Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76738
Title: การพัฒนาโปรแกรมเฉพาะบุคคลเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยแบบเครือข่ายของครูโดยใช้วิธีวิทยาการออกแบบร่วม
Other Titles: Development of customized programs for supporting teachers’ networked research using co-design methodology
Authors: วัชรศักดิ์ สุดหล้า
Advisors: ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ
สุวิมล ว่องวาณิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: สังคมศาสตร์ -- การวิเคราะห์ข่ายงาน
การศึกษา -- วิจัย
Social sciences -- Network analysis
Education -- Research
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในอดีตชี้ชัดว่าการนำหลักการออกแบบร่วมมาใช้เพื่อส่งเสริมการวิจัยแบบเครือข่ายอาจเพิ่มประสิทธิผลของการวิจัยของครูได้ เพราะการออกแบบร่วมช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ตอบสนองต่อความต้องการจำเป็นของผู้เกี่ยวข้อง การวิจัยครั้งนี้จึงออกแบบเพื่อ 1) พัฒนาโมเดลการวัดและเครื่องมือวัดการออกแบบร่วมในการวิจัย และการวิจัยแบบเครือข่าย 2) วิเคราะห์อิทธิพลระหว่างโครงสร้างการทำวิจัยของครูที่ใช้การออกแบบร่วม ระดับความเข้มของการวิจัยแบบเครือข่าย และผลผลิตการวิจัย และ 3) ออกแบบและพัฒนาโปรแกรมเฉพาะบุคคลเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยแบบเครือข่ายของครู ในขั้นแรก ใช้วิธีการสังเคราะห์เอกสารเพื่อพัฒนาโมเดลการวัดและเครื่องมือวัดการออกแบบร่วมและการวิจัยแบบเครือข่าย ขั้นต่อมา ตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างการออกแบบร่วม ความเข้มของการวิจัยแบบเครือข่าย และผลผลิตการวิจัย ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเครื่องมือแบบสอบถามที่พัฒนาขึ้น โดยมีผู้ให้ข้อมูลคือ ครู 288 คน ผู้บริหารสถานศึกษา 62 คน ศึกษานิเทศก์ 74 คน และอาจารย์มหาวิทยาลัย 61 คน โดยใช้สถิติเชิงบรรยายและการวิเคราะห์เครือข่ายสังคม จากนั้น นำผลจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ดังกล่าวมาใช้ในการออกแบบโปรแกรมเฉพาะบุคคลเพื่อส่งเสริมการวิจัยที่ใช้หลักการออกแบบร่วมสำหรับครู ผลการวิจัยที่สำคัญมีดังนี้ 1) โมเดลการวัดตัวแปรการทำวิจัยโดยใช้การออกแบบร่วมและการวิจัยแบบเครือข่าย มี 4 องค์ประกอบคือ สำรวจปัญหา นิยามปัญหา ลงมือพัฒนา และประเมินสะท้อนผล ผลการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาให้ผลที่น่าพึงพอใจเนื่องจากเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยข้อรายการกิจกรรมการออกแบบร่วมที่พบได้จากประสบการณ์ในการทำวิจัยระหว่างครูและผู้เกี่ยวข้อง 2) โครงสร้างการทำวิจัยแบบเครือข่ายระหว่างครูและผู้เกี่ยวข้องจำแนกได้ 7 รูปแบบ ได้แก่ จุดเชื่อมจุด (25.38%) โซ่หรือเส้นตรง (32.31%) มีผู้โดดเด่น (18.46%) ต้นไม้ (4.62%) วง (1.54%) ผสม (10.77%) และไม่มีรูปร่าง (6.92%) ในเครือข่ายเหล่านี้ โครงสร้างการวิจัยแบบผสมมีระดับของการออกแบบร่วมสูงที่สุด (COD = .819) ขณะที่โครงสร้างแบบไม่มีรูปร่างมีระดับความเข้มของการวิจัยแบบเครือข่ายสูงที่สุด (SNR = .769) นอกจากนี้ โครงสร้างการวิจัยแบบจุดเชื่อมจุดเป็นโครงสร้างที่มีทั้งระดับของการออกแบบร่วมและระดับความเข้มของการวิจัยแบบเครือข่ายต่ำที่สุด (COD = .159 และ SNR = .034) 3) ครูที่มีระดับการออกแบบร่วมในการวิจัยอยู่ในระดับสูง มีส่วนช่วยทำให้วิจัยแบบเครือข่ายได้อย่างเข้มแข็งมากขึ้น (r = .582, p < .001) ทั้งนี้ ครูที่มีระดับการออกแบบร่วมสูงและมีความเข้มของการวิจัยแบบเครือข่ายสูงได้ผลผลิตการวิจัยสูงที่สุด (M = 8.41, SD = 3.67) อย่างไรก็ตาม ครูที่มีระดับของการออกแบบร่วมและมีความเข้มของการวิจัยแบบเครือข่ายแตกต่างกัน จะทำให้ได้ผลผลิตการวิจัยที่แตกต่างกัน (BF10 = 29.94, F(2, 263) = 3.10, p = .047) และ 4) โปรแกรมเฉพาะบุคคลที่พัฒนาขึ้นในครั้งนี้มีเนื้อหาสาระ 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ชุดแบบประเมินเพื่อใช้จำแนกลักษณะธรรมชาติการทำวิจัยของครู และส่วนที่ 2 แนวทางการส่งเสริมการทำวิจัยแบบเครือข่ายของครูที่เน้นการใช้การออกแบบร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการทำงาน ผลการทดลองใช้โปรแกรมพบว่า ผู้ใช้มีความรู้สึกทางบวกต่อโปรแกรมและให้ข้อเสนอแนะบางประการในการปรับปรุงพัฒนาโปรแกรมในอนาคต
