Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77025
Title: | การพัฒนาอนุภาคนาโนชนิดไขมันแข็งที่ผลิตจากเชลแล็กแว็กซ์เพื่อประยุกต์ใช้ในการเคลือบผิว |
Other Titles: | Development of solid lipid nanoparticles from shellac wax for coating application |
Authors: | ปทิตตา ตั้งจิตร์ศิริรัตน์ |
Advisors: | โศรดา กนกพานนท์ อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เชลแล็กแว็กซ์เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตเชลแล็กภายในประเทศที่ยังไม่มีการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะสมบัติและเพิ่มมูลค่าเชลแล็กแว็กซ์ด้วยการพัฒนาเป็นอนุภาคไขมันแข็งขนาดนาโนเพื่อใช้ในการเคลือบผิวบรรจุภัณฑ์ เชลแล็กแว็กซ์จากโรงงานถูกทำความสะอาดด้วยการต้มล้างในสารละลายด่างและสะเทินด้วยกรดเพื่อกำจัดสิ่งเจือปน แว็กซ์ที่ผ่านการทำความสะอาดมีปริมาณเถ้าร้อยละ 0.05 โดยน้ำหนัก ค่าความเป็นกรด 4.9 มิลลิกรัมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์/กรัมแว็กซ์ การทำความสะอาดแว็กซ์สามารถกำจัดสิ่งเจือปนได้ แต่ทำให้กรดไขมันอิสระของแว็กซ์ถูกสะปอนนิฟายไปบางส่วน การวิเคราะห์สมบัติทางความร้อนของเชลแล็กแว็กซ์ด้วยเทคนิค Differential scanning calorimetry (DSC) พบองค์ประกอบสองกลุ่มที่มีจุดหลอมเหลวเท่ากับ 68.4 และ 82.6 องศาเซลเซียส การกระเจิงรังสีเอ็กซ์ (XRD) แสดงโครงสร้างผลึกแบบออร์ธอรอมบิค ผลของอัตราส่วนเชลแล็กแว็กซ์: สารลดแรงตึงผิว: น้ำ และค่า HLB ของสารลดแรงตึงผิวศึกษาจากแผนภาพวัฏภาค 3 องค์ประกอบของอิมัลชันที่เตรียมด้วยเครื่องโฮโมจิไนเซอร์ความเร็วสูงและเครื่องโฮโมจิไนเซอร์ความดันสูง อัตราส่วน 10: 4: 86 เตรียมโดยใช้ค่า HLB ของสารลดแรงตึงผิวเท่ากับ 12.9, 15.0 และ 17.8 เป็นอัตราส่วนที่ทำให้เกิดอิมัลชันที่มีขนาดอนุภาคเฉลี่ยเล็ก (500 ถึง 600 นาโนเมตร) โดยใช้สารลดแรงตึงผิวน้อยที่สุด ได้ขนาดอนุภาคเฉลี่ยประมาณ 601.4±28.8, 497.6±14.5 และ 558.5±5.8 นาโนเมตร ตามลำดับ อนุภาคไขมันแข็งมีจุดหลอมเหลวและความเป็นผลึกน้อยกว่าแว็กซ์วัตถุดิบ โดยมีค่าน้อยลงเมื่อค่า HLB ของสารลดแรงตึงผิวมากขึ้น การศึกษาความคงตัวของอิมัลชันสูตร 10: 4: 86 พบว่า อิมัลชันที่เตรียมด้วยสารลดแรงตึงผิว HLB เท่ากับ 15.0 มีความคงตัวมากที่สุดเมื่อเทียบกับ HLB 12.9 และ 17.8 โดยมีขนาดอนุภาคเฉลี่ยประมาณ 659.9±13.9 นาโนเมตร เมื่อถูกเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 8 สัปดาห์ และมีการแยกชั้นเป็นครีมน้อยที่สุดเมื่อถูกเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิห้อง (27.0±2.0 องศาเซลเซียส) และอุณหภูมิ 45.0 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 8 สัปดาห์ การเคลือบกระดาษใยเซลลูโลส 70 แกรมด้วยอนุภาคนาโนไขมันแข็งที่เตรียมด้วยสารลดแรงตึงผิวทุก HLB สามารถลดค่าการซึมผ่านไอน้ำและปริมาณความชื้นของกระดาษได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กระดาษเคลือบอิมัลชันของเชลแล็กแว็กซ์ที่เตรียมด้วยสารลดแรงตึงผิว HLB เท่ากับ 15.0 น้ำหนักเคลือบ 12.4 กรัม/ตารางเมตร มีค่าการซึมผ่านไอน้ำต่ำที่สุด โดยมีค่าการซึมผ่านไอน้ำเท่ากับ 118.6±2.2 g-mm/(m²-day-kPa) และมีปริมาณความชื้นต่ำที่สุดเท่ากับ 1.54±0.21wt% และ 2.61±0.80wt% เมื่อเก็บรักษาที่สภาวะความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 75 และ 90 ตามลำดับ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม การเคลือบกระดาษด้วยอนุภาคนาโนไขมันแข็งในปริมาณดังกล่าวไม่มีผลต่อความสามารถในการแพร่ผ่านกระดาษของแก๊สออกซิเจน |
Other Abstract: | Shellac wax (SW) is a by-product of domestic shellac manufacturing processes which has not been used on commercial scale in Thailand. This research aimed to study its characteristics and to develop solid lipid nanoparticles (SLNs) for packaging coatings. The wax was cleaned in a boiling alkali solution and was neutralized with an acid solution to remove dirt and chemical residuals. The cleaned wax had an ash content of 0.05 wt% and an acid value of 4.9 mg KOH/g wax. The cleaning process can remove contaminants but the free fatty acids in wax were partly saponified. Differential scanning calorimetry (DSC) showed that the SW consisted of two groups of component with the melting point at 68.4 ºC and 82.6 ºC. X-ray diffraction (XRD) indicated the orthorhombic crystal structure of the wax. The effect of wax: surfactant: water ratios and surfactant’s hydrophile-lipophile balance (HLB) were studied by constructing ternary phase diagrams of wax emulsions. The emulsions were prepared using high speed homogenizer and high pressure homogenizer. Emulsion ratio of 10: 4: 86 with HLBs of 12.9, 15.0 and 17.8 had small average particle sizes (500-600 nm) at the lowest contents of surfactant. They had the average particle sizes of 601.4±28.8, 497.6±14.5 and 558.5±5.8 nm, respectively. The Solid lipid nanoparticle (SLNs) had lower melting point and low crystallinity than that of the raw material. The melting point and crystallinity of SLNs decreased with increasing HLB value. The SLNs prepared at the HLB of 15.0 was the most stable compared to those prepared at the HLB of 12.9 and 17.8. It had average particle sizes at 659.9±13.9 nm after storing at 27.0±2.0°C for 8 weeks and also had lowest creaming content after being kept at 4°C, room temperature and 45°C. Coating of the SLNs on 70 gram cellulose paper could significantly reduce the water vapor permeability and the moisture contents. The SLNs prepared with HLB of 15.0 coating on paper (at 12.4 g/m2) had the lowest water vapor permeability of 118.6±2.2 g-mm/(m²-day-kPa). The coated paper had the lowest moisture content of 1.54±0.21wt% and 2.61±0.80wt% after storing at relative humidity of 75% RH and 90% RH for 24h., respectively. However, coating papers with the SLNs at those conditions did not affect their oxygen permeability. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมเคมี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77025 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5570272721.pdf | 9.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.