Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76372
Title: | การศึกษาการแสดงออกของยีนในเลือดคนไข้โรคฉี่หนูอาการรุนแรง |
Other Titles: | Gene expression profilling of whole blood in patients with severe leptospirosis |
Authors: | เจนจิรา ดินฮูเซ็น |
Advisors: | ณัฐชัย ศรีสวัสดิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | บทนำ โรคเลปโตสไปโรสิส หรือโรคฉี่หนู เป็นโรคที่เป็นปัญหาสำคัญระดับโลก โรคส่วนใหญ่น่าจะเกิดในสัตว์มากกว่าคน แต่สามารถพบคนเป็นโรคนี้ได้ในหลายพื้นที่อาการของโรคมีตั้งแต่ความรุนแรงน้อย จนไปถึงระดับความรุนแรงมาก ในปัจจุบันการวินิจฉัยโรคเลปโตสไปโรสิสวิเคราะห์อาการทางคลินิกร่วมกับตรวจวินิจฉัยทางชีวโมเลกุล (molecular diagnostic) ซึ่งไม่สามารถประเมินความรุนแรงของโรคได้. วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้ ต้องการศึกษาการแสดงออกและการตอบสนองของคนไข้โรคติดเลปโตสไปรา ที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุการเกิดความรุนแรงของโรค ซึ่งในอนาคตอาจเป็นทางเลือกที่ใช้ควบคู่ไป กับวิธีการวินิจฉัยการเกิดความรุนแรงของโรคเลปโตสไปโรสิสได้. วิธีการศึกษา นำเลือดผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเลปโตสไปโรสิส แบ่งเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มรุนแรงและไม่รุนแรง มาทำการค้นหายีนโดยใช้เทคโนโลยี Nanostring® nCounter® PanCancer IO 360 เมื่อได้ยีนที่น่าสนใจ ทำการตรวจสอบยีนที่ค้นพบด้วยวิธี RT-PCR. ผลการศึกษา จากการค้นหาการแสดงออกของยีนด้วยเทคนิค Nanostring โดยเลือกยีนจากความแตกต่างของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งได้ยีนที่สนใจคือ PDCD1, Nos2 และ IL4 ซึ่งเป็นยีน down regulate ทั้งหมด จึงนำยีนที่ได้มาทำการตรวจสอบด้วยวิธี RT-PCR ในผู้ป่วย 99 คน ซึ่งพบว่า ยีน PDCD1 สามารถระบุการเกิดความรุนแรงของโรคได้ โดยมี AUC เท่ากับ 0.65 สรุปผลการศึกษา PDCD1 สามารถเป็นตัวชี้วัดทางชีวภาพ ในการทำนายการเกิดโรคเลปโตสไปโรสิสอาการรุนแรงได้ |
Other Abstract: | Introduction: Leptospirosis is a one of the major public health problem globally. Human can be infected after contaminated contact with animal reservoir or water reservior. Leptospirosis has a wide range of symptoms from mild to severe illness. However, with the current evidence, the biomarkers to predict severe leptospirosis is still lacking. Objective: The objective of this study was to study the explore the role of gene expression in prediction severe leptospirosis. This study would provide a new knowledge in field of specific leptospirosis biomarkers. Materials and Methods: The patient’s blood with positive leptospirosis diagnosis were used in this study. Samples were divided into 2 groups which is mild and severe illness. Samples were determined by Nanostring® nCounter® PanCancer IO 360 technologies for gene expression profiling. The genes of interest were selected and analyzed by qRT-PCR. Results: As a result of Nanostring analysis, the significantly differential gene expressions comparing mild and severe illness indicated the downregulation of PDCD1, Nos2, and IL4 genes. These interested genes were used for RT-PCR (n=99). The RT-PCR results revealed that PDCD1 was associated with disease severity (AUC=0.65). Conclusion: Our results suggested that PDCD1 could be used as a biomarker for prediction severe leptospirosis. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์การแพทย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76372 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.992 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2020.992 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6270077630.pdf | 2.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.