Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76396
Title: พัฒนาการกลุ่มอนุรักษ์นิยมสุดขั้วในขบวนการต่อต้านทักษิณ
Other Titles: The development of ultra-conservative groups in the anti-Thaksin movement
Authors: วสุชน รักษ์ประชาไท
Advisors: กนกรัตน์ เลิศชูสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาพัฒนาการการเคลื่อนไหวกลุ่มอนุรักษ์นิยมสุดขั้วในขบวนการต่อต้านทักษิณ โดยพยายามตอบคำถามว่า กลุ่มอนุรักษ์นิยมสุดขั้วในขบวนการต่อต้านทักษิณมีพัฒนาการทางความคิดและปฏิบัติการเคลื่อนไหวอย่างไร ส่งผลต่อขบวนการต่อต้านทักษิณในภาพรวมและต่อการเมืองไทยอย่างไร ผ่านกรอบแนวคิดขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม 3 แนวคิดได้แก่ แนวคิดระดมทรัพยากร แนวคิดโครงสร้างโอกาสทางการเมือง และแนวคิดกระบวนการสร้างและจัดระเบียบกรอบโครงความคิด การเก็บข้อมูลประกอบด้วยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกแกนนำกลุ่มการเคลื่อนไหวจำนวน 5 คน และผู้เข้าร่วมการเคลื่อนไหวจำนวน 20 คน การศึกษาพบว่า กลุ่มอนุรักษ์นิยมสุดขั้วในขบวนการต่อต้านทักษิณมีการเปลี่ยนแปลงทางความคิดและปฏิบัติการเคลื่อนไหวในลักษณะที่เป็นพลวัต พวกเขาเติบโตในช่วงเวลาที่อยู่ภายใต้ขบวนการพันธมิตรฯ ต่อมาได้แยกออกจากขบวนการใหญ่เพื่อขยายฐานมวลชนและกำหนดประเด็นการต่อสู้ใหม่ที่เน้นการปกป้องชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ จนทำให้เกิดความขัดแย้งกับกลุ่มพลังอื่น ๆ ในขบวนการ อย่างไรก็ตามกลุ่มอนุรักษ์นิยมสุดขั้วได้สมานความขัดแย้งกับกลุ่มอื่น ๆ ในช่วงก่อนเกิดขบวนการกปปส. และเข้าร่วมกับขบวนการต่อต้านทักษิณขบวนการใหญ่อีกครั้งในปี พ.ศ.2556 – 2557 โดยตลอดระยะเวลาการเคลื่อนไหว กลุ่มอนุรักษ์นิยมสุดขั้วมีบทบาทเป็นผู้ปลุกกระแสต่อต้านทักษิณและจัดตั้งมวลชนให้พร้อมสำหรับการชุมนุม ซึ่งส่งผลให้ขบวนการต่อต้านทักษิณในภาพรวมเกิดความต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ทหารมีพื้นที่ในการเมืองไทย และมวลชนที่เข้าร่วมเคลื่อนไหวเริ่มปฏิเสธกระบวนการแก้ไขปัญหาตามระบอบประชาธิปไตย
Other Abstract: This thesis studies the development of ultra-conservative groups in the anti-Thaksin movement. It aims at answering questions - how extreme conservative groups in the anti-Thaksin movement have developed their movement and ideology, affect the anti-Thaksin Movement, and Thai politics. In doing so, it investigates three social movement theories: resource mobilization; political opportunity; and framing process. In the data collecting process, this thesis uses documentary analysis and in-depth interviews with 5 group's leaders and 20 mass in the movement.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76396
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.569
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.569
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6080627324.pdf3.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.