Other Abstract: Previous studies have suggested that employing co-design, a collaborative work satisfying its stakeholders’ needs, to enhance teachers' networked research might increase research effectiveness. Keeping that in mind, this study was designed to 1) develop the measurement model and instrument used for measuring co-design and networked research; 2) analyze the association between the co-design structures, the strengths of networked research, and teachers’ research productivity; and 3) design and develop customized programs for supporting teachers' networked research. First, a measurement model and its questionnaire for measuring co-design and networked research were developed using a documentary synthesis. Next, data from 288 teachers, 62 school administrators, 74 supervisors, and 61 university researchers who completed the questionnaire were analyzed by means of descriptive and social network analysis to examine associations between their co-design structures, strength of networked research, and research productivity. Based on the association results, customized programs were designed and developed to support teachers’ co-designed research. The key findings are as follows: 1) The measurement model for measuring the structure of co-design and networked research consists of four dimensions: Discovering, Defining, Developing, and Evaluating. Giving a satisfactory level of content validity, the developed questionnaire with 18 matched dichotomous items covers a variety of co-design activities usually found in all stakeholders’ research life; 2) The structures of teachers’ networked research with other stakeholders were classified into seven patterns: point-to-point (25.38%), chain (32.31%), star (18.46%), tree (4.62%), circle (1.54%), hybrid (10.77%), and unstructured (6.92%). Among these, the hybrid networks had the highest degree of co-design (COD = .819), while the unstructured networks were the strongest ones in terms of networked research (SNR = .769). In addition, the point-to-point networks were the weakest ones (COD = .159 and SNR = .034); 3) Teachers with a higher degree of co-design seem to make their networked research stronger (r = .582, p < .001). Teachers with high levels of co-design and networked research also had the highest research productivity (M = 8.41, SD = 3.67). However, with different degrees of co-design, teachers contributed to their research network’s productivity differently due to the network strength (BF10 = 29.94, F(2, 263) = 3.10, p = .047); and 4) The customized programs developed in this study had two components: (a) a set of assessment tools to classify teachers’ research style, and (b) a guideline to enhance teachers to make networked research with co-design a part of their life. The usability test process revealed that users had positive feelings about the programs. Recommendations for future development of the program were generated from the users’ feedback.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76738
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1053
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.1053
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6184238727.pdf21.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.