Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76358
Title: | ผลลัพธ์ของการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมและการใช้บอลลูนถ่างขยายลิ้นหัวใจในผู้ป่วย ลิ้นไมทรัลตีบแบบรูมาติกอย่างรุนแรงในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์จากการติดตาม 10 ปี |
Other Titles: | 10-year outcomes of percutaneous balloon mitral commissurotomy and mitral valve replacement in patients with severe rheumatic mitral stenosis in King Chulalongkorn Memorial hospital |
Authors: | วศินี พรหมรัตน์พรรณ์ |
Advisors: | สุพจน์ ศรีมหาโชตะ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการรักษาโรคลิ้นหัวใจไมทรัลตีบแบบรูมาติกอย่างรุนแรงด้วยวิธีการใช้บอลลูนถ่างขยายและการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา วิธีการวิจัย: ทำการเก็บข้อมูลเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ย้อนหลังตั้งแต่ปี 2553-2563 โดยมีผู้ป่วยในกลุ่มที่ใช้บอลลูนถ่างขยาย 164 รายและผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ 100 ราย ผลลัพธ์หลักในการวิจัย (primary outcome) คือผลลัพธ์รวมของอัตราการเสียชีวิต การทำหัตถการซ้ำ การเกิดเส้นเลือดอุดตัน และการเกิดภาวะน้ำท่วมปอดต้องนอนโรงพยาบาล ผลการศึกษา: ผลลัพธ์หลักในกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยการใช้บอลลูนถ่างขยายลิ้นหัวใจ แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.002) (37.2% และ 22% ตามลำดับ) โดยปัจจัยที่เป็นสาเหตุหลักมาจากการอัตราการทำหัตถการซ้ำ ซึ่งพบมากในกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยการใช้บอลลูนถ่างขยายลิ้นหัวใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (18.3% และ 0% ตามลำดับ (p=0.000)) ในขณะที่อัตราการเสียชีวิต การเกิดเส้นเลือดอุดตัน และการเกิดน้ำท่วมปอดต้องนอนโรงพยาบาลไม่แตกต่างกันในสองกลุ่ม สรุป: การรักษาโรคลิ้นหัวใจไมทรัลตีบแบบรูมาติกอย่างรุนแรงด้วยวิธีการใช้บอลลูนถ่างขยายมีอัตราการทำหัตถการซ้ำมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่อัตราการเสียชีวิต การเกิดเส้นเลือดอุดตัน และการเกิดน้ำท่วมปอดต้องนอนโรงพยาบาลไม่แตกต่างกันในสองกลุ่ม |
Other Abstract: | Objective: To evaluate outcomes of percutaneous mitral commissurotomy (PTMC) and mitral valve replacement (MVR) in severe rheumatic MS patients in King Chulalongkorn Memorial Hospital. Method: Descriptive study of patients with severe rheumatic MS, who underwent PTMC and MVR in King Chulalongkorn Memorial hospital between 2010 - 2020. Primary outcome was composite outcome of death, re-intervention, heart failure hospitalization and stroke and systemic embolism. Secondary outcomes were success rate, rate of all-cause mortality, re-intervention, heart failure hospitalization, stroke or systemic embolism, significant bleeding, and infection. Results: Overall success rate in PTMC group was 70.9% (110 patients) whereas incidence rate of periprocedural death was 0.6% (1 patient). In MVR group, periprocedural mortality was observed in 4 patients (4%). After followed up patients for 10 years (with median follow-up time of 62±39.82 months), all-cause mortality rate was not different between both groups (17.1% vs 15% in PTMC and MVR group, respectively(p=0.658)). Primary outcome showed significantly increase in PTMC group compared with MVR group (37.2% vs 22%(p=0.002)) which was driven by incidence of re-intervention (18.3% in PTMC group vs 0% in MVR group (p= <0.001)). Conclusion: PTMC and MVR were not different in 10-year all-cause mortality, whereas incidence of re-intervention was significant higher in PTMC group. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76358 |
URI: | http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1340 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2020.1340 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6270060930.pdf | 1.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.