพันธ์ระหว่างไมโครไบโอต้าในลำไส้กับการเกิดภาวะเซลล์ต้นกำเนิดใหม่ต่อต้านต้านร่างกายชนิดเฉียบพลัน (acute graft versus host disease, acute GVHD) ผลการศึกษา ผู้ป่วยที่เข้ารับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโดยใช้เซลล์ของผู้อื่นทั้งหมด 11 ราย มีผู้ป่วย 2 ราย (ร้อยละ 18.2) เกิด acute GVHD ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตในระหว่าง การศึกษานี้ พบการติดเชื้อในกระแสเลือดและการติดเชื้อ C. difficile อย่างละ 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 27.3 จากผลการศึกษา Shannon diversity index ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่ม post-conditioning regimen เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ แสดงว่าช่วงที่มี engraftment จะมีความมากชนิดและความหลากหลายของแบคทีเรียลดลง สรุปผล พบการเปลี่ยนแปลงความหลากหลายของไมโครไบโอต้าในลำไส้หลังการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโดยใช้เซลล์ของผู้อื่น ความหลากหลายที่ลดลงมีแนวโน้มสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนคือการติดเชื้อและ acute GVHD สิ่งเหล่านี้บ่งชี้ว่าไมโครไบโอต้าในลำไส้นั้นอาจจะเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่เข้ารับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโดยใช้เซลล์ของผู้อื่นได้ |
Other Abstract: | Background: Alteration of gut microbiota effect on outcomes and complications in allogeneic hematopoietic stem cell transplantation (allo-HSCT). Currently, these findings are limited in Asia and have never been studied in Thailand before. We examined the patterns of changing in gut microbiota diversity and their association with complications after allo-HSCT in Thai population. Methods: We performed a pilot study. Consecutive participants age ≥ 15 years who underwent allo-HSCT in King Chulalongkorn Memorial Hospital were enrolled. We collected fecal specimens at 3 phases: within a week before the start of pre-transplant conditioning regimen, within 3 days after stem cell engraftment and finally a month after. Microbial analysis was performed by 16S rRNA gene sequencing and diversity was estimated by the Shannon diversity index. Alteration of gut microbiota diversity after transplantation and association of the gut microbiota with acute GVHD were evaluated. Results: Total of 11 participants were enrolled. 2 patients (18.2%) had an acute GVHD. No patient died during the study period. Bloodstream infection and C. difficile infection were detected in 3 patients (27.3%). The values of Shannon diversity index were significantly decreased in post-conditioning regimen group compared with other groups. These findings illustrated that the during engraftment, the bacterial richness and diversity were relatively low. Conclusions: During allo-HSCT, the diversity and stability of the gut microbiota are disrupted. The association of lower microbiota diversity with poor survival was explained in part by higher complication with acute GVHD or infection. These indicate that the gut microbiota may be an important factor in the success or failure in allo-HSCT. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76354 |
URI: | http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1329 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2020.1329 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6270052930.pdf | 2.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.