Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76373
Title: | การใช้เฟลเคไนด์ในผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะที่มีความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในช่วง 5 ปี |
Other Titles: | Flecainide use in arrhythmic patients who have structural heart disease in King Chulalongkorn Memorial Hospital in past 5 years |
Authors: | นฤพัฒน์ แสงพรสุข |
Advisors: | วรวุฒิ รุ่งประดับวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | บทนำ : ในเวชปฏิบัติปัจจุบันเเนะนำการใช้เฟลเคไนด์ในผู้ป่วยที่มีโครงสร้างหัวใจปกติ หรือผิดปกติเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยที่มาของการเเนะนำดังกล่าวมาจากการศึกษา CAST ซึ่งเป็นการศึกษาที่ตีพิมพ์ตั้งเเต่ปีค.ศ.1989 ซึ่งเป็นการศึกษาเดียวที่เเสดงให้เห็นอัตราการตายที่มากขึ้นจากการใช้ยาเฟลเคไนด์ อย่างไรก็ตามมีการศึกษาหลายการศึกษาที่ตามมา ที่เเสดงความปลอดภัยของการใช้เฟลเคไนด์ในภาวะที่ไม่ใช่โรคหัวใจขาดเลือด จึงเป็นที่มาของงานวิจัยนี้ ระเบียบวิธีการวิจัย : ผู้จัดทำการวิจัย ได้เริ่มจากการคัดกรองผู้ป่วยที่ได้รับยาเฟลเคไนด์อย่างน้อย 1 โดสในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา หลังจากนั้นได้ทำการทบทวน electronic medical record เพื่อบันทึกข้อมูลพื้นฐาน เเละข้อบ่งชี้ของการให้ยาฟลเคไนด์ ผล echocariography ได้ถูกบันทึกและทบทวนเพื่อความถูกต้อง ผู้ป่วยได้รับการติดตามไป 1 ปีเพื่อประเมินอุบัติการณ์ของ ventricular arrhythmias และอัตราเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ ผลการศึกษา : หลังจาการทำการคัดกรองผู้ป่วย 447 คนที่ได้รับยาเฟลเคไนด์อย่างน้อย 1 โดส พบว่ามี 107 คน (23.9 เปอร์เซ็นต์) ไม่มีข้อมูล echocardiography และ 4 คนที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปี หลังจากคัดผู้ป่วยดังกล่าวออกไปเหลือ 336 คน ที่นำมาศึกษา โดยพบว่า 47 คน (14 เปอร์เซ็นต์) มีความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจที่นิยามโดยงานวิจัยนี้ ในกลุ่มของคนไข้ที่มีความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ มี 2 คนที่เกิด VT/VF ระหว่างการตรวจติดตาม โดยทั้ง 2 คนพบว่ามี VT/VF ก่อนการได้รับยาเฟลเคไนด์อยู่เเล้ว ส่วน 1 คนเสียชีวิตระหว่างการติดตามใน 1 ปีโดยพบว่าเสียชีวิตจากโรคมะเร็งไตระยะกระจาย บทสรุป : สัดส่วนของผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจอยู่ 14 เปอร์เซ็นต์ โดยการศึกษานี้เเสดงให้เห็นว่าอัตราการเกิด VT/VF ไม่ได้ต่างกันระหว่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มที่มีความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ กับกลุ่มโครงสร้างหัวใจปกติ ข้อจำกัดของการศึกษานี้คือข้อมูลที่ขาดหายไปของ echocardiography |
Other Abstract: | Background: Current guideline recommended the flecainide use on a limited basis in normal or minimal structural heart disease. CAST study which was published in 1989 was only one study that showed increasing mortality from the long-term use of flecainide in post MI patients. But many later studies revealed its safety when use in non-ischemic heart disease patients. We conducted this study to see how many structural heart disease patients received flecainide and its outcomes. Materials and methods: We performed samples screening by including patients who received at least one dose of flecainide in the past 5 years. We reviewed electronic medical record to record baseline characteristics and indication of flecainide use. Echocardiography results were collected and review. After 1 year, we evaluated incidence of ventricular arrhythmias and all-cause death. Results: After screening of 447 patients who received at least a single dose of flecainide, 107 patients (23.9%) didn’t have echocardiographic data and 4 patients age less than 15 year olds. From 336 patients, 47 patients (14%) have structural heart disease as defined in our protocols. In structural heart group, there were 2 patients whom VT/VF were detected during follow up but these patients also had VT/VF before receiving flecainide. There was 1 patient who was dead during 1 year-follow up period due to metastatic renal cell carcinoma. Conclusion: From result, there was a substantial proportion of structural heart diseases patients in KCMH who received flecainide. Our retrospective cohort review showed that no patient was dead due to arrhythmia and incidence of VT/VF were not increased in structural heart patient. Limitations of our study were missing data about baseline echocardiography. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76373 |
URI: | http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1330 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2020.1330 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6270079930.pdf | 1.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.