Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77020
Title: | ผลการเสริมฤทธิ์ของสารไรนาแคนทิน-ซี ต่อการเสริมฤทธิ์ยาต้านมะเร็งในเซลล์มะเร็งเต้านม |
Other Titles: | Enhancement effect of Rhinacanthin-C on anti-cancer drug in breast cancer cells |
Authors: | ธีริศรา ตันเจริญลาภ สุชา ธาดาคุณากร |
Advisors: | สุรีย์ เจียรณ์มงคล |
Other author: | คณะเภสัชศาสตร์ |
Subjects: | มะเร็ง -- การรักษาด้วยยา Breast -- Cancer เต้านม -- มะเร็ง เซลล์มะเร็ง |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | สารไรนาแคนทิน -ซี่ เป็นสารที่ได้จากใบและรากของต้นทองพันชั่ง (Rhinacanthus nasutus KURZ.) สารนี้อยู่ในกลุ่ม naphthoquinone ester โดยพบว่าสารไรนาแคนทิน-ซี จะไปรบกวนการทำงานของทั้ง P-gp และ MRP2 efflux pump โดยออกฤทธิ์กับ P-gp ได้ดีกว่า ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นถึงประโยชน์ในการนำสารดังกล่าวมาศึกษา โดยให้ร่วมกับยาต้านมะเร็งต่างๆ เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของยาต้านมะเร็งในเซลล์ให้ความเข้มข้นถึงระดับที่ต้องการ แล้วทำให้ไม่ต้องเพิ่มขนาดของยาต้านมะเร็ง ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาผลของสารไรนาแคนทิน-ซีต่อยาต้านมะเร็ง 4 ตัว ได้แก่ doxorubicin, mitoxantrone, tamoxifen และ vinblastine โดยยาทั้ง 4 ตัวนี้มีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกันและอยู่ต่างกลุ่มกัน โดยเซลล์ที่ใช้เป็นแบบจำลอง คือ เซลล์มะเร็งเต้านม MCF-7 ซึ่งนำมาเพาะเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเซลล์ภายใต้สภาวะที่เหมาะสมเริ่มต้นทำการศึกษาการทำงานของ P-gp, MRP1 และ MRP2 บนของผิวเซลล์มะเร็ง MCF-7 โดยวิธี uptake assay ซึ่งเปรียบเทียบการสะสมของสารเรืองแสงในกลุ่มเซลล์ที่ได้รับตัวยับยั้งที่มีความจำเพาะกับโปรตีนขนส่งยานั้นๆกับกลุ่มโปรตีนที่ได้รับสับเสตรทเพียงอย่างเดียว พบว่ามีการสะสมของสารเรืองแสงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสับเสตรทของ P-gp, MRP1 และ MRP2 8.0 เท่า 1.4 เท่า และ 2.6 เท่า ตามลำดับ อย่างไรก็ตามพบว่า มีเพียง P-gp และ MRP2 ที่มีการทำงานและการแสดงออกที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05 ดังนั้นจะเห็นได้ว่าบนผิวเซลล์มะเร็งเพาะเลี้ยง MCF-7 มีการทำงานและการแสดงออกของโปรตีนขนส่งยาที่สอดคล้องกับการทำงานของสารไรนาแคนทิน-ซี ที่ยับยั้งการทำงานของ P-gp และ MRP-2 จากการศึกษาอัตราการรอดชีวิตของเซลล์ด้วย MTT assay โดยให้สารไรนาแคนทิน-ซี 0.1 nM ร่วมกับยามะเร็งเป็นเวลา 48 ชั่วโมง พบว่าสารไรนาแคนทิน- ไม่มีผลเสริมฤทธิ์ยามะเร็งทั้ง 4 ชนิด ได้แก่ doxorubicin, mitoxantrone, tamoxifen และ vinblastine ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ p < 0.05 แต่อย่างไรก็ตามอาจต้องมีการศึกษาสารไรนาแคนทิน-ซี ที่ระดับความเข้มข้นที่สูงขึ้นเพิ่มเติม เพื่อหาความเข้มข้นที่เหมาะสมที่ช่วยเสริมฤทธิ์ของยามะเร็ง และไม่ส่งผลให้อัตราการรอดชีวิตของเซลล์มะเร็งเพิ่มมากขึ้น |
Other Abstract: | Rhinacanthin-C is a naphthoquinone ester derivative which was isolated from leaves and roots of Rhinacanthus nasutus Kurz(Acanthaceae); additionally, several studies have revealed that Rhinacanthin-C has ability to interfere normal function as efflux pump of P-gp and MRP2. Hence, using this agent with cytotoxic agents might raise intracellular concentration of cytotoxic agents in cancer cell to reach the effective cytotoxic concentration without titrating up its concentration. In this project, we aim to study an enhancement effect of Rhinacanthin-C on 4 cytotoxic agents which have different mechanisms of action including doxorubicin, mitoxantrone, tamoxifen, an vinblastine in MCF-7 cell line that was cultured in an appropriate environment. Initially, the activities of P-gp, MRP1, and MRP2 on the surface of MCF-7 cell line were determined by using uptake assay which will compare fluorescence intensity between MCF-7 cell line that was treated with a known efflux pump inhibitor and a specific substrate of each transporter with MCF-7 cell line that was siven individually specific substrate. The result showed that the fluorescence intensity of P-gp, MRP1, and MRP2 are 8.0, 1.4, and 2.6 fold, respectively. However, only P-gp and MRP2 had significant expression and function. Obviously, the surface of MCF-7 cell line had the expression and function of transporters which correspond to the function of Rhinacanthin-C which is P-sp and MRP2 inhibitor. The following step, cell viability test, was conducted by using MTT assay. MCF-7 cell line was treated for 48 hours with Rhinacanthin-C at 0.1 nM and cytotoxic agents. All in all, Rhinacanthin-C could not enhance effect of cytotoxic agents. The further study regarding to Rhinacanthin-C at the higher concentration might be needed in order to find out proper concentration that can enhance the effect of cytotoxic agents. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาเภสัชศาสตร์บัณฑิต สาขาการค้นพบและพัฒนายา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77020 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Pharm - Senior projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pharm_SeniorProject_3.9_2559.pdf | ไฟล์โครงงานทางวิชาการฉบับเต็ม(3.9-2559) | 850.54 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.